- 05 พ.ค. 2560
ฝันเก้อ"เนติวิทย์"ปธ.สภานิสิตจุฬาฯ!! ลั่นเปลี่ยน "ถวายบังคมเป็นยืนเคารพ"..ไร้ราคาเพราะไม่ได้เป็นตัวแทนที่แท้จริง!!เพียงประธานในที่ประชุมของคน36คน??
จากกรณีนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชื่อดัง ได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 ด้วยคะแนนเสียง 27 เสียง จากองค์ประชุมทั้งหมด 36 คน
จากนั้นนายเนติวิทย์ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์ถึงกรณีประเพณีถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้า บริเวณลานพระราชวังดุสิต เนื่องในวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันปิยมหาราช 23 ตุลาคมนี้ นายเนติวิทย์ กล่าวว่า "คุณต้องเปิดพื้นที่ให้คนที่ไม่อยากถวายบังคมแบบหมอบคลาน เปิดพื้นที่ให้เขายืนเคารพก็ได้ บางคณะยังบังคับกันอยู่ เราจะลงไปดูแล"
ดังนั้นถึงจะได้รับตำแหน่งประธานสภานิสิตจุฬาฯ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสาารถทำตามอำเภอใจได้ ประธาน สภานิสิตจุฬาฯ ไม่มีอำนาจบริหารกิจกรรมใดๆ
ทั้งนี้ระบบองค์กรนิสิตจุฬา แบ่งเป็นกลุ่มหลักๆได้ 2 ส่วน คือ ส่วนแรกคือ องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ “อบจ.” เป็นองค์กรที่มีหน้าที่บริหารการดำเนินกิจกรรมส่วนกลางของมหาวิทยาลัย เช่น งานรับน้องก้าวใหม่, งานลอยกระทงจุฬาฯ, งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทางตรงครั้งใหญ่ เลือกโดยนิสิตทั้งมหาวิทยาลัย ให้ได้ตัวแทนคณะรวมถึงผู้แทนนิสิต ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะกรรมการนิสิตหรือนายกสโมสรนิสิตคณะต่างๆ ทั้ง 19 คณะ รวมถึงหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอบจ.จะมีฝ่ายสนับสนุนอื่นๆ แตกต่างกันไปตามแต่การตกลงกันของคณะกรรมการบริหารแต่ละชุด เช่น ฝ่ายประชาสัมพันธ์, ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
ส่วนที่สอง คือ สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ ส.ภ.จ. มีหน้าที่กำกับดูแลการบริหารงานขององค์การบริหารสโมสรนิสิต (อบจ.) ให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภานิสิต รวมถึง พิจารณาและควบคุมการจัดสรรงบประมาณ ผลการใช้งบประมาณ การเงิน และบัญชีขององค์การบริหาร สภานิสิตมีสมาชิกสามัญจากทุกคณะ คณะละ 3 คน โดยมีตำแหน่งหลัก 4 ตำแหน่งคือ
- ประธานสภานิสิต
- รองประธานสภานิสิตคนที่ 1
- รองประธานสภานิสิตคนที่ 2
- เลขาธิการสภานิสิต
พูดให้เข้าใจง่ายๆ คืออำนาจที่แท้จริงและเป็นตัวแทนนิสิตจุฬา ขึ้นอยู่กับอบจ. ส่วนตำแหน่งประธานสภานิสิต ที่นายเนติวิทย์กำลังบ้าเห่อดีใจอยู่ ขณะนี้ไม่ได้มีหน้าที่ หรือไปเปลี่ยนแปลงอะไรตามใจชอบ เป็นเพียงประธานนั่งหัวโต๊ะของคนในที่ประชุม 36คนเท่านั้น
ดังนั้น100ปี จุฬา ไม่มีอะไรที่จะสามารถแผ้วพานมรดกที่พระปิยะมหาราชให้เอาไว้ได้
ทั้งนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วย 19 คณะวิชา 1 สำนักวิชา ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ และมีหน่วยงานประเภท วิทยาลัย 3 แห่ง บัณฑิตวิทยาลัย 1 แห่ง สถาบัน 14 แห่ง และสถาบันสมทบอีก 2 สถาบัน จำนวนหลักสูตรรวมทั้งสิ้น 506 หลักสูตร ประกอบด้วย ระดับปริญญาตรี 113 หลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา 393 หลักสูตร ในจำนวนนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาอังกฤษ 87 หลักสูตร
โดยข้อมูล ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2559 มีนิสิตระดับปริญญาตรีจำนวนทั้งสิ้น 24,620 คน นิสิตระดับปริญญาโทจำนวนทั้งสิ้น 7,990 คน นิสิตระดับปริญญาเอกจำนวนทั้งสิ้น 2,540 คน และจำนวนนิสิตทั้งหมดรวมทั้งนิสิตระดับ ประกาศนียบัตรบัณฑิต และประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง มีทั้งสิ้น 37,146 คน