- 31 ธ.ค. 2560
“สมาคมนักข่าวฯ”ประกาศอุดมการณ์!! อ้างถูกควบคุม-คุกคาม โซเชียลฮือ!!สวนกลับ ความจำเป็นของสื่อ?!ในภาวะโลกท่ีเปลี่ยนไป ภายใต้ยุคนิวมีเดีย!!
เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 60 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เผยแพร่รายงานสถานการณ์สื่อมวลชนประจำปี 2560 หัวข้อ “ควบคุม คุกคาม คลุกคลาน” โดยระบุว่าสถานการณ์ด้านสื่อในปี 2560 ภายใต้รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตกอยู่ในสถานการณ์ “ควบคุม คุกคาม คลุกคลาน” โดยอ้างว่า เป็นอีกปีหนึ่งที่สื่อยังคงปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแลอย่างเข้มงวดของอำนาจรัฐ อีกทั้งเผชิญกับท่าทีของผู้นำที่มีอคติในการทำงานของสื่อ เป็นปีที่สื่อยังถูกกดดันจากการปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบอำนาจรัฐด้วยข้ออ้างเหตุผลความมั่นคงของรัฐ ถูกใช้เป็นเครื่องมือกดดัน แทรกแซงการทำงานของสื่ออยู่เสมอ นับเป็นอุปสรรคสำคัญในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
สาระสำคัญรายงานสถานการณ์ดังกล่าวได้อ้างถึง การควบคุมสื่ออย่างเข้มข้นของรัฐบาล
โดยกล่าวถึง ..การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ผ่านการทำประชามติ เพื่อเตรียมเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง คืนเสรีภาพให้ประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย ขณะที่เนื้อหาในรัฐธรรมนูญได้รองรับสิทธิในการแสดงความคิดเห็น การพูด การพิมพ์ไว้ ในมาตรา 34 และมาตรา35 บัญญัติให้บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร หรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ แต่คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 97 และ 103 ที่ออกมาตั้งแต่ปี 2557 ห้ามวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของคสช. โดยมีเจตนาเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของคสช. ยังคงมีผลบังคับใช้ เพื่อควบคุมการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนอย่างเข้มงวด ทำให้การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนต้องระมัดระวังตัวและเซ็นเซอร์ตัวเอง โดยเฉพาะประเด็นตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาล บุคคลในคณะรัฐบาล ต่อเรื่องความโปร่งใสต่างๆ ที่มักจะถูกเตือน และกดดันจากคนในรัฐบาล ส่งผลต่อเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน
และที่ขาดไม่ได้ ในประเด็น “การปฏิรูปสื่อ” ที่ผ่านมาสมาคมก็ได้แสดงออกมาโดยตลอดในการคัดค้าน ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ..ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) มาเมื่อ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งบางช่วงได้ระบุว่า..
ความพยายาม “ควบคุม” สื่อมวลชน ยังสะท้อนผ่านการเสนอร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .... ของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน ที่เสนอให้สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ (สปท.) เห็นชอบ ซึ่งเป็นข้อเสนอในกรอบการปฏิรูปประเทศด้านสื่อจากแม่น้ำ 5 สายของคสช.
เนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว องค์กรวิชาชีพสื่อและนักข่าวได้รวมพลังคัดค้านอย่างหนัก เพราะเห็นเป็นกฎหมายที่มีหลักการควบคุมบังคับมากกว่าคุ้มครอง เปิดทางให้รัฐเข้าแทรกแซงการทำงานของสื่อ รวมถึงให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสื่อ....
อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมกับคณะกรรมการปฏิรูปด้านอื่น โดยตั้งตัวแทนจากภาครัฐ สปท. สื่อมวลชน และนักวิชาการเข้าร่วม เพื่อวางกรอบการปฏิรูปสื่อสารมวลชนทั้งระบบ แยกออกเป็น 6 ประเด็น อาทิ การปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชน การปฏิรูปดูแลสื่อออนไลน์ การปฏิรูประบบความปลอดภัยไซเบอร์ การปฏิรูประบบข้อมูลข่าวสารภาครัฐ และการปฏิรูปมาตรฐานวิชาชีพและระบบกำกับดูแลสื่อมวลชน ซึ่งในเรื่องหลังนี้ยังพบว่า มีการเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสื่อฉบับสปท. ให้พิจารณา รวมถึงยังมีความพยายามผลักดันแนวคิด “ควบคุมสื่อ” ผ่านกรรมการที่ใกล้ชิดภาครัฐ
แต่การออกมาประกาศเชิงกล่าวหา รัฐบาลกำลังคุกคามสิทธิเสรีภาพในการทำหน้าที่ “สื่อมวลชน” พึงมี ในครั้งนี้กลับถูกตีกลับ จากสังคมออนไลน์ การยกตัวเหนือผู้อื่นใช้ อภิสิทธิ์ชน อ้างความเป็นสื่อ อีกทั้งการทวงถามถึง “จรรยาบรรณสื่อ” ที่หายไป.. ??
(ตัวอย่างความคิดเห็น)
สะท้อนให้เห็นถึงประชาชนขาดความเชื่อมั่น ในการทำหน้าที่ของ สื่อมวลชน ที่ครั้งหนึ่งเคยได้รับคำนิยามว่าเป็น หมาเฝ้าบ้าน หรือเป็นผู้พิทักษ์ความยุติธรรม คอยตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคม และประเทศ โดยเฉพาะการตีแผ่ความจริงที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา...
ประกอบกับในยุคที่ “ข่าวสาร” เปิดกว้างหลากหลาย ทั้งรูปแบบและเนื้อหา และในวันนี้..วันที่“สื่อ” ไม่มีต้นทุนอีกต่อไป ส่งผลให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยสามารถทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารเสมือนเป็นสื่อสารมวลชนทั่วไป…ภายใต้ยุคของการสื่อสาร ”นิวมีเดีย” กระจายไปสู่ผู้คนทั่วไปอย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นโซเชียลมีเดียอย่าง facebook เกิดแฟนเพจน้อยใหญ่ขึ้นมากมาย อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงรับร้องเรียน เรื่องราวร้องทุกข์ต่างๆ ที่ไม่ชอบมาพากลของชาวบ้าน ซึ่งหลายๆประสบความสำเร็จได้โดยดี หรือจะเป็น twitter , line , Instagram ที่สามารถใช้ส่งต่อข้อมูล พร้อมภาพและเสียง ได้อย่างรวดเร็ว ทุกทีทุกเวลา
จากสถิติ ตลอดปี 2559– เดือนพฤษภาคม 2560 พบว่าคนไทยยังใช้ facebook ถึง 47 ล้านคน ขณะที่คนใช้ Instagram 11 ล้านคน โตขึ้นถึง 41% LINE มีผู้ใช้ 41 ล้านคน ส่วน twitter นั้นน่าจับตามองสุดๆเพราะเติบโตมากที่สุดในทุก Social Media ในไทย โดยมีผู้ใช้ถึง 9 ล้านคน โตขึ้น 70%
ก่อนจะสูญเกียรติ สิ้นศักดิ์ศรี และศรัทธาจากประชาชนไปมากกว่าที่เป็นอยู่ ..มาถึงตอนนี้ผู้ที่เรียกตัว ระบุตนว่าเป็น “สื่อมวลชน” ต้องกลับไปทบทวนตัวเอง บทบาทที่ผ่านมาได้ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติมากมายเพียงใด??..