- 25 ต.ค. 2561
"ข้าว" ถือเป็นอาหารหลักที่ชาวไทยนั้นนิยมบริโภคกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ โดยมีชาวนาผู้เป็นกระดูกสันหลังของชาติ เป็นผู้คอยเก็บเกี่ยว ส่งต่อให้ผู้บริโภคอีกที โดยอาชีพชาวนาถือเป็นอาชีพที่มีเกียรติ สามารถส่งเสียลูกหลานเรียนหนังสือได้อย่างสบาย แต่ด้วยยุคสมัยทางเศรษฐกิจ ที่แปรเปลี่ยนทำให้การเพาะปลูกข้าวของชาวนา ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 3 - 4 ปี ที่ผ่านมา แม้ว่ารัฐบาลแต่ละสมัยจะยื่นมือเข้าช่วยเหลือราคาข้าวของชาวนาแล้วก็ตาม
"ข้าว" ถือเป็นอาหารหลักที่ชาวไทยนั้นนิยมบริโภคกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ โดยมีชาวนาผู้เป็นกระดูกสันหลังของชาติ เป็นผู้คอยเก็บเกี่ยว ส่งต่อให้ผู้บริโภคอีกที โดยอาชีพชาวนาถือเป็นอาชีพที่มีเกียรติ สามารถส่งเสียลูกหลานเรียนหนังสือได้อย่างสบาย แต่ด้วยยุคสมัยทางเศรษฐกิจ ที่แปรเปลี่ยนทำให้การเพาะปลูกข้าวของชาวนา ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 3 - 4 ปี ที่ผ่านมา แม้ว่ารัฐบาลแต่ละสมัยจะยื่นมือเข้าช่วยเหลือราคาข้าวของชาวนาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ จนเมื่อปี 2559 กระทรวงพาณิชย์ ถึงกับออกมาบอกว่าการส่งออกในปี 2559 นั้น ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลต้องการ สืบเนื่องจากปัญหาด้านต่างๆ ที่รัฐบาลเก่าอย่างรัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ ทิ้งเอาไว้ ตั้งแต่ปี 2557 ในช่วงเปลี่ยนถ่ายรัฐบาลใหม่ ส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกของไทยดิ่งลงเหว ตามไปด้วย โดย ข้าวขาวเหลือตันละ 360 เหรียญฯ ต่ำสุดรอบ 2 ปี ข้าวหอมมะลิร่วงแรงเหลือ 650 เหรียญฯ ต่ำสุดรอบ 5 ปี
การเข้าช่วยเหลือชาวนาจึงถือเป็น งานช้างของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องเข้ามาเร่งแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำโดยด่วน ตั้งแต่เริ่มเข้ามาบริหารงานบ้านเมืองใหม่ตั้งแต่ปี 2557 ช่วงเปลี่ยนถ่ายรัฐบาล โดยเมื่อปี 2560 รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ เริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้น ทำให้การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้เปรียบ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอู่ข้าว อู่น้ำ อีกแห่งที่มีความสำคัญของประเทศไทย
นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งใน 7 ลุ่มน้ำหลักของภาคกลาง ได้แก่ การก่อสร้างและปรับปรุงแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทานกว่า 200,000 ไร่ มีผู้ได้ประโยชน์กว่า 155,000 ครัวเรือน ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ขุดลอก กำจัดวัชพืช ให้เก็บกักน้ำได้มากขึ้น มีพื้นที่เกษตรได้ประโยชน์ราว 39,000 ไร่ พัฒนาแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ประชาชนได้ประโยชน์ 8,300 ครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่เกษตรกว่า 100,000 ไร่ ขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อน้ำอุปโภคบริโภคและก่อสร้างระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่มให้แก่โรงเรียนรวม 362 แห่ง และกำลังดำเนินโครงการขุดดินแลกน้ำโดยร่วมกับภาคเอกชนปรับปรุง หรือ สร้างแหล่งเก็บน้ำในพื้นที่ขาดแคลนด้วยให้เกษตรกรมีน้ำไว้ใช้ทางเกษตร ถือเป็นอีกเป้าหมายที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ทำสำเร็จ ได้รับเสียงชื่นชมจากเหล่าเกษตรเป็นอย่างมาก
หากจะเอ่ยถึงการเข้าช่วยเหลือชาวนาไทย รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ ถือว่ามองเกมขาดจากตลอดระยะเวลากว่า 5 ปี ที่เข้ามาบริหารประเทศ ได้ออกมติมาตรการช่วยเหลือชาวนาใน 3 โครงการหลัก แบ่งเป็น
1. โครงการสินเชื่อสำหรับรวบรวมข้าวโดยสถาบันการเกษตร
2. โครงการสินเชื่อชะลอขายข้าวเปลือกนาปี หรือที่เรียกกันว่า "จำนำยุ้งฉาง" ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลชุดปัจจุบัน หยิบมาปัดฝุ่นใช้อีกครั้งภายหลังล้ม "จำนำข้าว" ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
3. โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้ค้าข้าวในการเก็บสต็อกข้าวไว้ยังไม่ขาย
หากวิเคราะห์ระหว่างรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับ พล.อ.ประยุทธ์ ในเรื่องการช่วยเหลือชาวนาแล้วจะเห็นว่า การที่ยิ่งลักษณ์ก้าวเข้ามาเป็นนายกหญิงคนแรกของประเทศไทยได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายเมื่อครั้งลงเลือกตั้งปี 2554 ซึ่งพรรคเพื่อไทย ชู นโยบายเกี่ยวกับการจำนำข้าวจนโดนใจชาวนา จากนโยบายขายฝันในตอนนั้นส่งผลให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยได้สำเร็จ
รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นั้น รับจำนำข้าวทุกเมล็ด - ไม่มีโควต้า แถมยังการันตี ตันละ 15,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาตลาดในขณะนั้นถึง 50% ที่แม้สร้างคะแนนจากชาวนาอย่างสูง แต่ก็สร้างปัญหาให้รัฐบาลในภายหลังและภาระต่องบประมาณเป็นอย่างมาก ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัญหาเรื้อรัง ที่ทิ้งให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ แก้ไม่ตกในตอนแรกทีเดียว จนตอนนั้นนักวิชาการหลายคนออกมาบอกว่าโครงการที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทิ้งไว้เป็นวิบากกรรมในยุคเปลี่ยนถ่ายรัฐบาลจากนักการเมืองสู่ทหาร
นับตั้งแต่รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ ก้าวเข้ามา บริหารประเทศจากเหตุจำเป็นในหลายด้านจนฝ่ายทหารนิ่งเฉยไม่ได้ ต้องเข้ามายึดอำนาจ เมื่อปี 2557 หลังจากนั้นก็เร่งขับเคลื่อนบริหารประเทศช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยให้มีคุณาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งชาวนาที่กำลังประสบปัญหาขาดทุนอยู่จากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่อาจนิ่งเฉย จัดการแจกเงินช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท หรือครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ รวมแล้วใช้งบกว่า 4.5 หมื่นล้าน หลังจากนั้น ปัญหาราคาข้าวก็ค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ
จนล่าสุดทางนายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน ออกมาเปิดเผยรายละเอียดจากการประชุมหารือร่วมกันกับสมาคมโรงสีข้าว ผู้แทนเกษตรกร ชาวนาหลายพื้นที่ ช่วงเดือนตุลาคม 61 พบว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ ชัยภูมิ นครราชสีมา และขอนแก่น ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญได้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ ส่งให้ผลผลิตข้าวลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20% ในตอนนี้มีข้าวเปลือก หอมมะลิต้นฤดูกาลออกสู่ตลาด ในราคาที่เกษตรกรชาวนาขายได้สูงถึงตันละ 15,000 บาท แถมยังมีคำสั่งซื้อข้าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการบริหารของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกนั้นสูงกว่าเป้าหมาย นับเป็นนิมิตรหมายที่ดีของเกษตรกร หลังจากประสบปัญหาข้าวขาดทุนมาเป็นเวลานาน จนชาวนาบางคนถอดใจเลิกล้มอาชีพไป
โดยข้าวหอมมะลิความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์มีราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จากตันละ 11,550 – 14,500 บาทในปี 2560 เพิ่มเป็นตันละ 14,750 - 17,700 บาท ข้าวเจ้า 5 เปอร์เซ็นต์ ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ ราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็น 7,500 –7,900บาท สำหรับมาตรการที่จะนำมาใช้รองรับข้าวในฤดูกาลผลิต 61/62 ที่กำลังจะออกสู่ตลาด
รัฐบาลได้เตรียมการรองรับไว้รวม 3 มาตรการคือ การชะลอจำหน่ายข้าวเปลือกนาปี เพื่อจูงใจให้เกษตรกรเก็บสต็อกโดยรัฐบาลจ่ายค่าฝากเก็บให้เกษตรกรที่เก็บข้าวในยุ้งฉางของตนเองตันละ 1,500 บาท หากฝากเก็บในยุ้งฉางของสหกรณ์หรือกลุ่มวิสาหกิจ จะได้รับค่าฝากเก็บตันละ 1,000 บาท นอกจากนั้นยังมีการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวอีกไร่ละ 1,500 บาท รายละไม่เกิน 12 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 18,000 บาท เป็นอัตราการจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากครัวเรือนละ 6,000 บาท ในปีที่ผ่านมา ส่งเสริมสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้เก็บสต็อกข้าวแทนสมาชิกโดยรัฐบาลสนับสนุนทุนในการจัดเก็บอัตราดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 1 ต่อปี และจูงใจให้โรงสีดูดซับผลผลิตข้าวในช่วงต้นฤดูซึ่งผลผลิตออกมาก
โดยช่วยเหลือค่าดอกเบี้ยจากเงินกู้ที่ใช้ในการจัดเก็บร้อยละ 3 ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
นอกจากนี้รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ ยังมีมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว โดยอนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2561/62 ผ่าน ธ.ก.ส. โดยจัดสรรวงเงินสินเชื่อไว้ 12,500 ล้านบาท ให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนและศูนย์ข้าวชุมชน กู้ยืมเป็นทุนหมุนเวียนในการรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อจำหน่ายหรือแปรรูปเป็นข้าวสาร คิดดอกเบี้ย 1% ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยแทนสถาบันเกษตรกร 3% ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 ต.ค. 2561 เป็นต้นไป โดยกำหนดให้ชำระหนี้ไม่เกิน 31 ธ.ค. 2562 ขณะนี้มีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการดังกล่าวแล้ว 399 แห่ง วงเงินที่ขออนุมัติสินเชื่อ จำนวน 16,890 ล้านบาท เพื่อเป็นอีกทางหนึ่งในการดูแลใส่ใจเกษตรกร
สำหรับข้อมูลราคาข้าวเปลือก ณ ตลาดกลางและตลาดสำคัญวันที่ 24 ตุลาคม 2561 จากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์ หอมปทุมธานี 1 ความชื้น 15% พันธุ์หอมปทุมธานี 1 หจก.โพธิบูรพ์ ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 10,250 บาท/ตัน ความชื้น 25% พันธุ์หอมปทุมธานี 1 หจก.โพธิบูรพ์ ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 8,250 บาท/ตัน
ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ 105 (ต้นข้าว 35 กรัม) ท่าข้าว ธ.ก.ส. อ.เมือง จ.ขอนแก่น 14,000 บาท/ตัน ตลาดกลางพืชไร่ อ.เมือง จ. ศรีสะเกษ 16,300 บาท/ตัน โรงสีไฟไทยเจริญวัฒนา อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ 15,833 บาท/ตัน โรงสีกิจทวียโสธร อ.เมือง จ.ยโสธร 16,200 บาท/ตัน โรงสีสหพัฒนา อ.สะตึก จ.บุรีรัมย์ 16,000 บาท/ตัน โรงสีเต็กเฮง อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ 16,600 บาท/ตัน โรงสีสหกรณ์การเกษตรสุวรรณภูมิ อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 14,000 บาท/ตัน
จากวันแรกที่รัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ ก้าวเข้ามาแก้ไขปัญหาราคาข้าวขาดทุนของชาวนา ถือเป็นสิ่งที่แก้ไขให้เห็นได้อย่างเด่นชัดที่สุด และนำประโยชน์สร้างประเทศจากการส่งออกข้าวจนสร้างเศรษฐกิจในประเทศให้สามารถฟื้นตัวขึ้นได้เรื่อยๆ แม้จะใช้เวลา แต่ก็เห็นผลได้ชัดในระยะยาวนาน จนตอนนี้เกษตรกรชาวนา สามารถยิ้มได้อย่างเต็มที่