- 26 ก.ค. 2561
ดร.ไชยณรงค์ ตอบชัดสาเหตุ " เขื่อนเซเปียน - เซน้ำน้อย " ลาวแตก เป็นเพราะปัญหาด้านวิศวกรรม ชี้ทุกฝ่ายควรหาทางแก้ก่อนคิดสร้างใหม่ (คลิป)
จากกรณีเขื่อนแตกที่ประเทศลาว ล่าสุดมีการรายงานยอดผู้เสียชีวิต 26 ราย สูญหาย 131 ราย ทำให้หลายฝ่ายเฝ้าติดตามว่ามีการเสียหายอย่างไรกันบ้างและหน่วยงานในประเทศไทยมีการช่วยเหลืออย่างไร ส่วนสาเหตุที่เขื่อนแตกนั้น เป็นเพราะอะไรและอนาคตจะมีวิธีรับมืออย่างไร จะบริหารอย่างไร และเขื่อนไม่ได้มีที่ประเทศลาวอย่างเดียว ที่อื่นในหลายประเทศก้มีด้วย ซึ่งตอนนี้สามารถควบคุมเหตุการณ์เขื่อนแตกที่ประเทศลาวได้แล้ว ไม่มีน้ำออกมาจากเขื่อนเพิ่มเติม
เมื่อวานนี้นายกรัฐมนตรีทองลุน สีสุลิด แถลงการผ่านโทรทัศน์ มีผู้เสียชีวิตอยู่อย่างน้อย 26 คน และมีผู้สูญหาย 131 คน ทั้งหมดเป็นชาวลาว โดยตอนนี้ทางแขวงอัตตะปือยังต้องการน้ำดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค หมอและเรืออย่างเร่งด่วน เพื่อนน้ำมาช่วยเหลือผู้อพยพในบ้างต้น ผู้ประสบภัยได้มีการเข้าไปอยู่ในพื้นที่ ที่หน่วยงานได้จัดไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วแต่ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกที่กล่าวมา ทางด้านบริษัทที่เข้ามารับผิดช่วยสร้างเขื่อนนั้นได้บอกว่า ได้มีการประการเตือนประชาชนบริเวณนั้นก่อนที่ก่อนที่เขื่อนจะแตกแล้วพร้อมทั้งยืนยันว่าส่งทีมงานกู้ภัย พร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกเข้าไปช่วยเหลือในแล้วเบื้องต้น
บริษัทเอ็ส เค นั้นถือหุ่น อยู่ 26 % จาก 4 บริษัทที่ร่วมหุ่นกัน โดยเขื่อนมีมูลค่าการสร้าง 1200 ล้าน ดอลลาร์ ทางด้าน ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อ.ประจำคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม ได้ออกมา พูดถึงเหตุการณ์นี้ว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เขื่อนแตกนั้นเกิดจาก โดย ดร.ไชยณรงค์ ได้บอกว่าอาจมาจากวิศวกรรม ทางช่องเขื่อนที่ติดอยู่ที่ตัวเสาของเขื่อนเก็บน้ำ เพราะเขื่อนที่แตกนั้นพึ่งสร้างเสร็จไม่นาน การกักเก็บน้ำยังไม่เต็มที่ กับความจุที่ได้ออกแบบไว้ ส่วนขอมูลด้านอีไอเอ นั้น เว็บไซต์ของบริษัท ที่ทำได้ถอดออกจากเว็บไซต์ ซึ่งตอนนี้ ดร.ไชยณรงค์ กำลังหาอยู่ ถ้าหากได้ข้อมูล อีไอเอ สามารถรู้ได้เลยว่ามีการประเมินความเสียไว้อย่างไร กับกรณีเขื่อนแตก ในส่วนของภาวะฝนตกหนักนั้นไม่ใช้ปัญหาที่เขื่อนแต่ แต่ดร.ไชยณรงค์ มองว่าน่าจะเกิดจากฐานของเขื่อน ปัญหาเรื่องของการบดอัดดิน โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นตัวแกนเขื่อน เรื่องของวัสดุที่นำมาใช้ในการก่อสร้าง
ได้มารตฐารหรือไม่ หรืออาจเป็นสาเหตุทั้งหมดมารวมกัน เพราะลักษณะที่พังเป็นลักษณะของเขื่อนที่อิ่มน้ำ ลักษณธแบบนี้เป็นเรื่องของตัวโครงสร้างเขื่อนไม่แข็งแรง และการออกแบบของวิศวกรรมมีปัญหาเขื่อนเซน้ำน้อยถือเป็นความภูมิใจมากในทางวิศวกรรมของประเทศลาวเพราะมีระบบที่ซับซ้อนและมีการเจาะอุโมงลอดใต้พื้นดิน
ด้านวิธีการดำเนินงานป้องกันนั้นมี 2 ส่วน ในส่วนแรกนั้นเป็น ชุมชนต้องมีการเร่งกู้ภัย หลังจากนั้นต้องมีการฟื้นฟูอย่างด่วน และ ดร.ไชยณรงค์ คิดว่าผู้ที่ถือหุ้นในทุกภาคส่วนควรจะมีการการเข้ามาช่วยเหลือในส่วนค่าเสียหายของผู้ประสบภัยเขื่อนแตกในครั้งนี้โดยรวดเร็วและเร่งด่วน ในการสร้างเขื่อนใหม่ควรชะลอไปก่อน และอยากให้ทุกภาคส่วนทบทวนการสร้างเขื่อนใหม่
และประเมินความเสี่ยงที่จะสร้างเขื่อนให้ดีเสียก่อน