- 12 ส.ค. 2561
งานวันแม่นั้นเป็นสิ่งที่ชาวไทยต่างจัดขึ้นเพื่อทดแทนพระคุณของแม่ และยังถือเป็นการ เคารพใน สมเด็จพระราชินีในร.9 น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย
งานวันแม่นั้นเป็นสิ่งที่ชาวไทยต่างจัดขึ้นเพื่อทดแทนพระคุณของแม่ และยังถือเป็นการ เคารพใน สมเด็จพระราชินีในร.9 น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย อย่างหาที่สุดมิได้ และกว่าจะมาเป็นวันที่ 12 สิงหาคม ได้นั้น ต้องผ่านอะไรมาก่อน เดิมทีนั้นวันแม่ไม่ได้จัดวันที่ 12 สิงหาคม อย่างที่หลายคนคิด
โดยงานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีกแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมาเนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ
ในส่วนสัญลักษณ์วันแม่ ของไทยนั้นเป็นดอกมะลิ ซึ่งหลายคนนิยมนำดอกมะลิ หรือพวงมาลัยสีขาวบริสุทธิ์ ไปกราบไหว้ขอพรจากคุณแม่ การกระทำนี้เพื่อระลึกถึงพระคุณของแม่ ที่คอยเลี้ยงดูเมื่อครั้งยังเป็นเด็กทารกนั้นเอง และที่ใช้ดอกมะลิเนื่องจากดอกมะลิ มีความขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไม่เสื่อม ซ้ำดอกยังออกตลอดปี จึงใช้แทนความหมายความรักของแม่ที่มีให้ลูก ไม่เคยเสื่อมคลายแม้ลูกจะเจริญเติบโต
ขึ้นมากเพียงใด
ทั้งนี้วันที่ 12 สิงหาคม ไม่ได้ถือเป็นวันแม่สากล ซึ่งส่วนใหญ่หลายคนนั้นเข้าใจผิดว่า วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่สากลร่วมด้วย ส่วนวันแม่สากลจริงๆ นั้นถือเอาวันที่ 2 พฤษภาคม โดยได้รับอิทธิพลมาจากสหรัฐอเมริกา และถือเป็นวันหยุดอีกวันหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ซึ่งในแต่ละประเทศจะมีดอกไม้ประจำวันแม่ที่แตกต่างกันออกไปด้วย เราดูกันว่าแต่ละประเทศนั้นใช้ดอกอะไรในวันแม่
ประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นมีดอกคาร์เนชันเป็นดอกไม้วันแม่ ซึ่งสื่อถึงความหมายของความบริสุทธิ์ อ่อนหวานและอดทน เหมือนดั่งความรักของแม่ที่เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์และอ่อนหวาน ทั้งยังมีความอดทนเลี้ยงลูกมาจนเติบใหญ่ นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นก็นิยมประดิษฐ์ผ้าพันคอ ผ้าเช็ดหน้าหรือหมวกเพื่อมอบให้กับแม่ในวันแม่
ประเทศออสเตรเลีย
ประเทศออสเตรเลียมีดอกเบญจมาศเป็นดอกไม้วันแม่ เพราะดอกไม้ชนิดนี้จะออกดอกอย่างสวยสะพรั่งในเดือน 5 ของทุกปี ซึ่งตรงกับช่วงวันแม่พอดี และด้วยชื่อภาษาอังกฤษของดอกเบญจมาศ (Chrysanthemum) ที่พ้องเสียงกับคำว่าแม่ (mum) จึงมีการนำมาใช้เป็นดอกไม้ประจำวันแม่จนเท่าทุกวันนี้ และนอกจากการมอบดอกเบญจมาศให้กับแม่แล้ว ชายหนุ่มชาวออสเตรเลียก็นิยมติดดอกเบญจมาศไว้ที่ปกเสื้อเพื่อแสดงความเป็นเกียรติแก่แม่ของพวก
ประเทศเนเธอร์แลนด์
ประเทศเนเธอร์แลนด์มีดอกทิวลิปเป็นดอกไม้ประจำวันแม่ เพราะมีความงดงามและให้ความรู้สึกที่นุ่มนวล แถมยังให้ความหมายถึงการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ดังนั้นนอกจากจะใช้มอบให้กับแม่ในวันแม่แล้ว
ก็นิยมนำมาใช้เป็นของขวัญให้กับแม่มือใหม่
ประเทศแคนาดา
ประเทศแคนาดามีดอกกุหลาบเป็นดอกไม้ประจำวันแม่ เพราะเป็นดอกที่เป็นตัวแทนของความรักและเป็นสัญลักษณ์ของพระนางมารีอา โดยนอกจากดอกกุหลาบจะนิยมให้มอบให้กับแม่ในวันแม่แล้วก็นิยมมอบให้กับคุณยายและผู้หญิงที่สำคัญของครอบครัว ประเทศจีน สำหรับประเทศจีนจะถือเอาวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่ ไม่ว่าจะตรงกับวันที่เท่าไหร่ก็ตามโดยดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์วันแม่ของประเทศจีนก็คือดอกลิลลี่ เหตุผลก็เพราะว่าชาวจีนเชื่อว่าดอกลิลลี่เป็นดอกไม้ลืมทุกข์ และในอดีตแม่ชาวจีนได้ปลูกดอกลิลลี่เพื่แสดงความโศกเศร้าเมื่อลูกต้องออกจากบ้านไปไกล ไม่ว่าจะเป็นเพราะการไปทำงาน ไปเป็นทหาร ออกเรือนแต่งงานหรือการออกไปสอบจอหงวนก็ตาม ดังนั้นการให้ดอกลิลลี่จึงเหมือนการให้แม่ได้พ้นจากความโศกเศร้า และมีแต่ความสุขเข้ามาในชีวิต
ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงวันแม่มาเป็นจำนวนหลายครั้ง จนมาหยุดเป็นวันที่ 12 สิงหาคม จนถึงทุกวันนี้ เพราะด้วยความเคารพใน สมเด็จพระราชินีในร.9 และจงดีภักดีในสถาบันพระพระมหากษัตริย์ เห็นความสำคัญ จนได้ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่ที่แน่นอนของทุกปีอย่างที่เป็นมาจนถึงปัจจุบัน
อ้างอิง : fiftt