- 26 ก.ย. 2561
นับว่าเป็นเรื่องราวขึ้นมาเมื่ออยู่ๆ จากกระแสละครดังเรื่องหนึ่งนำมาสู่การขุดแบรนด์ไอศกรีมในตำนานอย่าง ไผ่ทองไอสครีม และ ไผ่ทองไอศกรีม หากดูจากชื่อและไม่ได้สังเกตแล้วผู้บริโภคหลายท่านคงมองมาเป็นแบรนด์ไอศกรีมแบบเดียวกันทั้งสองตัว แต่อาจแตกต่างจากอักษรที่เขียนหรือเปล่านั้นเป็นคำถามของชาวเน็ตทั้งหลายที่มีต่อแบรนด์ไอศกรีม
นับว่าเป็นเรื่องราวขึ้นมาเมื่ออยู่ๆ จากกระแสละครดังเรื่องหนึ่งนำมาสู่การขุดแบรนด์ไอศกรีมในตำนานอย่าง ไผ่ทองไอสครีม และ ไผ่ทองไอศกรีม หากดูจากชื่อและไม่ได้สังเกตแล้วผู้บริโภคหลายท่านคงมองมาเป็นแบรนด์ไอศกรีมแบบเดียวกันทั้งสองตัว แต่อาจแตกต่างจากอักษรที่เขียนหรือเปล่านั้นเป็นคำถามของชาวเน็ตทั้งหลายที่มีต่อแบรนด์ไอศกรีมนี้มาอย่างช้านาน ในที่สุดเรื่องราวของแบรนด์ไอศกรีมดัง ก็มากระจ่างหลังเพจเฟซบุ๊กแนวคิดพันล้าน ได้ออกมาเปิดเผยถึงที่มาที่ไปของสองชื่อที่คล้ายกันนี้ โดยเริ่มจากการเล่าประวัติความเป็นมาของชื่อแบรนด์ทั้งสองว่าแท้จริงแล้วมาจากครอบครัวเดียวกัน
โดยจุดกำเนิดของเรื่องราวทั้งหมดต้องย้อนกลับไปเมื่อ 60 ปี ก่อนจากสองสามีภรรยาชาวจีน นายกิมเซ็ง แซ่ซี่ และนางเฮียง แซ่ซี่ ภรรยาของเขา ที่เข้ามาหากินในประเทศไทย โดยรับจ้างเป็นคนขายไอศกรีมแบบแท่งจากเถ้าแก่คนหนึ่งในตอนนั้น แต่ต่อมานายกิมเซ็ง สังเกตว่ารสชาติและคุณภาพของไอศกรีมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่คงที่ จึงนำเรื่องนี้ไปแจ้งให้เถ้าแก่คนดังกล่าวทราบเพื่อปรับปรุง เพราะยิ่งขายก็ยิ่งไม่สามารถสู้เจ้าอื่นได้ แต่เมื่อนายกิมเซ้ง นำเรื่องนี้ไปบอกเถ้าแก่คนดังกล่าวกลับเฉยและต่อว่านายกิมเซ็ง "ถ้าอยากจะทำให้ดีกว่านี้ ก็ไปทำเองสิ" จากคำพูดนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นให้นายกิมเซ็ง คิดประกอบธุรกิจไอศกรีมอย่างเต็มตัวแทนที่จะรับมาขายอย่างเดียว
ทั้งนี้ในตอนแรกใช้ซื้อแบรนด์ว่า "หมีบินเกาะต้นมะพร้าว" จนคนสมัยนั้นเรียกว่าไอศกรีมหมีบิน เริ่มจากรสกะทิเป็นหลัก ซึ่งการทำไอศกรีมในสมัยเมื่อ 60 ปีก่อน นายกิมเซ็ง และภรรยามีความลำบากมากต้องทำด้วยมือไร้เครื่องจักรใดๆ เหมือนอย่างสมัยปัจจุบัน เมื่อทำออกขายแล้วได้ผลตอบรับที่ดีเป็นอย่างยิ่ง มีลูกค้าติดใจในรสชาติเป็นจำนวนมากจนในที่สุดกิจการเล็กก็กลายเป็นบริษัทใหญ่อย่างทุกวันนี้ ด้วยน้ำพักน้ำแรงของนายกิมเซ็ง และภรรยา ตลอดระยะเวลา 8 ปี ที่ผ่านมาจนในรุ่นลูกมีการเปลี่ยนชื่อเป็น "ไอสศรีมไผ่ทอง" ด้วยสาเหตุเพื่อไม่ให้ซ้ำกับแบรนด์ผลิตภัฑณ์นมตราหมีนั้นเอง โดยใช้ตัว ส เสือ แทน ตัว ศ ศาลา เพื่อให้ไม่เหมือนไอศกรีมเจ้าอื่น คำถามแล้วไอศครีมไผ่ทองตัว ศ มันมาได้เช่นไร??
ในเรื่องนี้มาจากปี พ.ศ. 2526 ครอบครัวตระกูลแซ่ซี่ นั้นมีลูกทั้งหมด 8 คน แบ่งเป็นหญิง 6 คน ชาย 2 คน แต่ลูกชายคนโตได้ออกไปประกอบธุรกิจของตัวเอง เหลือแต่ลูกชายคนเล็กอย่างนายบุญชัย ชัยผาติกุล ปัจจุบันอายุ 54 ปี ได้เลือกรับช่วงต่อจากธุรกิจไอศกรีมจากนายกิมเซ็ง ตั้งแต่อายุ 17 - 18 ปี โดยใช้ชื่อพี่สาว 2 คน เป็นเจ้าของก่อนในตอนนั้น เนื่องจากนายบุญชัยอายุยังไม่บรรลุนิติภาวะ จนปี 2530 - 2538 นายบุญชัย เกิดมีปัญหากับนางเฮียง ผู้เป็นแม่มาตลอด จนในที่สุดต้องออกมาเปิดร้านไอศรีมใหม่ ใช้ชื่อว่า ไอศครีมไผ่ทอง เหมือนกันแต่เปลี่ยนจาก ส เสือ มาเป็น ศ ศาลาแทน
หลังจากนั้นด้วยรสชาติที่เปลี่ยนไปเป็นเหตุให้นางเฮียง ผู้เป็นแม่ของนายบุญชัย ยื่นฟ้องไอศครีมไผ่ทองของผู้เป็นลูกเพราะกลัวทำให้แบรนด์เสียชื่อเสียง
เมื่อย้อนกลับไปดูถึงผลกำไรของทั้ง 2 บริษัทพบว่า รายได้และกำไรของไผ่ทองไอสครีม ฝั่งนางเฮียง (จดทะเบียนเมื่อปี พ.ศ.2541 ทุนจดทะเบียน 7.5 ล้านบาท) จากปี 2557 - 2560 มีดังนี้
ปี 2557 รายได้ประมาณ 49 ล้านบาท กำไร 670,000 บาท
ปี 2558 รายได้ประมาณ 65 ล้านบาท กำไร 1.2 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ประมาณ 66 ล้านบาท กำไร 1.4 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ประมาณ 75 ล้านบาท กำไร 1.8 ล้านบาท
ส่วนทางด้าน บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด ของฝั่งนายบุญชัย (จดทะเบียนเมื่อปี 2546 มีทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท) จากปี 2557 - 2560 มีดังนี้
ปี 2557 รายได้ประมาณ 26 ล้านบาท ขาดทุน 640,000 บาท
ปี 2558 รายได้ประมาณ 29 ล้านบาท กำไร 440,000 บาท
ปี 2559 รายได้ประมาณ 38 ล้านบาท กำไร 80,000 บาท
ปี 2560 รายได้ประมาณ 36 ล้านบาท ขาดทุน 3.5 ล้านบาท
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดถือเป็นเรื่องที่ครอบครัวไหนก็คงไม่อยากให้เกิดขึ้นแน่นอนกับศึกสายเลือดด้านการตลาดของทั้งสองฝ่ายเพราะต่างก็มาจากครอบครัวเดียวกันทั้งสิ้น หลายคนที่ได้ติดตามเรื่องราวของมหากาพย์ศึกตระกูลแซ่ซี่ ไอสครีมไผ่ทอง คงหวังให้ทั้งสองฝ่ายกลับมาปรองดองกันเหมือนเดิมแล้วช่วยกันประกอบธุรกิจให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่าเดิมเพราะทุกคนต่างก็เป็นพี่น้องทั้งนั้น
อ้างอิง longtunman , แนวคิดพันล้าน