- 06 ส.ค. 2561
จากสถานการณ์น้ำในเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี มีปริมาณที่สูงจนเกือบล้นสปิลเวย์ ทางกรมชลประทานและผู้ว่าจังหวัดเพชรบุรี ได้ออกประกาศให้ 5 อำเภอ ที่อยู่ท้ายเขื่อนได้แก่ 1.อ.บ้านแหลม 2. อ.เมือง 3. อ.บ้านลาด 4. อ.แก่งกระจาน 5. อ.ท่ายาง
จากสถานการณ์น้ำในเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี มีปริมาณที่สูงจนเกือบล้นสปิลเวย์ ทางกรมชลประทานและผู้ว่าจังหวัดเพชรบุรี ได้ออกประกาศให้ 5 อำเภอ ที่อยู่ท้ายเขื่อนได้แก่ 1.อ.บ้านแหลม 2. อ.เมือง 3. อ.บ้านลาด 4. อ.แก่งกระจาน 5. อ.ท่ายาง ให้รีบขนของขึ้นที่สูง โดยวันที่ 6 ส.ค. 61 นี้ คาดว่าปริมาณน้ำจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนล้นสปิลเวย์ในเที่ยงวันนี้ เมื่อระดับน้ำถึงความจุกักเก้บ 100% ทั้งนี้เมื่อน้ำเต็มความจุ มวลน้ำกว่า 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีจะถูกตัดออกไปยังระบบคลอง 50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีด้วยเหตุนี้เอง พื้นที่ลุ่มต่ำท้ายเขื่อนทั้ง 5 อำเภอ จะเป็นจุแรกๆที่ได้รับผลกระทบ
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์น้ำท่วมติดต่อกันหลายครั้งของพื้นที่ จ.เพรชบุรี นั้นมีเหตุมาจากการบุกรุกป่าตามแนวชายแดน มีการเปิดพื้นที่ป่าสมบูรณ์ ในพื้นที่ต้นน้ำเพชรบุรี บริเวณใจแผ่นดินห้วยสามแพ่งบางกลอยบน และห้วยเต่าดำ ทำให้ฝนที่ตกลงมานั้นไม่สามารถเก็บซับน้ำไว้ได้ เมื่อฝนตกในปริมาณมากทำให้น้ำไหลลงแม่น้ำเพชร เข้าเขื่อนอย่างรวดเร็ว จนทำให้ปริมาณน้ำที่เข้าเติมเต็มอย่างเร็วกว่าปกติ เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 61 กรมอุทยานแห่งชาติได้บินสำรวจป่า พบว่ามีการบุกรุกป่าบริเวณดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ทั้งมีซากกิ่งไม้ เศษท่อนไม้ที่สะพานแขวนที่บ้านโป่งลึก บางกลอย พร้อมทั้งสีน้ำที่
ขุ่นแดง เป็นสัญญาณว่าป่าถูกทำลายเป็นระยะเวลานาน
ย้อนกลับไปเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และหน่วยทัพพะยาเสือ พล ร. 9 จ.กาญจนบุรี เข้าตรวจยึดกลุ่มผู้บุกรุกป่า แต่ไม่สามารถจับผู้กระทำผิดได้ เนื่องจากมีการหลบหนีเข้าป่าก่อนทุกครั้ง การตรวจสอบในแต่ละครั้งของเจ้าหน้าที่ต้องใช้เครื่องอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ เพราะการเดินเท้าต้องใช้เวลา อย่างต่ำไม่น้อย 7 - 10 วัน ในแต่ละแปลง และพื้นที่นจุดเขาไปตรวจนั้นมีความอัตรายเป็นอย่างมากจึงยากต่อการเข้าตรวจสอบ ฉะนั้นสาเหตุภัยพิบัติอุทกภัยที่เกิดขึ้นนี้ ต้นเหตุเกิดจากการบุกรุกป่าต้นแม่น้ำเพื่อตัดไม้เป็นสาเหตุหลัก ของปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ เมื่อทบเป็นเวลานานจึงกายเป็นเหตุการณ์ที่เกินแก้
หากย้อนกลับไปเปรียบเทียบน้ำที่กักเก็บในเขื่อน 3 ปี ก่อนนั้นจะพบว่า ในปี 2559 เขื่อนแก่งกระจาน ระดับน้ำจะไม่เกิน 400 ลูกบาศก์เมตร ปี 2560 อยู่ไม่เกิน 500 ลูกบาศก์เมตร ในปี 2561 นี้ ระดับน้ำพุ่งสูงในเขียน 700 กว่าลูกบาศก์เมตร ต่อความจุอ่าง 710 ลูกบาศก์เมตร นั้นแปลว่า อีก เพียง 10 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ที่น้ำจำล้นสปิลเวย์
จากสถานการณ์ดังกล่าว นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ ได้ประเมินว่า ปีนี้น้ำในจังหวัดเพชรบุรีจะสูงขึ้น และมากกว่าปีก่อนประมาณ 50 เซนติเมตร โดยน้ำจำท่วมสูงประมาณ 80 เซนติเมตรถึง 1 เมตร และอาจท่วมยาวนาน 1 -2 เดือน และหากมีฝนตกลงมาสมทบกับน้ำในเขื่อนแก่งกระจานอีกปริมาณน้ำจะเพิ่มขึ้น ระยะเวลาท่วมของน้ำจะหนักกว่าเดิม คล้ายปี 2546 ทั้ง จ. เพชรบุรีมีน้ำท่วม กินระยะเวลานาน
กรมชลประทานได้ทำการประเมินสถานการณ์น้ำ ที่จะระบายผ่านเขื่อนเพชร ในอัตราการระบาย ดังนี้ หากปริมาณไหลผ่านในอัตรา 50-100 ลบ.ม./วินาที จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ต.ท่าแร้ง ต.ท่าแร้งออกต.บ้านแหลม ต.บางขุนไทร กรณีระบายน้ำในอัตรา 100-150ลบ.ม./วินาที จะเข้าท่วมเพิ่มเติมพื้นที่ ต.หนองโสน ต.บ้านกุ่ม ต.บางครก อัตราการระบายน้ำปริมาณ 150-200ลบ.ม./วินาที จะเข้าท่วมเพิ่มเติมพื้นที่ ต.คลองกระแซง ต.บ้านหม้อ ต.ท่าราบ ต.ต้นมะม่วง อัตราการระบายน้ำปริมาณ 200-400 ลบ.ม./วินาที จะเข้าท่วมเพิ่มเติมพื้นที่ ต.บ้านลาด ต.ตำหรุ ต.ท่าเสน ต.ถ้ำรงค์ ต.สมอพลือ และไหลลงคลองส่งน้ำ อัตราการระบายน้ำปริมาณ 400-600 ลบ.ม./วินาที จะเข้าท่วมเพิ่มเติมพื้นที่ ต.ท่ายาง ต.ยางหย่องและถ้าอัตราการระบายน้ำปริมาณมากกว่า 600 ลบ.ม./วินาที จะเข้าท่วมเพิ่มเติมพื้นที่ ต.ท่าแลง ต.ท่าคอย และไหลเข้าคลองส่งน้ำ
รายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนวันที่ 6 ส.ค. 61 เขื่อนน้ำน้อยวิกฤต เขื่อนอุบลรัตนฺ ( 8% ) เขื่อนสิรินธร ( 13% ) เขื่อนแม่บอก ( 19 % ) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ( 20 % ) เขื่อนน้ำมากวิกฤต เขื่อนน้ำอูน ( 102 % ) เขื่อนแก่งกระจาน ( 100 %) เขื่อนศรีนครินทร์ ( 84 % ) เขื่อนวชิราลงกรณ ( 84 % )