- 19 พ.ย. 2561
ณ ทำเนียบรัฐบาล "พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ" รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เปิดเผยว่า "ตนสั่งการสทนช.ตรวจสอบ และวิเคราะห์สถานกาณณ์น้ำ เนื่องจากมองว่าในอนาคตเรื่องปัญหาของการจัดการน้ำมีมากขึ้น จึงต้องมีการเตรียมการ โดยที่ประชุมได้เห็นชอบแผนการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งปี 2561/2562
(วันนี้) 19 พฤศจิกาฯ เวลา สิบสามนาฬิกา ณ ทำเนียบรัฐบาล "พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ" รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เปิดเผยว่า "ตนสั่งการสทนช.ตรวจสอบ และวิเคราะห์สถานกาณณ์น้ำ เนื่องจากมองว่าในอนาคตเรื่องปัญหาของการจัดการน้ำมีมากขึ้น จึงต้องมีการเตรียมการ โดยที่ประชุมได้เห็นชอบแผนการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งปี 2561/2562 ซึ่งได้วางแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนตามลำดับความสำคัญของกิจกรรมการใช้น้ำ
โดยขณะนี้เดือนพฤศจิกายนมีปริมาณน้ำใช้การได้ทั้งในเขตและนอกกเขตชลประทานทั่วประเทศ 43,905 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)ซึ่งถ้าเทียบกับปี 2560 น้อยกว่าประมาณ 8,000 ล้าน ลบ.ม. และถ้าแยกออกไปในเขตชลประทาน พบว่ามีน้ำที่ใช้การได้ 47,400 ล้านลบ.ม.น้อยกว่าปี 2560 ประมาณ 2,900 ล้านลบ.ม.ขณะที่นอกเขตชลประทาน เรามีน้ำใช้ 6,470 ล้าน ลบ.ม. และที่น่าห่วงใย คือน้อยกว่าปี 2560 ถึง5,100ล้าน ลบ.ม.จึงต้องมีแผนจัดการ
เบื้องต้นมีการวางแผนการใช้น้ำตั้งเดือนพฤศจิกายน 2561 คลุมยาวไปถึง เดือนมิถุนายน 2562 โดยแยกออกเป็นระหว่างเดือน พ.ย.-เม.ย. จะใช้น้ำใน 4 กิจกรรม คือ 1.น้ำอุปโภค บริโภค 2.น้ำรักษาระบบนิเวศน์ 3 .น้ำเพื่อการเกษตร และ4.น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม โดยในกลุ่มนี้จะใช้น้ำประมาณ 3 หมื่นล้านลบ.ม. ขณะที่กลุ่มที่สอง จะมีการสำรองน้ำระหว่างเดือน พ.ค.-มิ.ย.ซึ่งหากฝนตกช้า ก็จะมีน้ำใช้สำหรับอุปโภค บริโภค และรักษษระบบนิเวศน์
นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคนั้น ในพื้นที่การให้บริการของการประปานครหลวง (กปน.) จะมีน้ำเพียงพอกับความต้องการตลอดปี 2562 ส่วนในพื้นที่การให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาคได้ประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคจากจำนวนทั้งหมด 234 สาขา
พบว่า มีพื้นที่สาขาของการประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 9 แห่ง มีผู้ใช้น้ำ 51,120 ราย ที่ต้องเฝ้าระวังขาดแคลนน้ำ ได้แก่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด อ.พยัคภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ อ.แม่ขะจาน จ.เชียงราย อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และอ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์
ซึ่งได้สั่งการให้ กปภ. จัดการแหล่งน้ำสำรอง เพื่อนำน้ำมาผลิตประปาให้เพียงพอกับความต้องการแล้ว ส่วนพื้นที่นอกเขตพื้นที่ให้บริการของ กปภ.นั้น มีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ทั้งหมด 20 จังหวัด อาทิ เชียงใหม่ สุโขทัย เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ขอนแก่น เลย ซึ่งได้สั่งการให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินการเร่งขุดเจาะน้ำบาดาลให้ได้ตามแผนงานที่วางไว้
นอกจากนี้ ทางด้าน "พล.อ.ฉัตรชัย" ระบุว่า ในส่วนของน้ำเพื่ออุตสาหกรรม จากการประเมินพบว่า มีความต้องการใช้น้ำตั้งแต่เดือน พ.ย.61 - เม.ย.62 ทั้งในและนอกเขตนิคมอุตสาหกรรมรวมทั้งสิ้น 1,077 ล้าน ลบ.ม. ที่จะประชุมได้เห็นชอบให้จัดสรรจากแหล่งน้ำที่มีอยู่บนดินจำนวน 911 ล้านลบ.ม. และจัดสรรจากน้ำบาดาลอีก 166 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมไม่มีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
ทั้งนี้ ฤดูแล้งปี 2561/62 คาดการณ์ว่า จะเป็นปีที่ 2 ที่จะไม่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง เช่นเดียวกับปี 2560/61 ที่ผ่านมา ซึ่งตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีหมู่บ้านประกาศภัยแล้งลดลงอย่างต่อเนื่อง สามารถลดงบประมาณในการช่วยเหลือเยียวยาได้มาก
อย่างไรก็ตาม ได้มอบหมายให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงกลาโหม และกระทรวงมหาดไทย เตรียมความพร้อมของเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ และรถยนต์บรรทุกน้ำให้สามารถนำไปช่วยเหลือได้ทันทีหากมีการร้องขอ พร้อมทั้งให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดในทุกพื้นที่