อดีตนักวิจัยยูเอ็น "ดร.มีชัย" หนุน "ลดดอกเบี้ย กยศ." ยัน "ทุนมนุษย์" เป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าที่สุด

สืบเนื่องจากปัญหาการเบี้ยวหนี้ ในลักษณะ "ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย" ที่แพร่ระบาดในกลุ่มลูกหนี้ กยศ. โดยส่วนใหญ่มาจากสาเหตุการขาดวินัยทางการเงิน และขาดจิตสำนึกในการชำระหนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ "กองทุนกู้ยืม"

อดีตนักวิจัยยูเอ็น \"ดร.มีชัย\" หนุน \"ลดดอกเบี้ย กยศ.\" ยัน \"ทุนมนุษย์\" เป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าที่สุด

 

สืบเนื่องจากปัญหาการเบี้ยวหนี้ ในลักษณะ "ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย" ที่แพร่ระบาดในกลุ่มลูกหนี้ กยศ. โดยส่วนใหญ่มาจากสาเหตุการขาดวินัยทางการเงิน และขาดจิตสำนึกในการชำระหนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ "กองทุนกู้ยืม" อันเป็นทุนหมุนเวียนของรัฐที่มาจากภาษีของประชาชน จากข้อมูลล่าสุดเผยว่าขณะนี้มีเงินค้างชำระรวมทั้งสิ้นกว่า 70,000 ล้านบาท
 

แต่แล้วรัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อ "ลงดาบ" ด้วยวิธีการบังคับใช้ พ.ร.บ. กยศ. ปี 2560 ซึ่งเป็นฉบับใหม่ มีสาระสำคัญที่ผู้กู้ยืมมีหน้าที่ให้ความยินยอมในขณะทำสัญญากู้ เพื่อให้หักเงินเดือนได้ และต้องเเจ้งสถานะลูกหนี้ให้นายจ้างทราบว่ามีหนี้ ล่าสุดทาง กยศ. ได้ทำการประสานไปยังหน่วยงานข้าราชการ เเละได้เริ่มนำร่องหักเงินเดือนผู้กู้กยศ.ที่ทำงานในกรมบัญชีกลางเป็นหน่วยงานเเรกไปเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว 

 

อดีตนักวิจัยยูเอ็น \"ดร.มีชัย\" หนุน \"ลดดอกเบี้ย กยศ.\" ยัน \"ทุนมนุษย์\" เป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าที่สุด

 

โดยจะเริ่มหักเงินเดือนของผู้กู้ที่อยู่ในทุกหน่วยราชการที่ผ่านระบบจ่ายตรงของกรมบัญชีกลาง และในช่วงต้นปี 2562 จะเริ่มทำการหักจากเงินเดือนของผู้กู้ที่อยู่ในหน่วยงานเอกชนกว่า 8-9 เเสนคน โดยจะเริ่มจากบริษัทที่มีจำนวนพนักงานมากที่สุดไล่ลงมาตามลำดับ

 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 25 พ.ย. 2561 ดร.มีชัย ออสุวรรณ นักปฏิรูปการศึกษารุ่นใหม่ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ อดีตนักวิจัยองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) แสดงออกถึงการ เห็นด้วยกับแนวทางที่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ เสนอในเรื่องการแก้ไขปัญหาดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ กยศ. ที่ก่อนหน้านี้กล่าวว่า...


 
"ที่ผ่านมาประชาชนได้รับความเดือดร้อน กรณีหนี้กยศ.เป็นจำนวนมาก บางคนกู้เงินไปเรียน 2 แสน แต่มีหนี้รวม 6 แสนเพราะเจอทั้งค่าปรับและดอกเบี้ย พรรคประชาชาติจึงมีแนวคิดเข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าว ใครมีหนี้ก็ต้องใช้ แต่ค่าปรับและดอกเบี้ยต้องยกเลิก พร้อมกันนี้ทางพรรคยังให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพประชาชน ระบบประกันสุขภาพของคนไทยต้องเท่าเทียมกัน เราต้องการคืนหมอคืนโรงพยาบาลให้กับประชาชน ให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน"

 

อดีตนักวิจัยยูเอ็น \"ดร.มีชัย\" หนุน \"ลดดอกเบี้ย กยศ.\" ยัน \"ทุนมนุษย์\" เป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าที่สุด

 

โดยทาง ดร.มีชัย เสนอความเห็นเพิ่มเติมว่า เศรษฐกิจการศึกษา (Economics of Education) กล่าวไว้ว่าทุนมนุษย์ หรือตัวตน เป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าที่สุดในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของชาติ ทุนมนุษย์มีความหัศจรรย์เหนือกว่าทุนประเภทอื่นๆ มากกว่า ตึก เครื่องจักร รถ ต้นไม้และแร่ธาตุ เพราะทุนมนุษย์ไม่มีวันใช้หมด ไม่มีค่าเสื่อม ยิ่งใช้งานยิ่งมีประสิทธิภาพ ยิ่งมีคุณค่า

 

อดีตนักวิจัยยูเอ็น \"ดร.มีชัย\" หนุน \"ลดดอกเบี้ย กยศ.\" ยัน \"ทุนมนุษย์\" เป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าที่สุด

 

ดังนั้น การที่รัฐลงทุนในการศึกษา การจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม งานวิจัยขององค์การ UNESCO ระบุว่าประเทศที่มีประชากรที่มีการศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก จะเป็นประเทศที่มีลักษณะดังนี้

1. มีระบบเศรษฐกิจที่มั่นคง
2. มีคดีอาชญากรรมต่ำ ไม่ต้องสูญเสียงบประมาณไปกับค่าใช้จ่ายในการจับโจรผู้ร้าย หรือ ดูแลผู้ต้องขังในเรือนจำ
3. มีประชาชนที่มีระเบียบวินัย มีความรู้ มีความภาคภูมิใจ เข้าใจพหุวัฒนธรรม อยู่ร่วมกันได้บนความต่างของวัฒนธรรม
4. มีประชาชนที่มีคุณภาพและสุขภาพที่ดี ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านสวัสดิการประกันและค่ารักษาพยาบาลจากรัฐ
5. ประชาชนมีความเท่าเทียมกันด้านรายได้ คนมีงานทำ
6. มีผู้สูงวัยที่มีคุณภาพ สามารถประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้กับตนเองได้ในวันเกษียณ ประหยัดงบอุ้มสังคมสูงวัย
7. ที่สำคัญที่สุดคือ มีความเป็นประชาธิปไตยแข็งแกร่ง
 
ดังนั้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากหนี้กยศ. จึงไม่ใช่แค่ผู้เรียนเท่านั้น แต่รวมถึงรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน แต่สถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน ภาครัฐกลับมีมาตรการในการผลักภาระทางการเงินจากภาครัฐไปสู่ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้ค้ำประกัน ทั้งๆ ที่ภาครัฐเองก็เป็นผู้รับประโยชน์จากหนี้สิน กยศ. ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งที่เป็นตัวเงินและที่ไม่อาจตีค่าเป็นตัวเงินได้

 

อดีตนักวิจัยยูเอ็น \"ดร.มีชัย\" หนุน \"ลดดอกเบี้ย กยศ.\" ยัน \"ทุนมนุษย์\" เป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าที่สุด

 

อย่างไรก็ตามพบว่าหลังจาก มี พ.ร.บ. ฉบับใหม่ มีผู้กู้เข้ามาติดต่อขอชำระหนี้ กยศ.เป็นจำนวนมากขึ้นจากเดิมถึง 2 เท่าตัว จึงทำให้คาดการณ์ได้ว่าในปี 2562 อาจรับได้เงินทุนกลับมาหมุนเวียนมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท