- 07 ส.ค. 2561
จากกรณีน้ำในเขื่อนแก่งกระจานล้นสปิลเวย์ ไหลเข้าท่วม 5 อำเภอหลักในจังหวัดเพชรบุรี จนทำให้ นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ต้องออกมาเปิดเผยว่าระดับน้ำในตอนนี้นั้นล้นอาคารระบายน้ำฉุกเฉิน
จากกรณีน้ำในเขื่อนแก่งกระจานล้นสปิลเวย์ ไหลเข้าท่วม 5 อำเภอหลักในจังหวัดเพชรบุรี จนทำให้ นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ต้องออกมาเปิดเผยว่าระดับน้ำในตอนนี้นั้นล้นอาคารระบายน้ำฉุกเฉิน ทั้งนี้หากยังไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ กรมชลประทาน ได้ประเมินเบื้องต้น ถึงพื้นที่ได้รับผลกระทบได้แก่
1. อำเภอหนองหญ้าปล้อง
2. บ้านสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน
3. บ้านสาระเห็ด - บ้านท่ายาง - บ้านท่าโพรงเข้
อำเภอท่ายาง และเทศบาลเมืองเพชรบุรี จุดสุดท้ายก่อนน้ำจะเดินทางไหลลงอ่าวไทย ทั้งนี้เขื่อนใหญ่ในประเทศอย่าง เขื่อนภูมิพล , เขื่อนสิริกิติ์ , เขื่อนศรีนครินร์ ต่างมีปริมาณน้ำสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
ส่วนเขื่อนที่ปริมาณน้ำอยู่ในภาวะวิกฤต มี 3 เขื่อน
1. เขื่อนแก่งกระจานระดับน้ำอยู่ที่ 100% ของความจุ หรือ 708 ล้านลูกบาศก์เมตร
2. เขื่อนน้ำอูนระดับน้ำเพิ่มมาอยู่ที่ 102% ของความจุ หรือ 533 ล้านลูกบาศก์เมตร
3. เขื่อนศรีนครินทร์ ระดับน้ำอยู่ที่ 87 %ของความจุ หรือ 15,400 ล้านลูกบาศก์เมตร
จากข้อสรุปข้างต้น ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่าเหตุใดทั้งที่ยังไม่ถึงกลางฤดูกาลหน้าฝน แต่น้ำกลับมีปริมาณที่มาก เป็นทวีคูณ จากผลสำรวจทางสถิติย้องหลัง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2557 -2561 ซึ่งแต่ละปีปริมาณน้ำในเขื่อนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เราไปดูสถิติทั้ง 5 ปี เมื่อนำมาเทียบกัน
ปี 2561 เดือน มี.ค 46% เดือน เม.ย. 42% เดือน พ.ค. 43% เดือน มิ.ย. 50% เดือน ก.ค. 91% เดือน ส.ค. 100% เดือน ก.ย. - เดือน ต.ค. - เดือน พ.ย. -
ปี 2560 เดือน มี.ค 45% เดือน เม.ย. 42% เดือน พ.ค. 42% เดือน มิ.ย. 41% เดือน ก.ค. 46% เดือน ส.ค. 47% เดือน ก.ย. 47% เดือน ต.ค. 57% เดือน พ.ย. 63%
ปี 2559 เดือน มี.ค 36% เดือน เม.ย. 31% เดือน พ.ค. 28% เดือน มิ.ย. 27% เดือน ก.ค. 30% เดือน ส.ค. 26% เดือน ก.ย. 29 % เดือน ต.ค.42 % เดือน พ.ย.52%
ปี 2558 เดือน มี.ค 49% เดือน เม.ย. 44% เดือน พ.ค. 41% เดือน มิ.ย. 39% เดือน ก.ค. 42% เดือน ส.ค. 42% เดือน ก.ย. 46% เดือน ต.ค. 49 % เดือน พ.ย. 46%
ปี 2557 เดือน มี.ค 60% เดือน เม.ย. 48% เดือน พ.ค. 37% เดือน มิ.ย. 37% เดือน ก.ค. 45% เดือน ส.ค. 45% เดือน ก.ย. 50% เดือน ต.ค. 69% เดือน พ.ย. 65%
อีกเขื่อนที่ต้องจับตามองว่าจะมีปัญหาต่อไปเป็นเขื่อนน้ำอูน ที่อยู่ในภาคอีสาน มีปริมาณน้ำเกิน 100% โดยเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม น้ำในเขื่อนมีปริมาณ 101 % ซึ่งถือเป็นระดับน้ำที่สูงมากผิดสังเกต ในสองปีหลัง ปี 2560 มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 124 % โดยเขื่อนน้ำอูนมีปริมาณความจุน้ำอยู่ที่ 520 ล้าน ลบ.ม.
ทั้งนี้หากเทียบย้อนหลัง 10 ปี ที่ผ่านมาของระดับน้ำในเขื่อนแก่งกระจาน ตั้งแต่ปี 2551 - 2561 จะเห็นว่าระดับน้ำมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น โดย 2 ปีที่ถือว่าเขื่อนแก่งกระจานอยู่ในขั้นวิกฤติ อยู่ในปี 2552 มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 80 % และปี 2553 มีปริมาณน้ำอยู่ 69 %
เขื่อนแก่งกระจานมักเป็นอีกหนึ่งเขื่อนที่ประสบปัญหาน้ำน้อยจึงต้องกักน้ำเอาไว้ใช้ และช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ที่กำลังเข้าสู่ฤดูฝน น้ำที่เหลืออยู่จะสมทบกับน้ำฝนที่ตกใหม่ แต่ก็ยังสามารถจัดสรรค์ได้ แต่ในปี 2561 นี้น้ำในเขื่อนจะถูกกักเก็บเอาไว้มากตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนปี 2560 จนทำให้เขื่อนแก่งกระจานกักเก็บน้ำมากกว่าปกติถึง 10% ทั้งในวันที่น้ำฝนเพิ่มขึ้นเป็นช่วงที่พายุฤดูร้อน เซินติญ เข้าไทย จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งในการเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนแก่งกระจาน ซึ่งเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมาระหว่างวันที่ 19 - 20 กรกฎาคม ปริมาณน้ำในเขื่อนมีปริมาณอยู่ที่ 60 % แต่ในวันที่ 20 กรกฎาคม มีปริมาณน้ำเพิ่มเป็น 82 % เพิ่มขึ้นถึง 22 % ในวันเดียว
จากคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ระบุว่ายังเหลืออีก 87 วัน จึงจะหมดฤดูฝน และภาวะน้ำเต็มเขื่อนนั้นถือเป็นภาวะวิกฤติอย่างยิ่ง เพราะระยะเวลา 87 วันนั้นถือว่ายังเป็นระยะเวลาที่มากพอสมควร เพราะยังเหลืออีก 3 เดือน จึงจะหมดฤดูฝน หากวัดค่าปริมาณน้ำ จาก 4 เขื่อนใหญ่ เขื่อนวชิรลงกรณ มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 84 % เขื่อนศรีนครินทร์
มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 86 % เขื่อนแก่งกระจานปริมาณน้ำ อยู่ที่ 97 % เขื่อนน้ำอูน มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 101 % ซึ่งถือว่าเป็นที่น่าจับตามองว่าอีก 3 เดือนข้างหน้า ต่อจากนี้ภาครัฐพร้อมฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะจัดการกับปัญหาน้ำฝนเช่นไร