- 20 ต.ค. 2560
20 ต.ค. 2520 อีกหนึ่งหน้าการเมืองไทย เมื่อ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้ที่เดินหน้าปราบยาเสพติด
รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 เป็นการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยผู้ที่นำการรัฐประหาร คือ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและหัวหน้า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ล้มรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เหตุเนื่องจากการที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่นำโดย พล.ร.อ.สงัด ได้ทำการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2519 เนื่องจากในเหตุการณ์ 6 ตุลา และแต่งตั้ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยรัฐบาลนายธานินทร์มีภารกิจสำคัญที่จะต้องกระทำคือ การปฏิรูปการเมืองภายในระยะเวลา 12 ปี ซึ่งทางคณะปฏิรูปฯเห็นว่าล่าช้าเกินไป ประกอบกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบดีด้วย ดังนั้นจึงกระทำการรัฐประหารซ้ำอีกครั้ง ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นการ รัฐประหารตัวเอง เพื่อกระชับอำนาจก็ว่าได้ โดยมีประกาศในการรัฐประหารไว้ดังนี้ การบริหารงานของรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ไม่อาจแก้ปัญหาสำคัญของประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรม ให้ลุล่วงไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการปิดกั้นเสรีภาพทางความคิดเห็นของประชาชน ตลอดจนท่าทีของรัฐบาลในการลอบวางระเบิดใกล้พลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จังหวัดยะลา ผลจากการยึดอำนาจคือ ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519 ที่ใช้อยู่ขณะนั้น และมาใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2520 แทน จนกระทั่งถึงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 จึงมาใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร พ.ศ. 2521 แทน และได้แต่งตั้ง พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนใหม่เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 15
สำหรับนายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของไทย เป็นแม่แบบนายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งดำรงตำแหน่ง
วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 (รวม 1 ปี 12 วัน) ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร มีนโยบายโดดเด่นคือการต่อต้านภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กำลังมีอิทธิพลอย่างสูงในขณะนั้น นโยบายปราบปรามยาเสพติด โดยจัดตั้งสำนักงาน ปปส.ขึ้น อีกทั้งนโยบายด้านการปราบปรามคอรัปชั่น รัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร นับว่าเป็นรัฐบาลเผด็จการพลเรือนที่ใช้อำนาจจัดการประชาชนในข้อหาคอมมิวนิสต์ จนมีประชาชนส่วนหนึ่งหนีข้อหานี้เข้าป่าไปเป็นจำนวนมาก มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชน สั่งปิดหนังสือพิมพ์ ซึ่งในระยะเวลา 1 ปี มีคำสั่งปิดหนังสือพิมพ์ถึง 22 ครั้ง ผู้สั่งปิดได้แก่ นาย สมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจคำสั่งปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 เป็นยุคมืดของวงการสื่อสารมวลชนและนักหนังสือพิมพ์ จนอาจกล่าวได้ว่าเผด็จการพลเรือนนั้นบางทีมีการจำกัดสิทธิมากกว่าเผด็จการทหารเสียอีก
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 เป็นการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยผู้ที่นำการรัฐประหาร คือ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและหัวหน้า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ล้มรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เหตุเนื่องจากการที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่นำโดย พล.ร.อ.สงัด ได้ทำการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2519 เนื่องจากในเหตุการณ์ 6 ตุลา และแต่งตั้ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยรัฐบาลนายธานินทร์มีภารกิจสำคัญที่จะต้องกระทำคือ การปฏิรูปการเมืองภายในระยะเวลา 12 ปี ซึ่งทางคณะปฏิรูปฯเห็นว่าล่าช้าเกินไป ประกอบกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบดีด้วย ดังนั้นจึงกระทำการรัฐประหารซ้ำอีกครั้ง ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นการ รัฐประหารตัวเอง เพื่อกระชับอำนาจก็ว่าได้
โดยมีประกาศในการรัฐประหารไว้ดังนี้ การบริหารงานของรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ไม่อาจแก้ปัญหาสำคัญของประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรม ให้ลุล่วงไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการปิดกั้นเสรีภาพทางความคิดเห็นของประชาชน ตลอดจนท่าทีของรัฐบาลในการลอบวางระเบิดใกล้พลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จังหวัดยะลา
อย่างไรก็ตามนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่ซื่อสัตย์สุจริตที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย ภายหลังจากที่คณะปฏิวัติได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายธานินทร์ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และได้ดำรงตำแหน่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งก่อนหน้านั้นนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สวรรคต และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จะปฏิบัติหน้าที่องคมนตรีในคราวเดียวกันไม่ได้ ดังนั้น คณะองคมนตรีจึงได้มีมติเลือกนายธานินทร์ ซึ่งเป็นผู้มีอาวุโสสูงสุด เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรี