- 17 ส.ค. 2560
ติดตามรายละเอียดที่นี่ http://www.tnews.co.th
จากกรณี รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้โพสต์ภาพและข้อความผ่านทาง Facebook ส่วนตัว ต่อตระกูล ยมนาค ซึ่งเป็นรูปของพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดแจ้ง ที่ถูกบูรณะใหม่จนกลายเป็นโทนสีขาว พร้อมระบุข้อความว่า...
"บูรณะแบบไหน ถึงมาแปลงโฉมพระปรางค์ วัดอรุณ เป็นโทนสีขาว แกะกระเบื้องหลากสีจากจานเคลือบสีโบราณล้ำค่าหายออกไปแล้ว ทำแบบนี้ทำไม ? ใครรู้ช่วยตอบด้วย" ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นอย่างหนักในโลกออนไลน์กับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของวัดที่อยู่คู่กับคนไทยมากว่า 100 ปี เช่นเดียวกับหม่อมเจ้าจุลเจิมยุคล ที่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ (คลิกอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ฟ้องคนไทยทั้งประเทศ!! "ม.จ.จุลเจิม" โพสต์เศร้าใจ การบูรณะองค์พระปรางค์วัดอรุณฯ "กรมศิลปากร" สุดชุ่ย แปลงสมบัติล้ำค่าแผ่นดิน..ได้อัปลักษณ์มาก!?!)
ทั้งนี้ หลังจากเกิดเหตุการณ์ดราม่าร้อนฉ่าขึ้น นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ได้แถลงข่าวชี้แจงประเด็นการบูรณะวัดอรุณราชวรารามวรวิหาร ยืนยันว่าเก็บรายละเอียดก่อนการบูรณะทั้งหมด ซึ่งลวดลายไม่ได้ต่างจากก่อนบูรณะมาก แต่รายละเอียดในบางส่วนที่ปูนเข้าไปทับ ตามขอบ เส้นต่างๆ ตามลายเซรามิค อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างแต่ไม่ใช่ภาพรวมทั้งหมด ส่วนภาพที่เห็นว่าองค์พระปรางค์ เป็นสีขาวทั้งหมดนั้นยืนยันว่าไม่เป็นความจริง โทนสีขาวเป็นภาพปกติ ที่มีการบูรณะใหม่มีการทำความสะอาดสีพื้น จึงออกมาเป็นภาพที่เห็น (คลิกอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : เคลียร์มั้ยล่ะ..ช้าเหลือเกิน!! อธิบดีกรมศิลป์โร่แจงทุกข้อสงสัย "บูรณะองค์พระปรางค์ วัดอรุณฯ" ยันคงศิลปะความงามโบราณเกินร้อยละ 60!?!)
ล่าสุด วันนี้ (17 ส.ค.) หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็น กรณีอธิบดีกรมศิลปากรแถลงข่าวชี้แจงประเด็นการบูรณะวัดอรุณราชวรารามวรวิหาร โดย หม่อมเจ้าจุลเจิม กล่าวว่า...
"งานนี้อธิบดี กรมศิลปากร สอบตก
กรมศิลปากร และคณะกรรมการในการทำงาน ในการปฏิสังขรณ์ (ซ่อม) พระปรางค์ วัดอรุณ เคยอ่าน หรือผ่านตา ในพระราชกระแส เรื่อง การปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดอรุณ สมัยในรัชกาลที่ 5 บ้างไหมครับ และถ้าเคยอ่านผ่านตากันแล้ว เคยกราบบังคมทูล พระเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบ ไหม ซึ่งเรื่องนี้ได้ถูกกำหนดไว้ใน ระเบียบ ว่าด้วยการอนุรักษ์โบราณสถาน พ.ศ. ๒๕๒๘ ตามระเบียบราชการกรมศิลปกร ดังนั้นจึงถือเป็นกฎหมายที่ต้องนำความกราบบังคมทูลฯ
แต่ทำไม กรมศิลปากร และคณะกรรมการในการทำงาน ในการปฏิสังขรณ์ (ซ่อม) พระปรางค์ วัดอรุณ ไม่น้อมนำ การปฏิสังขรณ์ (ซ่อม) พระปรางค์ วัดอรุณสมัยรัชกาล ที่ 5 มาทำการปฏิสังขรณ์ ในครั้งนี้
ดั่งในพระราชกระแส ที่ว่า .......
"อย่าพยายามที่จะแต่งของเก่าให้สุกสดใสเท่าของใหม่"
ม.จ. จุลเจิม ยุคล"