- 10 ม.ค. 2561
รัฐแกล้งโง่ หรือ โง่จริง อ่านรายละเอียดเพจRichman can do
เห็นด้วยหรือไม่ จะมีประโยชน์อะไร ถ้า กทพ.ชงหั่นตั๋วบินราคาต่ำให้เหลือ 9.40 บาท/กม.
จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กพท. บอกว่า การประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือนปลายเดือนมกราคมนี้ กพท.จะเสนอให้พิจารณากรอบเพดานค่าโดยสารสายการบินในอัตราใหม่ โดยปรับลดเพดานราคาค่าโดยสารสายการบินต้นทุนต่ำ หรือโลว์คอสต์ ลงเหลือไม่เกิน 9.40 บาทต่อกิโลเมตรจากเดิมไม่เกิน 13 บาทต่อกิโลเมตร
ส่วนสายการบินเต็มรูปแบบ (ฟูลเซอร์วิส) ยังคงใช้กรอบเพดานเดิมคือ 13 บาทต่อกิโลเมตร ทั้งนี้หากที่ประชุมเห็นชอบตามที่ กพท. เสนอ จะมีการออกเป็นประกาศกระทรวงคมนาคมเพื่อบังคับใช้ต่อไป
จุฬา บอกว่า การปรับลดกรอบเพดานค่าโดยสารดังกล่าวได้พิจารณาอย่างรอบคอบ โดยดูจากต้นทุนที่แท้จริงและเชื่อว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อสายการบินต่างๆมากนัก เพราะปัจจุบันแม้ กบร. จะกำหนดเพดานสูงสุด ไว้ที่ 13 บาทต่อกิโลเมตร แต่สายการบินโลว์คอสท์ส่วนใหญ่จำหน่ายบัตรโดยสารไม่เต็มเพดาน โดยจะคิดค่าโดยสารประมาณ 5 บาทต่อกิโลเมตรเท่านั้น
ส่วนที่เก็บเต็มเพดาน หรือใกล้เคียงเพดาน มักจะเป็นการจำหน่ายบัตรโดยสารที่จองแบบกระชั้นชิด ใกล้เวลาเดินทาง หรือไม่ได้จองล่วงหน้า
ทั้งนี้ ปัจจุบันทุกสายการบิน ไม่ว่าจะเป็นโลว์คอสต์หรือฟูลเซอร์วิส ใช้กรอบเพดานค่าโดยสารเดียวกันที่ไม่เกิน 13 บาทต่อ กม. ซึ่งอาจไม่ยุติธรรมสำหรับผู้โดยดังนั้น จึงต้องพิจารณาทบทวน และกำหนดกรอบเพดานค่าโดยสารสำหรับสายการบินโลว์คอสต์โดยเฉพาะ โดยเวลานี้กำลังเร่งพิจารณาว่าสายการบินใดบ้างที่จะเรียกว่าเป็นโลว์คอสต์ เพราะปัจจุบันแต่ละสายการบินมีการให้บริการที่แตกต่างกันไป เช่น บางสายการบินไม่มีแจกน้ำ หรือขนม บางสายการบินแจกแต่น้ำ ไม่แจกขนม รวมทั้งบางสายกการบินแจกแต่น้ำ ไม่แจกขนม รวมทั้งบางสายการบินมีให้น้ำหนักสัมภาระฟรี เป็นต้น
แต่สายการบินโลว์คอสต์ส่วนใหญ่ขายบัตรโดยสารราคาไม่เต็มเพดานอยู่แล้ว จะคิดค่าโดยสารประมาณ 5 บาทต่อ กม.เท่านั้น ส่วนที่เก็บเต็มเพดาน หรือใกล้เคียงเพดาน มักจะเป็นการขายบัตรโดยสารที่จองแบบกระชั้นชิดใกล้เวลาเดินทาง ไม่ได้จองล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม กรอบเพดานใหม่นี้ผู้โดยสารน่าจะได้รับประโยชน์
แต่ราคาบัตรโดยสารจะลดลงจากเดิมหรือไม่นั้น ไม่สามารถตอบได้ เพราะแต่ละสายการบินจะเป็นผู้กำหนดเอง เป็นเรื่องของกลไกตลาดที่จะต้องแข่งขันกัน ซึ่ง กพท. ทำหน้าที่เพียงกำหนดกรอบเพดานสูงสุดไม่ให้เก็บค่าโดยสารเกินกรอบเท่านั้น.
ปิยะ ยอดมณี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOK บอกว่า การปรับลด เพดานค่าโดยสารคงไม่ส่งผลกระทบต่อสายการบินโลว์คอสท์ เนื่องจากปัจจุบันไม่มีสายการบิน โลว์คอสท์รายใดจำหน่ายบัตรโดยสารที่ 9 บาทต่อกิโลเมตร โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 2-3 บาทต่อกิโลเมตรเท่านั้น
ด้านความเห็นของผู้ใช้บริการสายการบินโลว์คอสต์ มักสะท้อนว่า ผู้ประกอบการเลี่ยงกฎหมาย เพราะแม้จะคิดค่าเดินทางถูก แต่เมื่อบวกกับค่าจิปาถะ โดยเฉพาะค่าสัมภาระและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่สายการบินคิดเพิ่มเข้าไปแล้วราคาจะไม่ได้ถูกเลย แม้จะจองล่วงหน้าเป็นเดือน ไม่ได้จองในเวลากระชั้นชิด แต่เหตุที่ได้ราคาแพง ทางสายการบินมักชี้แจงว่า ตั๋วที่นั่งราคาถูกเต็มแล้ว ซึ่งผู้โดยสารก็ไม่รู้ว่าเต็มจริงหรือไม่ ดังนั้นแม้จะจองล่วงหน้าเป็นเดือนก็ไม่ใช่จะได้ตั๋วถูก ตามที่สายการบินโฆษณา โดยเฉพาะสายการบินแอร์เอเชีย ส่วนสายการบินนกแอร์ ปัญหาที่เจอบ่อยคือ การยกเลิกเที่ยวบินกระทันหัน ในเวลาที่เที่ยวบินนั้นที่นั่งไม่เต็ม บริษัทจะยกเลิกเที่ยวบินทันทีและนำเที่ยวบินนั้นไปบินรวมกับเที่ยวบินต่อไป
เสียงสะท้อนจากผู้โดยสารส่วนใหญ่จะมีความเห็นว่า อยากให้กพท.คุมเรื่องค่าจิปาถะต่าง ๆ ที่สายการบินโลว์คอสท์คิดกับผู้โดยสารด้วย นอกเหนือจากการคุมค่าเดินทางเพียงอย่างเดียว เพราะการออกมาคุมเช่นนี้ก็ไม่มีประโยชน์อะไร เนื่องจากสายการบินจะอ้างว่า คิดค่าเดินทางไม่ถึงตามเกณฑ์ที่ทางการกำหนดอยู่แล้ว