- 17 ธ.ค. 2561
ย้อนรอยมือสังหาร ปาระเบิด "ขบวนกำนันสุเทพ-กปปส." บรรทัดทอง-อนุสาวรีย์ฯ คนเดียวกัน
สืบเนื่องจากกรณี วันที่ 15 ธันวาคม 2561 "พล.ต.อ.สุชาติ ธีระสวัสดิ์" จเรตำรวจแห่งชาติ "พล.ต.ท.สุรเชษฐ์. หักพาล" ผบช.สตม.ในฐานะรอง ผอ.ศปอส.ตร. พร้อมด้วยคณะทำงาน และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตำรวจแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา หน่วยบัญชาการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ร่วมกันจับกุม "นายกฤษดา ไชยแค" อายุ47 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาเลขที่ 284/2557 ลงวันที่ 20 ก.พ. 2557
ทั้งนี้ ในฐานความผิดฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา,กระทำให้เกิดการระเบิดจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น ,มีและใช้วัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้มีและให้ใช้ไว้ในความครอบครองโดยผิดกฎหมาย ,มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต,พาอาวุธปืนและวัตถุระเบิดติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์,ยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน และฝ่าฝืน ประกาศ ข้อกำหนด ที่ห้ามนำอาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิดออกนอกเคหะสถาน ตามพรบ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 โดยจับกุมได้ที่ชายแดนไทยใกล้กับด่านจังหวัดสระแก้ว ขณะพยายามหลบหนีเข้าเมือง
อย่างไรก็ตาม ซึ่งก่อนหน้านี้ มีความคืบหน้าเจ้าหน้าที่ติดตามจับกุม "นายกฤษดา" ผู้ต้องหาขว้างระเบิดใส่เวที "กปปส." บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.56 โดยเป็นการประสานกันร่วมกับหน่วยงานจากประเทศกัมพูชา โดยวันที่ 14 ธ.ค.61 "พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล" ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เดินทางมาที่กองกับกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 12 ต.บ้านใหม่หนองไทร อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เพื่อควบคุมตัว นายกฤษดา ไชยแค อายุ 47 ปี กรณีที่ตกเป็นผู้ต้องหาขว้างระเบิดใส่เวที กปปส. บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.56 ท้องที่ สน.พญาไท และก่อเหตุยิง นายสุทิน ธราทิน ที่วัดศรีเอี่ยม ทองที่ สภ.บางนา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 26 ม.ค.57 ซึ่งหลังก่อเหตุได้หลบหนีการจับกุมไปกบดานในประเทศกัมพูชานานกว่า 4 ปี
เบื้องต้นผู้ต้องหารับสารภาพว่าร่วมกับพวกที่ถูกจับกุมไปก่อนหน้านี้ก่อเหตุปาระเบิดมาแล้ว 2 ครั้ง คือ 1.ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หน้า รพ.ราชวิถี จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บอีกกว่า 20 ราย และ 2.บริเวณบรรทัดทอง ปาระเบิดใส่ขบวนของ"นายสุเทพ" เทือกสุบรรณ" แกนนำ กปปส.
ทั้งนี้ หลังก่อเหตุผู้ต้องหายอมรับว่าได้หลบหนีไปกบดานยังประเทศเพื่อนบ้าน ตั้งแต่ปี 2557 โดยมีบุคคลคอยให้ความช่วยเหลือทางเงินเดือนละ 30,000 บาท โดยไม่ต้องประกอบอาชีพใดๆ แต่เจ้าหน้าที่ได้ประสานความร่วมมือกับทางการกัมพูชาในการกดดัน รวมทั้งช่วงหลังเงินที่ส่งมาให้นายกฤษดา เริ่มเหลือน้อย ไม่พอค่าใช้จ่าย จึงเดินทางเข้ามอบตัวและขณะนี้ได้นำตัวฝากขังที่ศาลอาญาเรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ เรื่องที่เกี่ยวกับผู้จ้างวาน "พล.ต.ท.สุรเชษฐ์" ระบุว่า "ผู้ต้องหาอ้างว่าเป็นกลุ่มการเมืองฮาร์ดคอร์ได้รวมกลุ่มขึ้นมากันเอง และเก็บรวบรวมอาวุธต่างๆ ไว้กับตัวเองเพื่อใช้ก่อเหตุ และมีส่วนร่วมในการก่อเหตุอื่นๆ รวมแล้วกว่า 10 ครั้ง นอกจากนี้ ในส่วนค่าหัว 700,000 บาทนั้น เป็นรางวัลนำจับของเจ้าหน้าที่ แต่ไม่ทราบจากหน่วยงานใด"
ขณะเดียวกัน ช่วงการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ช่วงปีพ.ศ. 2556–2557 มีเหตุการณ์ระเบิดเกิดขึ้นหลายครั้ง โดยมุ่งเป้าโจมตีกลุ่มกปปส. ให้มีผู้บาดเจ็บเกือบร้อยราย และผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากเพราะฉะนั้นเมื่อไล่เรียงจะพบว่า ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2557 ได้เกิดเหตุคนร้ายลอบปาระเบิดมาใส่กลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. ที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นำขบวนเคลื่อนผ่านถนนบรรทัดทอง ส่งผลให้มีผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บหลายคน ไม่เพียงเท่านั้น คล้อยหลังเพียงแค่2วัน วันที่ 19 มกราคม 2557 เกิดเหตุระเบิด 2 จุดที่บริเวณเวทีการชุมนุมของกลุ่ม กปปส.ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ที่เกิดเหตุพบจุดเกิดระเบิดมี 2 จุด จุดแรกอยู่บริเวณป้ายรถเมล์ ฝั่งโรงพยาบาลราชวิถี ส่วนจุดที่ 2 อยู่บริเวณริมฟุตปาธเชิงสะพานลอย ถนนราชวิถี มีผู้บาดเจ็บทั้งหมด 28 ราย
และในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2557 ขณะเวทีกกปส. จ.ตราด กำลังมีการอภิปรายของกลุ่มรวมพลคนไทยหัวใจรักชาติ กลุ่มคนร้ายใช้รถยนต์กระบะ 2 คัน พร้อมอาวุธสงครามและระเบิดขว้างไปยังสถานที่ชุมนุมจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ซึ่งจำนวน 2 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตเป็นเด็กผู้หญิง และนอกจากนั้นยังได้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากความรุนแรงดังกล่าวอีก 39 คน ส่วนในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557 เกิดเหตุระเบิดพื้นที่เวทีชุมนุม กปปส. ที่แยกราชประสงค์ จุดเกิดเหตุบริเวณหน้าห้างบิ๊กซีราชดำริ ห่างจากหน้าเวทีราชประสงค์ประมาณ 100 เมตร บาดเจ็บ28 เสียชีวิต2ราย
ไม่เพียงเท่านั้น หลังจากการเข้ามายึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคสช. ซึ่งดูเหมือนว่า กลุ่มคนดังกล่าวก็ไม่ได้เกร่งกลัวแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับท้ายทายอำนาจคสช. คือ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 คนร้าย 2 คนร้ายนำระเบิดมาวางไว้ด้านหน้าจุดบริการด่วนมหานครของสำนักงานเขตปทุมวัน บริเวณทางเชื่อมเข้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ภายในบริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม ก่อนระเบิดขึ้น มีผู้บาดเจ็บ 3 คน ไม่มีผู้เสียชีวิต
และวันที่ 7 มีนาคม 2558 จับ 2 ผู้ต้องหาปาระเบิดได้ทันควัน รับโทษจำคุกคนละ 5 เดือน ไม่รอลงอาญา ขยายผลจับกุมมีผู้ร่วมก่อเหตุได้อีกหลายคน สาเหตุมาจากกลุ่มผู้เห็นต่างทางการเมืองต้องการสร้างสถานการณ์ ส่วนวันที่ 17 สิงหาคม 2558 เหตุระเบิดแสวงเครื่องหรือทีเอ็นที น้ำหนักราว 3 กิโลกรัม รัศมีทำลายล้างไกล 100 เมตร เกิดระเบิดขึ้นภายในศาลพระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์ ช่วงเวลาประมาณ 19.00 น. มีผู้เสียชีวิตรวม 20 คน และบาดเจ็บ 163 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ
ภายหลังเกิดเหตุระเบิดแยกราชประสงค์ได้เพียง 1 วัน ช่วงบ่ายโมงครึ่งเป็นครั้งที่43
จากนั้น วันที่ 18 สิงหาคม คนร้ายโยนระเบิดจากบนสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ลงมาที่ท่าเรือสาทรฝั่งพระนคร ตำรวจคาดว่าคนร้ายต้องการโยนลงที่ท่าเรือ แต่พลาดตกลงแม่น้ำ ซึ่งไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ต่อมา วันที่ 5 เมษายน 2560 เป็นระเบิดไปป์บอมบ์ ซุกซ่อนในถังขยะ ระเบิดขึ้นบริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลหลังเดิม ริมถนนราชดำเนิน ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องคุมเข้มหวั่นเกิดเหตุซ้ำ เนื่องจากใกล้ช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์
จนกระทั่ง ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 เกิดเหตุระเบิดบริเวณใกล้ป้ายรถเมล์หน้าโรงละครแห่งชาติ พบเป็นระเบิดไปป์บอมบ์ตั้งเวลาด้วยไอซี ไทม์เมอร์ ซึ่งเป็นระเบิดชนิดเดียวกันที่เกิดขึ้นที่บริเวณชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ รพ.พระมงกุฎเกล้า ระเบิดซุกซ่อนอยูภายในแจกันดอกไม้ ถูกคนร้ายนำมาตั้งวางไว้ในห้องวงษ์สุวรรณ ใกล้จุดจ่ายจานายทหารสัญญาบัตร จนมีผู้บาดเจ็บกว่า 20 คน เมื่อวันที่ 22 พ.ค.60