- 26 พ.ค. 2560
สงสัยไหม?? ว่าทำไม "กิตติรัตน์"ถึงต้องด่าแดกดัน คสช. หรือเพราะกลัวผลกรรมตามทัน..ใกล้จะติดคุก จำนำข้าว??
ภารหลังจากที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัญมนตรี ,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในสมัยรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ออกมาโพสต์ข้อความ พร้อมรูปภาพเป็นหน้านยกิตติรัตน์ ชู 3นิ้ว ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว โดยระบุว่า
ผมอยู่ในเมืองคนเลวที่สุด 3 จำพวก
ไม่เลวจริง วางระเบิดในโรงพยาบาลไม่ได้
ไม่เลวจริง ฆ่าคนตายเป็นร้อยไม่ได้
ไม่เลวจริง ยิงหัวคนตายในวัดไม่ได้
จะว่าอย่างนั้นก็ได้ เพราะหากไม่เลวจริงคงไม่สามารถรวมมือทุจริต สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติได้เป็นแสนล้านขนาดนี้...
ทั้งนี้คดีการระบายข้าวจำนวน 3 แสนตัน ให้บริษัท สยามอินดิก้า จำกัด ปรับปรุงข้าวเพื่อส่งมอบให้แก่ประเทศ อินโดนีเซีย (BULOG) เป็นอีกคดีในกลุ่มโครงการรับจำนำข้าว ที่อยู่ระหว่างการไต่สวนคดีของ ป.ป.ช.เช่นกัน
โดยเมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุไต่สวนขึ้นมารับผิดชอบการสอบสวนคดีนี้ เรียบร้อยแล้ว ระบุมูลเหตุในการไต่สวนคดีว่า เป็นการทจริตเปิดประมูลให้เอกชนดำเนินการปรับปรุงข้าวเพื่อส่งมอบให้แก่ประเทศอินโดนีเซีย (BULOG) ตามสัญญา การซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) จำนวน 300,000 ตัน เมื่อเดือน ธ.ค. 2554
โดยเอื้อประโยชน์ให้บริษัท สยามอินดิก้า จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูล ทั้งที่ บริษัท สยามอินดิก้า จำกัด มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงในลักษณะนอมินีของ บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด ของนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร ที่ถูกศาลล้มละลายพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย เคยเป็นคู่สัญญาการค้าขายข้าวกับรัฐบาลในโครงการ รับจำนำข้าวเปลือกปี 2544/2545 และปี 2546/2547 จำนวน 1.9 ล้านตัน และไม่สามารถส่งมอบข้าวได้ตามสัญญา
ซึ่งนายวิชา มหาคุณได้เคยระบุ ว่า ป.ป.ช. ได้ตั้งคณะอนุไต่สวนขึ้นมารับผิดชอบคดีนี้ อย่างเป็นทางการแล้ว
"คดีนี้ นักการเมืองถูกร้องเรียนเข้ามาคือ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง (ขณะที่ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) โดยผู้ที่ทำเรื่องร้องเรียนเข้ามาคือ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง "
ต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2557 ป.ป.ช. ได้เผยแพร่ความคืบหน้าการไต่สวนคดีนี้เป็นทางการ ระบุว่า ผ่านขั้นตอนการแจ้งคำสั่งคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีนี้ ให้ผู้ถูกกล่าวหา ประกอบด้วยนายกิตติรัตน์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ เจ้าหน้าที่กรมการค้าต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่องค์การคลังสินค้า (อคส.) ได้ใช้สิทธิ์คัดค้านรายชื่อคณะอนุฯ ไต่สวนแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน สอบปากคำพยานบุคคล
ทั้งนี้ ผลประโยชน์ที่รัฐควรได้จึงตกไปเป็นของบริษัท สยามอินดิก้า จำกัด กับพวกพ้องที่เป็นนักการเมือง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ เอื้อประโยชน์แก่กันและกันต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน
สำหรับผู้เป็นคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุมัติโครงการรับจำนำ มี 24 คน ตามคำสั่งสำนักนายกฯ ที่ 153/2554 เรื่องการแต่งตั้ง กขช. ลงวันที่ 8 ก.ย.2554 ประกอบด้วย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ประธาน กขช., นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีต รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์, นายธีระ วงศ์สมุทร อดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์, นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.การคลัง, นายภูมิ สาระผล อดีต รมช.พาณิชย์, นายบัณฑูร สุภัควนิช อดีต เลขาธิการนายกฯ, น.ส.สุพัตรา ธนเสรีวัฒน์ อดีตปลัดกระทรวงเกษตรฯ, นายวิเชียร ชวลิต อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม อดีตปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งปัจจุบันเป็นปลัดกระทรวงพลังงาน, นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม, นายจตุรงค์ ปัญญาดิลก อดีตปลัดสำนักนายกฯ, นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปัจจุบันเป็น รมว.คมนาคม, น.ส.วลัยรัตน์ ศรีอรุณ อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ปัจจุบันเป็นรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)