- 15 ก.ย. 2560
ติดตามรายละเอียด : http://www.tnews.co.th
ยังคงเคลื่อนไหวต่อเนื่องการนำประเด็นเรื่องเหตุการณ์สลายการชุมนุมทางการเมืองปี 2553 มาใช้ในการประเมินในหลายมิติทางการเมือง ทั้งปฏิกิริยาของรัฐบาลและกองทัพ แต่ขณะเดียกันก็ใช้เป็นเครื่องมือวัดกระแสมวลชนคนเสื้อแดงได้เป็นอย่างดี สำหรับการแถลงข่าว “ทวงความยุติธรรม 99 ศพ จากเหตุชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553” โดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ , นางธิดา ถาวรเศรษฐ , นพ.เหวง โตจิราการ และนายนิสิต สินธุไพร แกนนำนปช. แม้ว่าก่อนหน้าจะมีการปล่อยข่าวว่ากิจกรรมดังกล่าวถูกห้าม ??
ขณะที่ในเพจเฟซบุ๊กของ “ปู จิตรกร” นักจัดรายการชื่อดัง ได้นำเสนอความเห็นส่วนตัวเกี่ยวเนื่องกับประเด็นนี้ พูดไปถึง การที่ พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) และเลขาธิการ คสช. อนุญาตให้มีการจัดแถลงข่าว โดยระบุเหตุผลว่า นายณัฐวุฒิ เลขาธิการ นปช. น่าจะมีความเข้าใจดีในสถานการณ์บ้านเมือง และบอกกับว่าการแถลงข่าวดังกล่าว ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง ???
สิ่งที่ต้องมองเห็นหรือจับตาดูต่อไป คือ 1) ก็ไม่ได้มีเหตุผลอะไรต้องไปห้ามเขาหรอก เขาอยากจะโชว์ของ ปลุกมวลชน เช็คชื่อ ว่าเหลือเท่าไหร่ เนื่องจากใกล้เลือกตั้งแล้ว ประกอบกับ ทักษิณก็หนี, ยิ่งลักษณ์ก็หนี, โอ๊คก็กำลังมีคดี อีเจ๊ซาลาเปาก็ตายนึ่งด้วยวาทกรรม "กูพูดไม่ได้" ซึ่งเป็นเป็นปฏิบัติการ ยืมคำพูดบุญทรงมาฆ่าเจ๊คนหนึ่ง เพื่อเปิดทางให้เจ๊คนหนึ่งขึ้นครองพรรค เป็นสงครามชิงอำนาจการนำภายใน
.
2) เช่นเดียวกับ นปช. ที่ไอ้ตู่-จตุพร ก็เข้าคุกไป ด้วยวาทกรรม "อภิสิทธิ์สั่งฆ่าประชาชน, ฆาตกรมือเปื้อนเลือด" แกนนำอีกหลายคนก็มีคดีเทียวขึ้นโรงขึ้นศาล ก็เป็นจังหวะอันงาม ที่ไอ้เต้นจะลงมาเล่นเอง ก่อนผัวเมีย นกแสก-เหวง จะทำให้องค์กรเละ ขาดฐานมวลชนหนุนพรรค และขาดอีเว้นต์หลัก เบิกตังค์นายใหญ่ แล้วจะปลุกมวลชนให้กลับมาได้ด้วยเรื่องอะไร ก็เอาเรื่อง "ความตาย" ของพวกเขามาเล่น
3) ตัวแปรสำคัญ มันจึงอยู่ที่ประชาชนคนเสื้อแดงเอง ว่าจะเจ็บปวด หลาบจำ ยอมให้ผู้นำที่ชอบอ้างพวกเขา แต่ทรยศหักหลังอยู่ร่ำไป บ้างหรือไม่
4) เขาบอกว่า มีคนตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร ก็เชื่อ ก็บ้าคลั่ง ก็มาชุมนุม มารุมทุบตีรถเขาแทบจะรุมฆ่าให้ตาย ยกพวกไปทำลายการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เชื่อเขาไปหมด ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง การตั้งรัฐบาล มันต้องเริ่มจากการโหวตกันในสภา เสียงส่วนใหญ่ยกมือสนับสนุนใคร คนนั้นก็ได้เป็นนายกฯ นายกฯ ก็ไปตั้งรัฐมนตรี แล้วทำงาน
5) แล้วทำไมจู่ๆ กลุ่มของ เนวิน ชิดชอบ ไม่โหวตพรรคเพื่อไทยเหมือนเดิมล่ะ ตอบว่า-ปัญหาของพรรคไทยรักไทย คือ รองหัวหน้าพรรคทุจริตการเลือกตั้ง หวังให้พรรคชนะ ถูกจับได้ ศาลตัดสิน ผลกระทบที่ตามมา โดยกติกาคือ ต้องยุบพรรคและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 5 ปี จากนั้นอวตารมาเป็น พรรคพลังประชาชน
โดยรองหัวหน้าพรรค คือ ยงยุทธ ติยะไพรัช ถูกตัดสินว่ากระทำการทุจริตการเลือกตั้ง เพื่อให้พรรคได้เสียงข้างมาก ก็ถูกยุบพรรค กรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิ 5 ปี รวมทั้งนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ด้วย ที่ต้องตกเก้าอี้นายกฯ เพราะอยู่ในกรรมการบริหารพรรค
ถึงเวลานั้ มีเวลาสั้นๆ หาพรรคใหม่อยู่ พรรคพลังประชาชน ตั้ งพรรคเพื่อไทย ส.ส.ส่วนใหญ่ยังอยู่ที่พรรคนี้ เว้นแต่กลุ่มของนายเนวิน ออกไปตั้งพรรคภูมิใจไทย แล้วไม่โหวตหนุนพรรคพลังประชาชน แต่โหวตเลือกนายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ ซึ่งก็โหวตกันในสภา ไม่ใช่ในค่ายทหารอย่างที่ปลุกปั่นหลอกลวงประชาชนมา
6) ในการโหวตในสภานั้น พรรคพลังประชาชนก็ไม่ได้ส่งคนของตัวเองลงแข่งขัน แต่ไปหนุน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ซึ่งอยู่ในพรรคเล็กๆ ที่ไม่ได้ชนะการเลือกตั้งเป็นเสียงส่วนใหญ่มาแต่อย่างใด เสียงน้อยกว่าพรรคประชาธิปัตย์เยอะ แต่แกนนำก็ไปอ้าง หลอกลวงปลุกปั่นมวลชนว่า ทำไมพรรคที่ชนะการเลือกตั้งมา ไม่ได้เป็นนายกฯ ไม่ได้ตั้งรัฐบาล มวลชนก็ไม่คิดห่าเหวอะไรทั้งนั้น เขายุกูก็โกรธ เขาบอกยังไงกูก็เชื่อ มาชุมนุมกัน ทวงคืน "ประชาธิปไตย"
7) ก็คราวนี้เองไม่ใช่เหรอ ที่ "เผาบ้านเผาเมือง" กัน ถูกทรยศหักหลังสารพัดสารพันตามมา
• ทักษิณบอก ถ้าเสียงปืนดัง ผมจะกลับไปนำพี่น้องเอง สุดท้ายเป็นไง สุขสบายอยู่ต่างประเทศ แถมในช่วงคับขัน ลูกเมียเดินทางไปต่างประเทศกันหมด ทิ้งมวลชนคนเสื้อแดงไว้ตามยถากรรม
•ทักษิณบอก ถ้าเกิดอะไรขึ้น ให้พี่น้องไปที่ศาลากลาง ไอ้เต้นบอก เผาเลยครับพี่น้องเผา ผมรับผิดชอบเอง แม้จะพูดต่างกรรมต่างวาระ แต่มันก็ฝังความเกลียดชังและจุดประกายความรุนแรงให้มวลชนใช่ไหม สุดท้ายเผาศาลากลางกัน เวลาติดคุก ใครติด? ขึ้นโรงขึ้นศาลเขาช่วยไหม? พวกหนึงสู้แล้วติดตะราง อีกพวก "สู้แล้วรวย" แล้วนี่จะยอมให้พวกสู้แล้วรวยปลุกตัวเองให่มาสู้แล้วซวยเหมือนเดิมอีกไหม
• ไปเจอทักษิณกันที่เขมร ทักษิณบอกว่าไง เขาบอกเขาเหมือนเรือ กำลังจะถึงฝั่งแล้ว พี่น้องพักได้ พอแล้ว กอดคอแม่คนหนึ่งที่ลูกถูกยิงตายที่วัดปทุมฯ บอกว่า "ต้องเสียสละ" จากนั้นก็กลับมาออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมกัน ไอ้ที่ตายก็ตายไป ไม่ต้องได้รับความเป็นธรรมใดๆ ไม่ต้องรู้แม้กระทั่งใครฆ่า ไม่เอาผิด ไม่ตรวจสอบ ไม่ให้ความเป็นธรรม นิรโทษกรรมให้คนเป็น ย่ำยีคนตาย ให้ตายไป แล้วยัดทักษิณเข้าไว้ในกฎหมายนิรโทษกรรมด้วย ว่าคดีทุจริตทั้งหลาย ก็ไม่ต้องเอาเรื่องเอาความกันอีก
8) ในการโหวต พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ไอ้เต้น "งดออกเสียง" นะครับ แปลว่า มึงจะปล่อยให้พรรคพวกกูตายฟรีก็รีบๆ โหวตซะ กูจะนั่งเฉยๆ ไม่รู้ไม่เห็น เข้าใจตรงกันนะ!
9) บัดนี้ย้อนกลับมา เป็นหมาแทะซากศพกันอีกแล้ว มาหากินกับความตายที่ตัวเองและพรรคเคยปล่อยให้ตายฟรีมาแล้ว ทำทีเป็นกระตือรือร้นจะเรียกหาความเป็นธรรมให้ ก็ความเป็นธรรมมันตายห่าคาตีนพวกขาไปตั้งแต่ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมไปแล้ว จำกันไม่ได้หรือไง
ก็คอยดูปาหี่กัน ว่างานนี้ "ไพร่" ผู้ "สู้แล้วรวย" แถมขอเครื่องราชย์จนได้มาไม่รู้กี่ชั้นแล้วรายนี้ จะ "เล่นใหญ่เล่นโต" แค่ไหน และมวลชนคนเสื้อแดงจะมีปฏิกิริยาอย่างไร รอดูกัน
-หลอกคนให้มาสู้ มาตายแทน
-นับศพคนตายแม้กระทั่งทหารที่ถูกกองกำลังเสื้อดำฆ่า
-กองกำลังที่อริสมันต์ประกาศชัดว่าเป็น "แก้วสามประการ" คือ พรรค มวลชน และกองทัพ
-พอล้มรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้แล้ว ขึ้นมาเป็นรัฐบาลโดยการนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สิ่งที่ทำคือ เอาความตายมาบังหน้า เพื่อจะนิรโทษกรรมให้พี่ชาย
ถ้าไม่เจ็บปวด ไม่หลาบจำ กับการถูกทรยศเช่นนั้น ก็ไม่รู้จะกล่าวคำว่าอะไรแล้ว นปช. เอ๊ย!!
ขณะที่ทางด้าน นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ระบุว่า การที่คำพิพากษาศาลฎีกามีคำพิพากษายืนยกฟ้องตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 2 เป็นจำเลยฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำหรือฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ดังนั้นคำพิพากษาศาลฎีกาย่อมผูกพันคู่ความ คือ โจทก์ ซึ่งได้แก่พนักงานอัยการ และจำเลยทั้งสอง รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลฎีกา คือ สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) หน่วยงานทั้ง 2 มีหน้าที่ต้องเรียกร้องความยุติธรรมให้ประชาชนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ในการส่งเรื่องไปยังป.ป.ช. เพื่อไต่สวนความผิดของจำเลยทั้ง 2 ว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 หรือไม่ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ....