แนะวิธี การลดหย่อนภาษีประจำปีพุทธศักราช 2561

แนะวิธี การลดหย่อนภาษีประจำปีพุทธศักราช 2561

ใกล้จะเข้าช่วงปลายปีแบบนี้ หลายคนคงเตรียมพร้อมทำหน้าที่พลเมืองที่ดี ด้วยการยื่นเสียภาษีประจำปี  2561 ซึ่งต้องบอกว่าในแต่ละปีทางรัฐบาลก็จะมีการออกมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้ประชาชนจับจ่ายซื้อสินค้ากันมากขึ้น โดยตลอดจนการปรับโครงสร้างทางภาษีที่ประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตาม

ทั้งนี้ รายการลดหย่อนภาษีประจำปี  2561 นั้นมีหมวดหมู่หลายด้านที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ดังต่อไปนี้

ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว

1.ค่าลดหย่อนส่วนบุคคลสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท

2.ค่าลดหย่อนจากคู่สมรสสามารถลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท

3.ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบุตร คนละ 30,000 บาท

4.ค่าลดหย่อนภาษีเลี้ยงดูบิดา-มารดา หักได้ไม่เกิน 30,000 บาท

5.ค่าอุปการะคนพิการหรือคนทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท

6.ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร นำมาหักค่าใช้จ่ายสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท

 

แนะวิธี การลดหย่อนภาษีประจำปีพุทธศักราช 2561

 

ค่าลดหย่อนภาษีตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

เที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด นำค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2561)

 

ค่าลดหย่อนภาษีจากการบริจาค

1.เงินบริจาคเพื่อการศึกษา สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ของจำนวนที่จ่ายจริง โดยเงินบริจาคต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังลดหย่อนภาษี

2.เงินบริจาคให้สถานพยาบาลของรัฐ สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของจำนวนจ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังลดหย่อนภาษี

3.เงินบริจาคเข้ากองทุนวิจัย สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของจำนวนจ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังลดหย่อนภาษี (มีผลถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562)

4.เงินบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆ สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของจำนวนจ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังลดหย่อนภาษี

5.เงินบริจาคทั่วไป สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่บริจาคจริง เมื่อรวมกับเงินบริจาคอื่นๆ ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักภาษี

แนะวิธี การลดหย่อนภาษีประจำปีพุทธศักราช 2561

 

ค่าลดหย่อนจากประกันชีวิตและเงินออม

1.เงินประกันสังคม ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 9,000 บาท

2.กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 13,200 บาท

3.เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 100,000 บาท

4.เบี้ยประกันสุขภาพ ไม่เกิน 15,000 บาท

5.เบี้ยประกันสุขภาพบิดา-มารดา ไม่เกิน 15,000 บาท

6.เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 15% ของเงินได้พึงประกันไม่เกิน 200,000 บาท

7.ค่าซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีไม่เกิน 500,000 บาท

8.ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อเลี้ยงชีพ ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีไม่เกิน 500,000 บาท

9.เงินสะสม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีไม่เกิน 500,000 บาท

 

โดยท่านที่สนใจอยากจะศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปได้ที่ กรมสรรพากร 

 

 

ขอบคุณ : SMART SME CHANNEL