ตีแผ่การปราบทุจริตในจีน เชือดให้ดู "ฟ่าน ปิงปิง" หมดอนาคต มองย้อนประเทศไทยกับโทษ "คอร์รัปชั่น"

ที่ผ่านมานั้นปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเทศจีนเคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความยากจน ล้าหลังประเทศในแถบตะวันตกในทุกๆ ด้าน เป็นเหตุให้นานาประเทศต่างปรามาสถึงระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมหรือการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ของประเทศโลกที่สองในอดีต

  ตีแผ่การปราบทุจริตในจีน เชือดให้ดู \"ฟ่าน ปิงปิง\" หมดอนาคต มองย้อนประเทศไทยกับโทษ \"คอร์รัปชั่น\"  

 

    ที่ผ่านมานั้นปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเทศจีนเคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความยากจน ล้าหลังประเทศในแถบตะวันตกในทุกๆ ด้าน เป็นเหตุให้นานาประเทศต่างปรามาสถึงระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมหรือการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ของประเทศโลกที่สองในอดีต แต่ปัจจุบันหาได้เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป เพราะในวันนี้ประเทศจีนได้ลบคำสบประมาทจนหมดสิ้น กลับผงาดขึ้นมาเป็นหนึ่งในชาติมหาอำนาจของโลกที่ตีคู่เตรียมเบียดพร้อมจะแซงผู้นำโลกเสรีประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จนมีการคาดการณ์กันว่าในอนาคตอีก 14 ปีข้างหน้า หรือปี 2032 เศรษฐกิจจีนจะมีขนาดใหญ่กว่าเศรษฐกิจของสหรัฐ

    การส่งต่อไม้ผลัดของผู้นำประเทศที่มีอุดมการณ์ร่วมล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศจีนฝ่าฝันอุปสรรคนานัปการและหลอมรวมประเทศให้กลับมาเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง และแน่นอนว่าหนึ่งในผู้นำที่มีบทบาทสำคัญในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ที่ได้ดำเนินนโยบายปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจังเป็นวงกว้าง เพราะถึงแม้ว่าในห้วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจของประเทศจีนจะทะยานพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ทว่าในทัศนะของนายสี จิ้นผิง ปัญหาการคอรัปชั่นเหล่านี้ก็ยังอยู่ในระดับที่รุนแรง หากปล่อยไว้ต่อไปปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้ เสถียรภาพของประเทศต้องสั่นคลอนจนนำไปสู่การล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์ได้ในที่สุด

 

    ตอกย้ำนโยบายปราบทุจริตนี้จากประเด็นข่าวช็อคโลกในแวดวงบันเทิงกรณี ฟ่าน ปิงปิง นักแสดงระดับซูเปอร์สตาร์ของจีนและระดับโลก ถูกรัฐบาลจีนลงดาบทำการควบคุมตัวเพื่อสอบปากคำเรื่องการหลบเลี่ยงภาษีผลพวงจากการทำ สัญญา "หยิน-หยาง"

 

 

ตีแผ่การปราบทุจริตในจีน เชือดให้ดู \"ฟ่าน ปิงปิง\" หมดอนาคต มองย้อนประเทศไทยกับโทษ \"คอร์รัปชั่น\"  

 

    สัญญาหยินหยาง คือ การเซ็นสัญญาสองฉบับ ซึ่งฉบับหนึ่งจะเปิดเผยรายได้บางส่วน ขณะที่อีกฉบับจะระบุรายได้ส่วนที่เหลือ ซึ่งมากกว่าที่ระบุในฉบับแรก เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบรายได้ที่แท้จริง เหตุที่การทำสัญญารูปแบบนี้ได้รับความนิยม เพราะรัฐบาลจีนได้ออกกฏใหม่ในวงการบันเทิงเพื่อไม่ให้ผู้สร้างภาพยนต์มีการจ่ายค่าตัวนักแสดงที่มากจนเกินไป โดยกำหนดว่าให้จ่ายเงินค่าตัวนักแสดงได้ไม่เกิน 40% ของทุนสร้างในกรณีที่ไม่ใช่ภาพยนตร์ และ 70% ในกรณีของการสร้างภาพยนตร์
 

    ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการตกลงกันระหว่างเอเจนซี่และนักแสดงเพื่อทำการเซ็นสัญญา โดยฉบับแรกจะเป็นแบบส่วนตัวไม่เปิดเผยต่อสาธารณะชนซึ่งเป็นรายได้ที่นักแสดง "ได้รับจริง" ส่วนอีกฉบับจะถูกใช้เพื่อแสดงรายรับในการคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแก่รัฐบาล ในฉบับนี้จะเป็นรายได้ที่ "ต่ำกว่าค่าตัวที่ได้รับ"
 

    การทำสัญญาดังกล่าวไม่เพียงแต่จะเป็นที่นิยมในกวงการบันเทิงเท่านั้น แต่พบว่ายังแพร่หลายในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และแวดวงกีฬาอีกด้วย เพราะการทำสัญญารูปแบบนี้สามารถหลบเลี่ยงภาษีที่เหล่านักแสดงหรือซูเปอร์สตาร์ต้องเสียให้แก่รัฐบาล ด้วยรายได้จากงานแสดงและค่าตัวในแต่ละครั้งที่มากกว่าล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ย่อมหมายถึงว่าการเสียภาษีต้องสูงตามไปด้วย

 

 

ตีแผ่การปราบทุจริตในจีน เชือดให้ดู \"ฟ่าน ปิงปิง\" หมดอนาคต มองย้อนประเทศไทยกับโทษ \"คอร์รัปชั่น\"

    มีการเปิดเผยถึงรายได้ต่อปีของ ฟ่าน ปิงปิง ที่ถูกจัดอันดับให้มีรายได้เป็นอันดับ 1 ในปี 2011 ของรายได้นักแสดง ทั้งหมดใน จีน, ไต้หวัน และฮ่องกง ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี  ว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 300 ล้านหยวน แน่นอนว่าจากกฏที่ออกโดยรัฐบาลจีน เพดานภาษีที่เธอต้องเสียจะอยู่ประมาณที่ 40% เท่ากับว่าเธอต้องจ่ายเป็นเงินกว่า 120 ล้านหยวน หรือ กว่า 570 ล้านบาท ด้วยตัวเลขมหาศาลที่เธอจงใจไม่จ่ายให้แก่รัฐบาล ซึ่งเป็นการกระทำที่เข้าข่ายทุจริตคอรัปชั่น ทางการจีนย่อมไม่ปล่อยไว้อย่างแน่นอน 

 

    อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นซูเปอร์สตาร์ระดับโลกผู้นี้ ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหา อ้างว่าเธอไม่ได้เลี่ยงภาษี และไม่ทำเรื่องผิดกฎหมายใดๆ พร้อมกับได้ว่าจ้างทีมทนายความมาต่อสู้ทางกฎหมาย ทว่าเมื่อตรวจสอบจากทาง Weibo ของ ฟ่าน ปิงปิง ซึ่งเป็นโซเชียลมีเดียของประเทศจีนคล้ายกับ Facebook พบว่าไม่มีการเคลื่อนไหว ตั้งแต่เมื่อ 2 มิ.ย. ที่ผ่านมา และในขณะนี้ ฟ่าน ปิงปิง นางเอกสาว วัย 36 ปีชื่อดัง อยู่ภายใต้การควบคุมตัวและกำลังเข้าสู่การพิจารณาคดี เกี่ยวกับการเลี่ยงภาษีและมีแนวโน้มว่าอาจมีส่วนพัวพันกับการทุจริตปล่อยสินเชื่อด้วย

 

 

ตีแผ่การปราบทุจริตในจีน เชือดให้ดู \"ฟ่าน ปิงปิง\" หมดอนาคต มองย้อนประเทศไทยกับโทษ \"คอร์รัปชั่น\"

 

    ตั้งแต่นายสี จิ้นผิง ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2012 พบว่ามีการลงโทษอย่างเด็ดขาดและรุนแรงต่อเหล่าข้าราชการขี้ฉ้อทุกระดับชั้นตั้งแต่ระดับล่างไปจนถึงระดับรัฐมนตรีไม่เว้นแม้กระทั่งนายทหารระดับนายพล ด้วยข้อกล่าวหาว่ากระทำผิดฐานทุจริต ประพฤติมิชอบในหน้าที่ อันเป็นความผิดวินัยร้ายแรงของพรรคคอมมิวนิสต์

 

 

ตีแผ่การปราบทุจริตในจีน เชือดให้ดู \"ฟ่าน ปิงปิง\" หมดอนาคต มองย้อนประเทศไทยกับโทษ \"คอร์รัปชั่น\"

 

    ภายใต้การบริหารประเทศของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง การปลดข้าราชการกังฉินทั้งหลายออกจากตำแหน่งดูจะเป็นบทลงโทษที่พบเห็นได้อยู่บ่อยครั้ง เพราะปรากฏว่ามีข้อมูลจากทางการจีนระบุว่าในช่วง 5 ปีแรกของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง มีเจ้าหน้าที่กว่า 1.34 ล้านคน ถูกปลดจากตำแหน่งด้วยข้อกล่าวหาทุจริตและกระทำผิดทางวินัย
 

    แน่นอนว่ามาตรการกวาดล้างอย่างเข้มงวดย่อมไม่หยุดอยู่เพียง "ปลดจากตำแหน่ง" การทุจริตคอรัปชั่นในประเทศจีนนั้นมีบทลงโทษสูงสุดคือ "ประหารชีวิต" ที่ประเทศจีนมองว่ายังคงเป็นหนึ่งในทางเลือกของบทลงโทษที่เหมาะสม เพราะพฤติการณ์ของบุคคลเหล่านี้ ถือเป็นเป็นเรื่องที่ร้ายแรงและส่งผลกระทบต่อประเทศชาติและผลประโยชน์ของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ ดั่งเช่นกรณีล่าสุด

 

 

ตีแผ่การปราบทุจริตในจีน เชือดให้ดู \"ฟ่าน ปิงปิง\" หมดอนาคต มองย้อนประเทศไทยกับโทษ \"คอร์รัปชั่น\"

 

    ในวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา ศาลประชาชนชั้นกลางประจำนครหลินเฝิน มณฑลซานซีทางจีนตอนเหนือ ประกาศคำตัดสินโทษประหารชีวิตนายจาง จงเซิง อดีตรองนายกเทศมนตรีเมืองหลู่เหลียงของซานซี ฐานกระทำการทุจริตรับสินบน นอกจากนั้นศาลฯ ยังสั่งยึดทรัพย์สินส่วนตัวทั้งหมดของนายจาง จากการแอบรับสินบนเป็นเงินสดและทรัพย์สินต่างๆ มูลค่า 1,040 ล้านหยวน (ราว 5,200 ล้านบาท) ระหว่างปี 1997-2013 โดย ศาลได้พบว่า เขาได้ทุจริตงบประมาณแผ่นดินถึง 1,040 ล้านหยวน หรือ ประมาณ 5,170 ล้านบาท และ ยังโกงเวลาราชการ ใช้อำนาจในทางมิชอบ และใช้วาจาข่มขู่ข้าราชการชั้นผู้น้อยอยู่ตลอด นอกจากนี้ยังมีการรับสินบนจากกลุ่มอิทธิพลแก๊งยาเสพติดและแก๊งค้าอาวุธ อีกด้วย ศาลจึงพิพากษา ให้ประหารชีวิต โดยไม่ลดหย่อนโทษ และให้ยึดทรัพย์และคฤหาสน์ ที่มีมูลค่ามากกว่า 1,500 ล้านหยวน ให้ตกเป็นของแผ่นดิน

 

 

ตีแผ่การปราบทุจริตในจีน เชือดให้ดู \"ฟ่าน ปิงปิง\" หมดอนาคต มองย้อนประเทศไทยกับโทษ \"คอร์รัปชั่น\"

    กลับมาที่ประเทศไทย จากผลสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านปัญหาคอร์รัปชั่นประจำปีที่แล้ว หรือปี 2017 ซึ่งจัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใส Transparency Internationa ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ที่อันดับ 96 จากคะแนนความโปร่งใส 37 เต็ม 100 แต่อาจด้วยเพราะความที่สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความ "ประนีประนอม" เป็นเอกลักษณ์ จึงพบว่าในแวดวงการเมืองมักมีการ "เอาหูไปนาเอาตาไปไร่" อยู่บ่อยครั้ง ทำให้การลงโทษอย่างเด็ดขาดจากการทุจริตคอรัปชั่นยังไม่สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

    สำหรับโทษของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำการทุจริตตาม อาญาที่ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2499 ได้บัญญัติโทษประหารชีวิตไว้ในมาตรา 148 และ 149 ใช้กับข้าราชการและนักการเมือง ที่เรียกหรือรับสินบน เพื่อให้กระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี หรือตลอดชีวิต หรือ ประหารชีวิต และมีโทษปรับอีกต่างหาก บทลงโทษแต่ละอย่างจะยึดตามกฏหมายอาญา และกำหนดโทษไว้ให้ศาลใช้ดุลพินิจ ทว่ากว่า 60 ปีที่มีการประกาศใช้กฏหมายอาญาในประเทศไทย ยังไม่เคยมีข้าราชการหรือนักการเมืองถูกประหารแม้แต่รายเดียว

 

    ในแวดวงบันเทิงไทยนั้นครั้งหนึ่งเคยมีประเด็นกระแสดาราเลี่ยงภาษีเช่นกัน เพราะการเสียภาษีของดารานักแสดงนั้นต้องจ่ายในจำนวนที่มากกว่าคนทั่วไป หรือที่เรียกว่าภาษีมูลค่าเพิ่มของนักแสดงสาธารณะ เพราะจากรายได้ในระดับที่สามารถคิดเป็น งาน/ชั่วโมง เช่น ค่าตัวในอีเวนต์เพียง 2 ชั่วโมง อาจได้ไม่ต่ำกว่า 80,000 บาท หากมีชื่อเสียงระดับประเทศอาจได้รับมากกว่า 200,000 บาทต่องาน

 

 

ตีแผ่การปราบทุจริตในจีน เชือดให้ดู \"ฟ่าน ปิงปิง\" หมดอนาคต มองย้อนประเทศไทยกับโทษ \"คอร์รัปชั่น\"

 

    ในที่นี้รวมถึงนักแสดง ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใดๆ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่หรือคณะ หรือแข่งขันเป็นทีม ซึ่งจัดเป็น เงินได้ประเภทที่ 8 ส่วนการหักค่าใช้จ่ายนั้น สามารถเลือกหักได้ 2 วิธี คือ หักตามจริงโดยต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย หรือหักเหมา 40-60% ไม่ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย ในบางครั้งที่ดารานักแสดงรับงาน จะมีการหักภาษีในเรื่องค่าจ้าง ซึ่งบางครั้งดาราก็ไม่ได้รับเองมีการใช้เอกสารของผู้อื่นให้รับแทน จุดประสงค์เป็นการกระจายรายได้เพราะเมื่อสิ้นปีรวมรายได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคล จะมีภาษีที่ต้องจ่ายน้อยกว่าความเป็นจริง เรียกได้ว่าเป็นช่องโหว่ในการจ่ายภาษี มีการวิเคราะห์ว่าหากนักแสดงสาธารณะเหล่านี้ เสียภาษีตามจำนวนจริงไม่เลี่ยงสรรพากรอย่างที่ทำกันอยู่บ่อยครั้ง จะมีเงินเข้าประเทศไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาทต่อปี

 

 

ตีแผ่การปราบทุจริตในจีน เชือดให้ดู \"ฟ่าน ปิงปิง\" หมดอนาคต มองย้อนประเทศไทยกับโทษ \"คอร์รัปชั่น\"