- 17 ส.ค. 2561
"สุเทพ"เปิดหลักฐานเด็ด เอกสาร 3 ฉบับ สะเทือน 3ผบ.ตร. ปมโรงพักทดแทน ซัดตั้งข้อหามีอคติ
จากกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ตั้งขอกล่าวหา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในสมัยที่เป็นรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการอนุมัติโครงการก่อสร้างแฟลตที่พักข้าราชการตำรวจ 163 แห่งทั่วประเทศ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) และกรณีกล่าวหาร่วมกับพวกทุจริตโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจ หรือโรงพักทดแทน 396 แห่ง
ล่าสุดทางด้าน นายสุเทพ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) ได้ไลฟ์สดผ่านเพจเฟซบุ๊ก "Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ)" ชี้แจงกรณีดังกล่าว เป็นเวลาประมาณ20นาที มีเนื้อหาทั้งหมด ดังนี้
ตนจะได้นำหลักฐานข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการที่ตนได้พิจารณาสั่งการความเห็นชอบหรืออนุมัติในเรื่องการจัดจ้างโครงการสถานีตำรวจทดแทน 396แห่ง มาแสดงให้พี่น้องประชาชนได้ทราบ อันที่จริงพี่น้องครับ เมื่อทางคณะกรรมการป.ป.ช.ได้ทำบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาต่อตน เมื่อวันที่14พ.ย.2558 ตนก็ได้ให้ความร่วมมือกับป.ป.ช.โดยได้ร่วมรวบหลักฐานเอกสารต่างๆเย็บเป็นเล่ม ตอนนั้นตนยังเป็นพระภิกษุอยู่วัดสวนโมก ตนได้รวบรวมเอกสารข้อเท็จจริงทุกอย่างทุกประการครบถ้วน 94 หน้า ได้นำไปยื่นให้กับคณะอนุกรรมการไต่สวนของป.ป.ช. ซึ่งตนเชื่อว่าถ้าอนุกรรมการไม่มีอคติได้พิจารณาหลักฐานข้อเท็จจริงต่างๆ ก็จะไม่เป็นเรื่องยากเลยที่จะพิจารณาวินิจฉัยกรณีนี้ และไม่ต้องเวลาตั้งหลายปี
แต่เมื่อล่วงเลยมาถึงวันนี้ ตนก็จนเป็นที่จะต้องเอาเอกสารมาแสดงพี่น้องประชาชนได้เห็นประจักษ์ว่า ตนได้ใช้ดุลพินิจพิจารณาด้วยเหตุด้วยผล ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้องอย่างไร การสั่งการของผม ในเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้างงานก่อสร้างโครงการสถานีตำรวจทดแทน 396แห่ง ตนได้ตัดสินใจให้ความเห็นชอบหรือให้อนุมัติไปตามหลักฐานข้อเสนอของทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องนี้ตนลงนามในเอกสารสำคัญๆ 3 ฉบับด้วยกัน โดยข้อเสนอของผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 3ท่าน ต่างยุคต่างสมัย
ฉบับแรกเป็นหนังสือลงวันที่29 พฤษภาคม 2552สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยพลตำรวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณ ทำบันทึกเสนอถึงตนเพื่อขอให้ความเห็นชอบแนวทางในการจัดจ้างโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจดังกล่าวนี้ในข้อเสนอของสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามหนังสือฉบับนี้ได้ท้าวความถึงเรื่องเดิมว่ามีความเป็นมาอย่างไรและมีข้อเท็จจริงอย่างไรระบุไว้ด้วยว่า สำนักงบประมาณมีความเห็นให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการในส่วนที่จำเป็นเด้งด่วนคือสร้างสถานีตำรวจที่มีสภาพชำรุดสุดโทรมอายุใช้งานมากกว่า 30 ปีขึ้นไปจำนวน 396 แห่งประกอบด้วยอะไรบ้างและได้บอกถึงว่าวิธีการใช้งบประมาณจะทำอย่างไรโดยให้ตั้งงบประมาณปี 2552 จากงบของกรมตำรวจเอง ใช้กรในปีแรก 333,000,000 ส่วนงบประมาณที่เหลือผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 และ 2554และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปตกลงรายละเอียดค่าใช้จ่ายกับสำนักงบประมาณอีกครั้งหนึ่งทั้งจะต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ก่อหนี้ผูกพันสามปีงบประมาณ
พูดให้ชัดว่าสำนักงบประมาณมีความเห็นอย่างไรเมื่อคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการนี้ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปดำเนินการทางด้าน พลตำรวจเอกพัชรวาทได้รายงานมาในหนังสือฉบับนี้ว่าได้ไปดำเนินการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาว่าด้วยการจัดจ้างว่าจะจ้างโดยวิธีไหนโดยได้บอกมาว่าคณะกรรมการได้พิจารณาแนวทางในการจัดจ้าง4วิธีด้วยกัน
วิธีที่หนึ่ง จัดจ้างโดยส่วนกลางสำนักงานตำรวจแห่งชาติรวมการในครั้งเดียวสัญญาเดียวทั้ง 396 หลัง
วิธีที่สอง จัดจ้างโดยส่วนกลางโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติแบบรวมกันในครั้งเดียวโดยแยกการเสนอราคาเป็นรายภาค ภาค1-9 ทำสัญญา 9 สัญญา
วิธีที่สาม จัดจ้างโดยตำรวจภูธรภาค
และวิธีที่สี่ จัดจ้างโดยตำรวจภูธรจังหวัด
ทั้งนี้ยังบอกได้ว่าคณะกรรมการต้องมีพลตำรวจโทพงศพัศ พงษ์เจริญ. เป็นประธานได้ประชุมการพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรที่จะจัดจ้างโดยกรมสำนักงานตำรวจแห่งชาติรวมกันครั้งเดียวและแยกเสนอราคาเป็นรายภาคทำสัญญา9 สัญญา บอกข้อดีมาเป็นที่เรียบร้อยว่าถ้าทำวิธีนี้ก็จะสามารถที่จะดำเนินการได้รวดเร็วสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะได้รับอาคารไว้ใช้ในราชการในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันทุกจังหวัดในการประกวดราคาเพียงครั้งเดียวแล้วจะให้แต่ละภาคช่วยประกาศเชิญชวนผู้รับจ้างในพื้นที่ให้เข้าร่วมประกวดราคา
ตนมองดูเหตุผลที่เขาเสนอมาชอบด้วยเหตุผลเพราะว่าได้ดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนมีการตั้งกรรมการมีการพิจารณาระดับคณะกรรมการและเสนอต่อผบ.ตร. คือพลตำรวจเอกพัชรวาท เมื่อเขาเสนอมาให้ตนพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือจะเห็นให้สมควรประการใดได้โปรดสั่งการ คนได้ดำเนินการให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552
ที่เป็นการลงนามทั้งแรกในการจัดจ้างโครงการสร้างสถานีตำรวจทดแทน ในสมัยที่พลตำรวจเอกพัชรวาท. เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่หลังจากนั้นไม่นานพลตำรวจเอกพัชรวาทก็ต้องออกจากตำแหน่งและก็มีพลตำรวจเอกปทีป ตันประเสริฐ มาทำหน้าที่เป็นรักษาการผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติพลตำรวจเอกประทีปก็ได้ทำหนังสือลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552 เสนอขออนุมัติหลักการในการดำเนินการประกวดราคาจัดจ้างโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจทดแทนโครงการนี้ และโครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจ
พลตำรวจเอกปทีปได้ให้เหตุผลในหนังสือฉบับนี้ว่าการที่จะจัดจ้างโครงการนี้ ต้องพิจารณาว่าโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในลักษณะเป็นโครงการเดียวแล้วต้องผูกพันงบประมาณแผ่นดินสามปีดังนั้นจำเป็นที่จะต้องประกวดราคาจ้างโดยทำสัญญาจ้างเพียงสัญญาเดียวจึงจะถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ แล้วก็ได้แสดงเอกสารหลักฐานประกอบการตั้งงบประมาณเป็นอย่างไรแต่ละปี
ปีแรกเอางบสำนักงานตำรวจเอง ปรับแผนเอามาใช้ก่อน 311ล้าน ในปี 2552 ส่วนปี2553 ผูกพันงบประมาณ1174ล้าน และ ผูกพันงบประมาณปี 2554 อีก 4,812,ล้าน มันได้พิจารณาในรายละเอียดที่ได้แสดงมาในหนังสือฉบับนี้ว่าได้ตั้งคณะกรรมการมาตรวจสอบข้อกฎหมายวิธีการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายรายงานมาเรียบร้อยและบอกให้เห็นว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุก็ดี พระราชบัญญัติว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐก็ดี มีรายละเอียดอย่างไรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยสรุปว่าในหนังสือของสำนักงานตำรวจแห่งชาติฉบับนี้พลตำรวจเอกประทีปเสนอ
นายสุเทพ กล่าวอีกว่า เมื่อพลตำรวจเอกปทีป เสนอว่าโครงการที่ครม.อนุมัติในลักษณะเป็นโครงการเดียว ไม่สามารถแตกเป็นโครงการย่อย 9 โครงการ หรือทำสัญญาจ้าง 9 สัญญาได้ เพราะจะขัดกับวิธีการงบประมาณ ประกอบกับเคยรู้ว่าถ้าสำนักงบประมาณได้บรรจุไว้ในพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี จะไม่มีการนำโครงการแตกเป็นโครงการย่อยๆ หลายสัญญาได้ ดังนั้น ข้อเสนอของ พลตำรวจเอกปทีป ชอบด้วยเหตุผลจึงอนุมัติตาม สตช.เสนอ
นายสุเทพ กล่าวด้วยว่า การลงนามตามข้อเสนอของทั้ง พลตำรวจเอกพัชรวาท หรือ พลตำรวจเอกปทีป เพราะคิดว่านี่คืออำนาจของหัวหน้าหน่วยงาน คือ ผบ.ตร.ประกอบทุกอย่างมีขั้นตอน และบุคคลเหล่านี้รู้ระเบียบและกฎหมายวิธีการจัดซื้อจัดจ้างเป็นอย่างดี จึงได้อนุมัติไป แต่เมื่อมาขอแก้ไข เพราะไม่สามารถแตกเป็นโครงการย่อยได้ เพราะขัดกับวิธีการงบประมาณ ตนก็ไม่ได้ดื้อดึงดัน และอนุมัติยกเลิกจัดจ้างแบบเดิมมาใช้วิธีการจัดจ้างแบใหม่ ไม่มีอะไรซับซ้อน จะมาบอกว่าการตัดสินใจ 2 ครั้งของตน เพราะมีเจตนาพิเศษหวังจะช่วยผู้รับเหมาคนใดคนหนึ่ง รายใด รายหนึ่ง ให้ได้รับงานไป แล้วเป็นเหตุให้ก่อสร้างไม่สำเร็จ แบบนี้ คิดว่าเป็นการตั้งข้อหาที่มีอคติ เพราะในวันที่อนุมัติตนไม่มีโอกาสที่จะทำนายได้ล่วงหน้าว่าผู้ประกอบการรายใดจะเป็นผู้ชนะการประกวดราคา
นายสุเทพ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อจัดจ้างตามระเบียบของสำนักนายกว่าด้วยการพัสดุ ว่าด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ครบถ้วนสมบูรณ์พลตำรวจเอกปทีป พ้นจากตำแหน่ง และพลตำรวจเอก.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี กลายเป็นผบ.ตร.คนใหม่ ก็ได้ทำหนังสือถึงตน เมื่อวันที่ 1 ต.ค.2553 ว่าขอรับความเห็นชอบราคาและขออนุมัติจ้างก่อสร้าง โดยระบุชัดว่า เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2553 เคาะราคาแข่งกัน 73 ครั้ง ผู้เสนอราคาต่ำสุด เสนอราคา 5,848 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 540 ล้านบาท
นอกจากนี้ ในหนังสือของ พลตำรวจเอกวิเชียร ยังอ้างถึงหนังสือกรมบัญชีกลางและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ที่แก้ไขเพิ่มเติม บอกว่าเป็นอำนาจที่ตนจะต้องให้ความเห็นชอบตามนี้ ตนจึงได้ให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2553 จากนั้นก็เริ่มก่อสร้าง แต่ปรากฏว่าทำไม่แล้วเสร็จตามสัญญาในสมัยรัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีการอนุมัติให้ขยายเวลาตามสัญญาออกไปอีก 3 ครั้ง ที่สุดเขาก็บอกเลิกสัญญา ทำให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นำประเด็นนี้มากล่าวหาตนว่าที่ก่อสร้างไม่เสร็จ เพราะตนไปเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง