รู้จักสัตว์เศรษฐกิจตัวต่อไป "ปลารากกล้วย" เพาะพันธ์สำเร็จราคากิโลละ ครึ่งพัน

 จากกระแสการนิยมบริโภคปลารากกล้วยในปัจจุบันส่งผลให้ปลารากกล้วยที่อยู่ในระบบนิเวศแม่น้ำวัง ลดน้อยลง เสี่ยงต่อการสูญพันธ์ เพราะเป็นปลาที่ค่อนข้างอ่อนไหวต่อสภาพสิ่งแวดล้อม ปลารากกล้วยถือเป็นปลาประจำจังหวัดลำปาง ซึ่งเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2561 นายสมโภชน์  เต็มเปี่ยน

 

     จากกระแสการนิยมบริโภคปลารากกล้วยในปัจจุบันส่งผลให้ปลารากกล้วยที่อยู่ในระบบนิเวศแม่น้ำวัง ลดน้อยลง เสี่ยงต่อการสูญพันธ์ เพราะเป็นปลาที่ค่อนข้างอ่อนไหวต่อสภาพสิ่งแวดล้อม ปลารากกล้วยถือเป็นปลาประจำจังหวัดลำปาง ซึ่งเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2561 นายสมโภชน์  เต็มเปี่ยน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด และนายประโยชน์ บุญเสริญ ประมงจังหวัดลำปาง ได้ออกมารณรงค์ให้ช่วยดูแลในกระบวนการเพาะพันธุ์ปลารากกล้วยให้มีจำนวนมากขึ้นเพียงพอต่อการบริโภค เพราะอัตราการเกิดใหม่ของจำนวนลูกปลารากกล้วยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด จนจัดเป็นสัตว์น้ำหายากและใกล้สูญพันธ์ในปี 2561 

 

      ทั้งนี้ได้มีการจัดทำโครงการปลารากกล้วยคืนถิ่น ศึกษาเพาะพันธุ์ การอนุบาล และการเลี้ยงเพื่ออนุรักษ์ปลารากกล้วยไม่ให้หายไปจากถิ่นเดิม ผ่านกระบวนการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเพศมาทำการเพาะพันธุ์  ฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์เพื่อกระตุ้นให้ปลารากกล้วยมีการวางไข่ ในบ่ออนุบาลถังไฟเบอร์กลาสและบ่อซีเมนต์ 


       ล่าสุดวันที่ 22 ส.ค. 2561 นายอดิศร พร้อมธรรม อธิบดีกรมประมง ได้ออกมาเปิดเผยผลการเพาะพันธุ์ปลารากกล้วยได้สำเร็จครั้งแรกของประเทศไทย โดยศูนย์วิจัยและการพัฒนาประมงน้ำจืดลำปาง พร้อมทั้งเตรียมขยายพันธุ์ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำจืดธรรมชาติต่อไป ความสำเร็จครั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งในนโยบายของโครงการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำประจำถิ่น และสัตว์น้ำหายากใกล้สูญพันธ์ เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำตามแหล่งธรรมชาติ ให้คงความหลากหลากอยู่ดังเดิมไม่ลดลง ซึ่งการทดลองนำพันธุ์ปลารากกล้วยจินดา มาเพาะพันธุ์ใช้เวลาเพียง 6 เดือน เท่านั้นก็สามารถเพาะพันธุ์ได้สำเร็จ 

 

รู้จักสัตว์เศรษฐกิจตัวต่อไป \"ปลารากกล้วย\" เพาะพันธ์สำเร็จราคากิโลละ ครึ่งพัน


 

 

 

       ด้านนายอรรถพล โลกิตสถาพร  ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดลำปาง ซึ่งถือเป็นผู้เพาะพันธุ์ ปลารากกล้วย ได้เปิดเผยขั้นตอนในกระบวนการดำเนินการเพาะพันธุ์ปลารากกล้วยจินดาในธรรมชาติ มีการรวบรวมปลารากกล้วยจินดาตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2561 เป็นครั้งแรกในพื้นที่ลำห้วยสาขาต้นน้ำวัง อำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม และอำเภอวังเหนือของลำปาง ซึ่งได้มา 77 ตัว และนำมาเลี้ยงไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน จนมั่นใจว่าปลามีความสมบูรณ์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย จึงได้จับไปทดลองครั้งแรก 40 ตัว และต่อเนื่องอีก 3 ครั้ง จนได้ปลารากกล้วยที่มีอัตรารอดและได้ลูกพันธุ์รวมครั้งแรก จำนวน 5,500 ตัว ซึ่งถือเป็นเรื่องน่ายินดีและประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะยังไม่มีใครสามารถเพาะพันธุ์ปลารากกล้วยได้ 

 

รู้จักสัตว์เศรษฐกิจตัวต่อไป \"ปลารากกล้วย\" เพาะพันธ์สำเร็จราคากิโลละ ครึ่งพัน

 
     ทั้งนี้ในเดือนกันยายน จะร่วมกับประชาชนในพื้นที่เพื่อรวบรวมลูกพันธุ์ปลารากกล้วยนำไปปล่อยลงสู่แหล่งน้ำจืดธรรมชาติต่อไป เพื่อประชากรปลารากกล้วยจะได้เพิ่มจำนวนขึ้นจากเดิม พร้อมกับเร่งผลักดันให้ปลารากกล้วยเป็นอีกหนึ่งสัตว์น้ำเศรษฐกิจประจำถิ่น จังหวัดลำปาง เนื่องจากราคาตลาดที่สูงแตะ 300 - 400 บาท / กิโลกกรัม ในอนาคตหากสามารถเพาะพันธุ์ปลารากกล้วยได้ในวงกว้าง อาจส่งต่อไปเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจส่งจำหน่ายในต่างประเทศ

 

รู้จักสัตว์เศรษฐกิจตัวต่อไป \"ปลารากกล้วย\" เพาะพันธ์สำเร็จราคากิโลละ ครึ่งพัน

 

 

 

        โดยปลารากกล้วยจินดา หรือ รากกล้วยแม่ปิง หรือ ซ่อนทราย เป็นปลาที่มีลักษณะรูปร่างเพรียวยาว ประมาณ 10-15 เซนติเมตร ลำตัวค่อนข้างกลม มีจะงอยปากยาวแหลม มีหนวดสั้นๆ 3 คู่ มีหนามแหลมอยู่ใต้ตา ตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ผิวหนังเรียบและมีเมือกคลุม ส่วนหัวด้านบน และลำตัวมีจุดสีดำขนาดใหญ่ ซึ่งต่างจากปลารากกล้วยชนิดอื่นที่มีหน้ายาวและจุดขนาดเล็กกว่า มีจำนวนครีบหลัง 10 ก้าน ครีบหางเว้าตื้นและมีแต้มดำ ชอบอาศัยอยู่ในแม่น้ำบริเวณพื้นท้องน้ำที่เป็นทราย โดยเฉพาะพบบริเวณแถบลุ่มน้ำโขง และลุ่มน้ำเจ้าพระยา

 

      ปัจจุบันนิยมนำปลารากกล้วยมาขายเป็นเมนูขึ้นโต๊ะประจำร้านอาหารมากมาย เช่น ปลารากกล้วยทอด หรือ ปลารากกล้วยแดดเดียว เนื่องจากเป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย ประชาชนจึงนิยมรับประทานมาก จึงทำให้เป็นสาเหตุหลักที่ประชากรปลารากกล้วยในแหล่งน้ำธรรมชาติสูญพันธุ์ลงเรื่อยๆ

 

รู้จักสัตว์เศรษฐกิจตัวต่อไป \"ปลารากกล้วย\" เพาะพันธ์สำเร็จราคากิโลละ ครึ่งพัน