ก่อนจะเรียกตัวเองว่า "ไพร่".. ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ รู้จักคำนี้ดีแค่ไหน??

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th


บรรยกาศเลือกตั้งเริ่มกลับมาคึกคัก การปรากฏขึ้นต่อสาธารณะของคนรุ่นใหม่มาแรงในตอนนี้ คงหนีไม่พ้น “นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ” รองประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ผู้ที่ขนานนามตนเองว่าไพร่หมื่นล้าน ขอแจ้งเตือนให้คนไทยได้โปรดจับตามองการเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลดังกล่าวให้ดี

นายธนาธรเคย ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อใหญ่ พร้อมประกาศตัว “ผมทำธุรกิจหลายหมื่นล้าน วันนี้ผมก็เป็นไพร่ ..” การที่นายธนาธรออกมาพูดแบบนี้ แท้จริงแล้วตัวนนายธนาธรเข้าใจความหมายของคำว่าไพร่ ลึกซึ้งเพียงใด

“ไพร่” เกิดขึ้น ในยุคสมัย “ศักดินา” ที่มีการนับศกดิ์ ที่ไร่นา โดน ไพร่ หมายถึง สามัญชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในฐานะทาส หรือเจ้าขุนมูลนาย มีอิสระในการประกอบอาชีพ การตั้งบ้านเรือน มีครอบครัว มีศักดินา 10-25 ไร่ และต้องสังกัดมูลนาย จะโยกย้ายสังกัดไม่ได้ ไพร่ที่ขึ้นสังกัดหรือสักเลกแล้ว จะปรากฏเครื่องหมายสังกัดที่ข้อมือ หากสามัญชนผู้ใดไม่ได้สังกัดมูลนายจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย ไพร่มีหน้าที่ในการถูกเกณฑ์แรงงาน หรือเสีย "ส่วย" และถูกเกณฑ์ทหารในยามที่มีศึกสงคราม มีสองประเภทคือ ไพร่หลวง และ ไพร่สม


ระบบไพร่ดำรงอยู่จนกระทั่งถึงกลางสมัยรัตนโกสินทร์ และค่อย ๆ จางหายไปเอง เมื่อมีการนำระบบภาษีอากร และระบบเกณฑ์ทหารแบบสมัยใหม่มาใช้

หากจะเปรียบเทียบกับยุคสมัยนี้อาจจะอนุมานได้ว่าไพร่ คือ พี่น้องภาคการเกษตร ซึ่งทางฝ่ายการเมืองการ โดยเฉพาะระบอบทักษิณ นปช. คนเสื้อแดง มัจำกัดความหมายว่าของไพร่ เป็นเป็นชนชั้นรากหญ้า แรงงาน และรวมไปถึงพี่น้องเกษตรกรด้วย ดังนั้นก็ต้องมาพิจารณกันต่อด้วยว่า คนรากหญ้า ที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง เมื่อถึงเวลาจะต้องตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ ท้ายที่สุด กลุ่มการเมืองเหล่านี้จะเลือกใคร จะตัดสินใจเพื่อเกษตรกร คนยากคนจน หรือ กลุ่มทุนใหญ่ อย่างเช่นนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และรัฐบาลทักษิณ ได้ตัดสินใจมาแล้ว

หากจะถามกลับไปยังกลุ่มคนที่เป็นบุคคลในวงศ์วาน ทราบกันดีอยู่แล้วบริษัทไทยซัมมิทของนายธนาธร คือ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักรกลทางการเกษตร และ เครื่องใช้ไฟฟ้า แนวหน้าของประเทศไทย  อีกทั้งนายธนาธรยังเป็นหลานชายแท้ๆของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ใน 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548
จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในระหว่าง2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ในสมัยรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร

ในขณะนั้นเกิดเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก คือ “ข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือเอฟทีเอไทย-ออสเตรเลีย” หากมองแบบผิวเผิน ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ดี ให้กับชาติบ้านเมืองเพราะจะทำให้การค้าขายระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่ง่าย ไม่มีภาษีการนำ-ส่งออก แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น FTAกับสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ โดยเฉพาะภาคเกษตรกร แต่กลับเพิ่มความมั่นคังให้กับกลุ่มทุนสามานย์ พวกพ้องตนเอง โดยไม่สนใจพี่น้องประชาชน

ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีขณะนั้น เดินทางไปเยือนประเทศออสเตรเลียระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2547 เพื่อลงนามความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย นับว่าเป็นความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) สองฝ่ายฉบับแรกของไทยที่ทำกับประเทศพัฒนาแล้ว และเป็นความตกลงที่ครอบคลุมทั้งการเปิดเสรีการค้า บริการ และการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่สนใจร่วมกัน เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทรัพย์สินทาง-ปัญญา การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และนโยบายการแข่งขัน

โดยไทยและออสเตรเลียกำหนดลงนามความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรี TAFTA ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 และจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการใน วันที่ 1 มกราคม 2548

จากความร่วมมือดังกล่าวทำให้สินค้าส่งออกไทยที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีของออสเตรเลีย
- รถปิกอัพ รถยนต์ขนาดเล็ก ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ - เนื่องจากออสเตรเลียนำเข้า รถปิกอัพจากไทยถึง 85% ของการนำเข้าทั้งหมด การลดภาษีของออสเตรเลียทำให้รถปิกอัพไทยราคาถูกลง และมีศักยภาพมากขึ้นในตลาดออสเตรเลีย ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในออสเตรเลียเป็นการผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่เกิน 10 ที่นั่ง และมีความจุกระบอกสูบตั้งแต่ 3,000 ซีซี ขึ้นไป ซึ่งเป็นคนละตลาดกับรถยนต์ส่งออกของไทย

- เครื่องปรับอากาศ เครื่องรับโทรทัศน์ – ภาษีของออสเตรเลียจะปรับลดลงเหลือ 0% ในปี 2548 ทำให้ไทยสามารถแข่งกับสินค้าประเภทเดียวกันของเกาหลีใต้ได้ดีขึ้น



โดยไม่สนใจผลกระทบของสินค้าเกษตรไทยที่ต้องแข่งขันกับสินค้าที่นำเข้าจากออสเตรเลีย หลังจากที่ไทยต้องลดภาษีนำเข้าภายใต้ TAFTA ได้แก่ หอมใหญ่ ส้ม องุ่น ข้าวโพด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมโคเนื้อโคนม เนื่องจากการเลี้ยงวัวเนื้อของไทยยังเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่อุตสาหกรรมดังกล่าวของออสเตรเลียมีความก้าวหน้ามาก โดยออสเตรเลียเป็นประเทศผู้ผลิตปศุสัตว์รายใหญ่ของโลก และเป็นประเทศส่งออกเนื้อโครายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งเป็นเนื้อวัวที่มีคุณภาพดีและราคาต่ำ สำหรับอุตสาหกรรมโคนมเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย มีศักยภาพสูงในการผลิตนมและผลิตภัณฑ์นม และส่งออกเป็นรายใหญ่ของโลก


อีกทั้งยังขัดแย้งกับนโยบายหาเสียง “โคล้านครอบครัว” ของพรรคไทยรักไทยในช่วงการเลือกตั้งปี 2548 แต่สามารถเรียกคะแนนเสียงจากเกษตรกรทั่วประเทศ หลังจากนั้นรัฐบาลได้ตั้งบริษัทส่งเสริมธุรกิจการเกษตรไทย (สธท.) หรือที่เรียกกันว่า SPV (Special Purpose Vehicle) ซึ่งเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจ ทำหน้าที่เป็นผู้จัดซื้อและแจกโคให้กับเกษตรกรเพื่อเลี้ยง โดย SPV จะรับซื้อในราคาที่กำหนดตามอายุและน้ำหนักของโคตามสายพันธุ์

ทั้งนี้รัฐบาลได้ตั้งเป้าว่าในปี 2549 จะอนุมัติงบประมาณ 5 พันล้านบาท มาจัดซื้อโค 5 แสนตัวแจกให้กับเกษตรกร 2.5 แสนครอบครัว ส่วนปี 2550 จะแจกโค 7 แสนตัวให้กับ 3.5 แสนครอบครัว และปี 2551 จะแจกโค 8 แสนตัว ให้กับ 4 แสนครอบครัว


ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หลังจากเปิดการค้าเสรี ATF ไทย-ออสเตรเลีย คือ เกษตรกรที่ทำอาชีพเลี้ยงโคอยู่แล้วต้องเลิกอาชีพนี้ไป ขณะที่เกษตรกรที่เข้าโครงการโคล้านครอบครัวจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะ SPV จะรับประกันราคารับซื้อโค แต่การที่เนื้อโคราคาถูกจากออสเตรเลียเข้ามาแข่งขัน จะทำให้ SPV ต้องรับประกันราคารับซื้อสูงกว่าราคาตลาด ทำให้ SPV ขาดทุน และผลการขาดทุนจะกลายเป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดินในที่สุด


ความตั้งใจของรัฐบาลที่ออกนโยบายโคล้านครอบครัว ซึ่งขัดแย้งกับความตกลง FTA ไทย-ออสเตรเลีย เพราะโครงการนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้พรรครัฐบาลได้รับชัยชนะท่วมท้นจากประชาชนรากหญ้า ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลนายทักษิณ สนใจเพียงคะแนนเสียง และการเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มทุนสามานย์ มากกว่าการแก้ปัญหาความยากจนของรากหญ้า เกษตรกร

ดังนั้นต้องข้อตั้งสังเกตกันเสียว่า แท้ที่จึงความรวมมือในครั้งนั้น ใครได้รับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น นายทักษิณเลือกตัดสินใจเพื่อกลุ่มทุนสามานย์ แล้วยอมนำเอาผลประโยชน์ของพี่น้องเกษตรกร รากหญ้า เป็นข้อต่อลอง แลกเปลี่ยน เพื่อผลประโยชน์อุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งมีกลุ่มทุน พวกพ้องอยู่เบื้อหลังใช่หรือไม่ ?

แน่นอนว่าการตัดสินใจแบบนั้นสร้างความเสียหายแก่ชาติและหักหลังที่น้องเกษตรกร หรือไพร่ การที่นายธนาธรจะเรียกตัวเองว่าไพร่นั้น ต้องถามว่า นายธนาธรเข้าใจความหมายของไพร่ลึกซึ้งเพียงใด