เห็นแล้วหวั่นใจ เผยสถิติ 3 สาขาวิชา ป.ตรี มีแนวว่างงานสูง เปิดสาขาวิชาตลาดต้องการมากที่สุด

  การก้าวผ่านชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยถือเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กจบใหม่หลายคนที่กำลังจะจบการศึกษามาตั้งแต่ยุคอดีต ที่วินาทีแรกในการหาบริษัทเข้าทำงานยังคงสับสนว่าแท้จริงแล้วต้องการอะไรกันแน่ บวกกับความคิดยังคงเป็นตัวเองสุดโต่ง อยากเข้าทำงานในบริษัทที่หวังแต่เมื่อเข้าทำงานจริงกลับพบว่าไม่ใช่ตัวเอง

 

      การก้าวผ่านชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยถือเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กจบใหม่หลายคนที่กำลังจะจบการศึกษามาตั้งแต่ยุคอดีต ที่วินาทีแรกในการหาบริษัทเข้าทำงานยังคงสับสนว่าแท้จริงแล้วต้องการอะไรกันแน่ บวกกับความคิดยังคงเป็นตัวเองสุดโต่ง อยากเข้าทำงานในบริษัทที่หวังแต่เมื่อเข้าทำงานจริงกลับพบว่าไม่ใช่ตัวเอง สุดท้ายก็ขอถอนตัวออกมาเดินตามฝัน ในบางครั้งการออกมานั้นไม่ได้หมายความว่าเด็กไม่ทน แต่สิ่งที่ทำอาจจะยังไม่ใช่ เนื่องจากเด็กจบใหม่ ยังไฟแรงมีพลังขับเคลื่อนเชื้อเพลิงของคนรุ่นใหม่เต็มเปี่ยมอยู่ บวกด้วยความคิดเป็นตัวเองสูง จึงไม่นิยมปรับเข้ากับสถานที่หรือบริษัทเท่าใดนัก 

 

เห็นแล้วหวั่นใจ เผยสถิติ 3 สาขาวิชา ป.ตรี มีแนวว่างงานสูง เปิดสาขาวิชาตลาดต้องการมากที่สุด

 

     ทั้งนี้กลุ่มนักศึกษาจบใหม่ในระดับช่วงอายุ ไม่เกิน 25 ปี ที่กำลังตามหาความฝันในอาชีพการงานถูกจับตามากที่สุดว่าจะมีอัตราการสมัครงานเพิ่มและอาจทำธุรกิจส่วนตัวหรือไม่ โดย นางเพชรรัตน์ สินอวยรองปลัดกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการจัดหางาน เผยว่าอัตราการว่างงานปี 2561 ตั้งแต่เดือน พ.ค. เป็นต้นมา มีแนวโน้มต่ำกว่าปี 2559 – 2560 และอัตราการว่างงานในช่วงเดือน ก.ย. 61 มีคนว่างงานถึง 3.73 แสนคน ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาการว่างงานไม่ได้รุนแรงและน่ากังวลเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการว่างงานในช่วงเดือนเดียวกันของปี 2560 พบว่ามีคนว่างงานลดลงประมาณ 7 หมื่นคน


 
    ขณะที่ช่วงต้นปี 2561 มีอัตราการว่างงานสูงอยู่ที่ร้อยละ 1.3-1.2 ก่อนที่จะปรับตัวลดลงมาทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ซึ่งเป็นผู้ว่างงานที่มาจากภาคการผลิตมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคบริการและภาคเกษตร โดยเหตุผลของการว่างงานพบว่า เป็นการลาออกจากงานมากที่สุด ประมาณ 1 แสนคน รองลงมาเป็นนายจ้างปิดกิจการ ประมาณ 3 หมื่นคน และหมดสัญญาจ้างประมาณ 2 หมื่นคน

 

เห็นแล้วหวั่นใจ เผยสถิติ 3 สาขาวิชา ป.ตรี มีแนวว่างงานสูง เปิดสาขาวิชาตลาดต้องการมากที่สุด

 

 

     สำหรับช่วงอายุที่มีผู้ว่างงานมากที่สุด คือ 20 - 24 ปี สะท้อนให้เห็นว่าผู้ว่างงานคือแรงงานกลุ่มที่เพิ่งจบการศึกษา โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาที่ว่างงานมากที่สุด คือ พาณิชยศาสตร์ รองลงมา ศึกษาศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่พร้อมจะทำงาน แต่หาไม่ได้ ไม่สามารถหางานที่เหมาะสมได้ จากรายงานการว่างงานนี้สะท้อนให้เห็นว่าผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ยังขาดคุณสมบัติตามที่ตลาดแรงงานต้องการ และส่วนหนึ่งว่างงานเพราะเลือกงาน

 

เห็นแล้วหวั่นใจ เผยสถิติ 3 สาขาวิชา ป.ตรี มีแนวว่างงานสูง เปิดสาขาวิชาตลาดต้องการมากที่สุด

 

   ในส่วนของกลุ่มที่จบออกมาแล้วได้งานอย่างแน่นอนคงหนีไม่พ้น บัญชี ที่ทุกบริษัทนั้นต้องการอยู่ตลอดกาล โดยเฉพาะหน่วงงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน รองลงมาวิศวกรรมศาสตร์  ด้านไฟฟ้า เครื่องกล เคมี โยธา โทรคมนาคม หากยิ่งได้ภาษาด้วยตลาดยิ่งต้องการเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นจะเป็น แพทย์ ทันตแพทย์ ที่ยังขาดแคลนอยู่

 

เห็นแล้วหวั่นใจ เผยสถิติ 3 สาขาวิชา ป.ตรี มีแนวว่างงานสูง เปิดสาขาวิชาตลาดต้องการมากที่สุด

 

    อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ไม่ได้นิ่งนอนใจ ถึงแม้สถานการณ์การว่างงานไม่ได้เป็นที่น่ากังวล โดยได้สั่งการให้กรมการจัดหางานจัดตั้งศูนย์ที่นี่มีงานทำ (Job Ready Center) ตั้งแต่เดือน ก.ค. 61 ที่ผ่านมา เพื่อหางานให้กับผู้จบปริญญาตรี พร้อมทั้งให้คำปรึกษา พัฒนาทักษะฝีมือ แนะแนวอาชีพ และจับคู่ตำแหน่งงานปัจจุบันเปิดให้บริการ 11 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง สุราษฎร์ธานี สงขลา และกรุงเทพมหานคร

 

   นอกจากนี้เรามาดูกันซิว่าอาชีพดาวรุ่ง - ดาวร่วง ในปี 61 จากหอการค้าไทย นั้นมีอะไรบ้าง โดยอาชีพดาวรุ่งได้แก่

1.แพทย์ เนื่องจากความต้องการแพทย์ยังมีอยู่สูง 
2.โปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาซอฟแวร์
3.นักการตลาดออนไลน์ เช่น รีวิวเวอร์ , เน็ตไอดอล 
4.นักออกแบบวิเคราะห์ระบบด้านไอที 
5.นักการเงิน 
6.กราฟิคดีไซน์  
7.นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร
8.นักวิทยาศาสตร์ด้านความงาม 
9.อาชีพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว
10.ผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพ  e-commerce 
11.อาชีพวงการบันเทิง 
12.สถาปนิก 
13.ครูสอนพิเศษ 
14.ขนส่ง 
15.นักบัญชี 

 อาชีพดาวร่วงปี 61 ได้แก่

1.อาชีพเกี่ยวกับงานไม้ เช่น ตัดไม้ , ช่างไม้ 
2.พ่อค้าคนกลาง
3.อาชีพย้อมผ้า
4.บรรณารักษ์ 
5ไปรษณีย์ส่งจดหมาย
6.พนักงานขายสินค้าหน้าร้าน (ถูกแทนที่ด้วยค้าออนไลน์)
7.ตัดเย็บเสื้อผ้าโหล
8.ช่างทำรองเท้า
9.เกษตรกร 
10.ครูอาจารย์
11.แม่บ้านทำความสะอาด
12.อาชีพเกี่ยวกับนักหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และผู้สื่อข่าวภาคสนาม

 
    ทั้งนี้การไม่เลือกงานนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้น ให้นักศึกษาจบใหม่มีความอดทน หัดรับผิดชอบในตัวเอง เพื่อพร้อมก้าวไปสู่สังคมวัยทำงานที่เข้มแข็งและมีคุณภาพต่อไป สร้างเศรษฐกิจให้ประเทศเดินหน้าได้อย่างไม่สะดุด นอกเหนือจากนั้นยังเป็นการเพิ่มประสบการณ์ความสามารถพัฒนาศักยภาพ ในตนเองอีกด้วย

 

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก  กรมประชาสัมพันธ์