จริงหรือไม่"อังกาบหนู"ปลอดภัยแน่แก้ป่วยมะเร็ง ผอ.แพทย์แผนไทย-อ.เจษฎ์เตือนมีข้อระวัง

จริงหรือไม่"อังกาบหนู"ปลอดภัยแน่แก้ป่วยมะเร็ง ผอ.แพทย์แผนไทย-อ.เจษฎ์เตือนมีข้อระวัง

จากกรณี กระแสในโลกโซเชียล ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อ้างถึงสรรพคุณของ "ใบอังกาบหนู" ว่าสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ และหายมาแล้วกว่า 10 รายนั้น โดยก่อนหน้านั้นพบว่าที่วัดโบสถ์ ต.เมืองบางขลัง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ได้มีชาวบ้านจากหลายจังหวัดเดินทางมาขอเก็บใบและต้นอ่อนของต้นอังกาบหนูกลับไป เพื่อหวังว่าจะช่วยบรรเทาโรคมะเร็งที่ญาติกำลังรักษาอยู่ให้หายได้ จนต้นอังกาบหนูที่มีกว่า 10 ต้นเหลือแต่ตอเท่านั้น ตามที่ได้มีการนำเสนอข่าวไปก่อนหน้านั้น

 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข อธิบายว่า อังกาบหนู เป็นพืชสมุนไพร มีฤทธิ์เย็น ปลูกกระจายอยู่ทุกภูมิภาค ทั่วประเทศไทย ตามหลักแพทย์แผนไทย มีสรรพคุณ ช่วยลดไข้ รักษาแผลอักเสบ ส่วนกรณีที่มีชาวบ้าน นำใบอังกาบหนูมาต้มน้ำดื่ม เพราะเชื่อว่ารักษามะเร็งหายนั้น ปัจจุบัน ยังไม่มีงานวิจัยรองรับ ว่าอังกาบหนูสามารถรักษามะเร็งได้จริง

 

จริงหรือไม่\"อังกาบหนู\"ปลอดภัยแน่แก้ป่วยมะเร็ง ผอ.แพทย์แผนไทย-อ.เจษฎ์เตือนมีข้อระวัง

 

จริงหรือไม่\"อังกาบหนู\"ปลอดภัยแน่แก้ป่วยมะเร็ง ผอ.แพทย์แผนไทย-อ.เจษฎ์เตือนมีข้อระวัง

 

อย่างไรก็ตาม การนำสมุนไพรมาปรุงเป็นยาแผนไทยรักษาโรค ตามหลักจะใช้สมุนไพรหลายชนิด มาผสมเป็นตำรับยา แต่การที่ผู้ป่วย ใช้แค่ใบอังกาบหนูชนิดเดียว มาต้มน้ำดื่ม ทำให้สารเคมีในใบอังกาบหนูเป็นพิษ เกิดฤทธิ์เมาเบื่อ ในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ มีอาการมึนศีรษะ วิงเวียน เบื่ออาหาร เหมือนโดนยาพิษ โดยพิษที่เกิดขึ้น มีผลต่อการทำลายเซลล์มะเร็ง แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำร้ายเซลล์ร่างกายด้วย ซึ่งงานวิจัยของประเทศอินเดีย เคยใช้อังกาบหนู ทดลองในหนูเพศผู้ ติดต่อกันนาน 60 วัน พบว่า สารสกัดจากอังกาบหนู มีฤทธิ์รบกวนการสร้างสเปิร์ม ลดจำนวนสเปิร์ม และทำให้การเคลื่อนไหวของสเปิร์มลดลง มีผลต่อการสร้างสเปิร์ม 

 

จริงหรือไม่\"อังกาบหนู\"ปลอดภัยแน่แก้ป่วยมะเร็ง ผอ.แพทย์แผนไทย-อ.เจษฎ์เตือนมีข้อระวัง

 

จริงหรือไม่\"อังกาบหนู\"ปลอดภัยแน่แก้ป่วยมะเร็ง ผอ.แพทย์แผนไทย-อ.เจษฎ์เตือนมีข้อระวัง

 

หากประชาชนที่ต้องการใช้ อังกาบหนูรักษาโรค ควรเริ่มจากการดื่มในปริมาณน้อย ๆ 1 แก้วต่อวัน ติดต่อกันระยะ 7 – 10 วัน แล้วหยุดพัก 1 สัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายได้พักฟื้นจากการใช้ยาสมุนไพรด้วย


ขณะที่ทางด้าน เจษฏา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้โพสต์ข้อมูลแดสงความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวผ่านทางเฟซบุ๊ก "Jessada Denduangboripant" ด้วยว่า "เตือนสมุนไพร อังกาบหนู ไม่ได้มีผลวิจัยว่ารักษามะเร็ง ได้แถมเป็นพิษด้วย"

 

จริงหรือไม่\"อังกาบหนู\"ปลอดภัยแน่แก้ป่วยมะเร็ง ผอ.แพทย์แผนไทย-อ.เจษฎ์เตือนมีข้อระวัง

 

กระแสแห่กินสมุนไพร มาใหม่อีกตัวแล้วครับ ... คราวนี้ชื่อว่า "อังกาบหนู" อ้างว่าสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ โดยเริ่มจากเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ ต.เมืองบางขลัง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เอามาเผยแพร่ พร้อมเรื่องเล่าว่าได้สูตรมาจากความฝัน แล้วมีคนเอาไปใช้ตามจนหายจากมะเร็งได้ ทำเอาญาติโยมแห่แหนกันไปเก็บใบต้นอังกาบหนูที่วัดกันจนเกลี้ยงเลย .... แต่จริง ๆ แล้ว ไม่เคยมีผลการวิจัยเลยว่าอังกาบหนูจะรักษามะเร็งได้นะ แถมมีความเป็นพิษด้วย ระวังอันตรายครับ

 

จริงหรือไม่\"อังกาบหนู\"ปลอดภัยแน่แก้ป่วยมะเร็ง ผอ.แพทย์แผนไทย-อ.เจษฎ์เตือนมีข้อระวัง

 

เรื่องนึ้จึงสรุปได้ว่า อังกาบหนู เป็นอีกหนึ่งพืชสมุนไพรที่ไม่มีหลักฐานว่าใช้รักษามะเร็งได้จริง แถมจะเป็นอันตรายด้วย ถ้ากินมาก ๆ หรือกินต่อเนื่อง ... ใครที่จะกิน ก็ขอให้แค่กินเสริมกับการรักษามะเร็งทางแพทย์แผนปัจจุบัน ห้ามทิ้งการรักษาไปหาแห่กินกันครับ

 

จริงหรือไม่\"อังกาบหนู\"ปลอดภัยแน่แก้ป่วยมะเร็ง ผอ.แพทย์แผนไทย-อ.เจษฎ์เตือนมีข้อระวัง

 

ทั้งนี้ “อังกาบหนู” สรรพคุณตามตำรายาไทย -ราก ใช้แก้ ไข้ -เปลือก ขับเสมหะ ขับเหงื่อ -ใบ แก้ปวดฟัน แก้กลากเกลื้อน ป้องกันส้นเท้าแตก แก้หูอักเสบ -ต้น รักษาไขข้ออักเสบ รักษากลากเกลื้อน แก้อาการบวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ สำหรับการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการต้านมะเร็ง ขณะนี้ยังไม่มีงานวิจัย นอกจากนี้ วารสาร J Ethnopharmacol 2000;70:111-17 ยังระบุ อีกว่า “รากอังกาบหนู” ฤทธิ์คุมกำเนิดของสารสกัด

 

เมื่อทดลองให้สารสกัดรากอังกาบหนู (Barleria prionitis L.) แก่หนูขาวเพศผู้ในขนาด 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันนาน 60 วัน ให้ผลคุมกำเนิดได้ 100% ผลนี้เกิดจากฤทธิ์ของสารสกัดในการรบกวนการสร้างสเปิร์ม ลดจำนวนสเปิร์ม และทำให้การเคลื่อนที่ของสเปิร์มลดลง สารสกัดมีผลลดน้ำหนัก testis รวมทั้งมีผลลดปริมาณโปรตีน กรดเซียลิก (sialic acid) และกลัยโคเจนใน testis ซึ่งส่งผลให้การสร้างสเปิร์มโครงสร้างและหน้าที่ของสเปิร์มผิดปกติไป

 

ขอบคุณ : Jessada Denduangboripant