ดัน 2 ทาง พลังงาน-กฟผ. รับซื้อปาล์มล้นตลาด - ราคาต่ำ ให้โรงไฟฟ้า กระทบต้นทุนค่าไฟสูงขึ้น 20-30 สตางค์ต่อหน่วย

  ถือเป็นการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ ปาล์มน้ำมันราคาตกต่ำหลังวันที่ 22 ตุลาคม ที่ผ่ามา นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์  ได้กล่าวในที่ประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อบริหารจัดการปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มด้านการตลาดในสภาวะราคาผลปาล์มตกต่ำ พร้อมเร่งรัดผลักดันให้ราคาปาล์มน้ำมันไม่ต่ำไปกว่า 3 บาท/กิโลกรัม

 

      ถือเป็นการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ ปาล์มน้ำมันราคาตกต่ำหลังวันที่ 22 ตุลาคม ที่ผ่ามา นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์  ได้กล่าวในที่ประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อบริหารจัดการปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มด้านการตลาดในสภาวะราคาผลปาล์มตกต่ำ พร้อมเร่งรัดผลักดันให้ราคาปาล์มน้ำมันไม่ต่ำไปกว่า 3 บาท/กิโลกรัม (โดยราคาล่าสุดของผลปาล์มน้ำมันทั้งทะลาย ตกอยู่ที่เฉลี่ย 2.93 บาท/ กิโลกรัม ราคาวันที่ 5 พ.ย. 61)
 

ดัน 2 ทาง พลังงาน-กฟผ. รับซื้อปาล์มล้นตลาด - ราคาต่ำ ให้โรงไฟฟ้า กระทบต้นทุนค่าไฟสูงขึ้น 20-30 สตางค์ต่อหน่วย


นอกจากนั้นจะผลักดันให้กระทรวงพลังงานเพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 20 และยังได้ขอความร่วมมือกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งออกประกาศเรื่อง กำหนดวัตถุดิบและคุณภาพผลิตภัณฑ์ของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มที่กำหนดโรงงานสกัดเอ ต้องสกัดน้ำมันได้ไม่น้อยกว่า 18% ให้มีการบังคับใช้โดยเร็ว คาดว่าหากบรรลุผลจะทำให้ราคาผลปาล์มที่เกษตรกรขายได้ปรับสูงขึ้นใกล้เคียง 4 บาท/กก.

 

ล่าสุดจากปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำนี้เอง นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้ออกมากล่าวถึงการนำมาตรการเร่งด่วน ดึงโรงไฟฟ้าซื้อน้ำมันปาล์มดิบที่สกัดจากปาล์มน้ำมัน 1.6 แสนตันในราคาสูงกว่าต้นทุน "พลังงาน" เพื่อให้เกษตรกรนั้นไม่ประสบกับภาวะขาดทุนมากเกินไปกว่าเดิม โดยนายวิชัย ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เพื่อแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันทั้งระบบจำเป็นต้องนำน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ไปผลิตเป็นไฟฟ้า 1.6 แสนตันต่อปี เพื่อปรับสมดุลให้สต๊อกน้ำมันปาล์มดิบที่ปัจจุบันล้นอยู่ที่ 4.4 แสนตัน กลับเข้าสู่ภาวะปกติให้เหลือสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ประมาณ 2-2.5 แสนตัน จึงจะทำการซื้อปาล์มน้ำมันจากเกษตรกรมาเพิ่นในราคาที่ไม่ขาดทุนให้ได้ภายในสิ้นปีนี้

 

ดัน 2 ทาง พลังงาน-กฟผ. รับซื้อปาล์มล้นตลาด - ราคาต่ำ ให้โรงไฟฟ้า กระทบต้นทุนค่าไฟสูงขึ้น 20-30 สตางค์ต่อหน่วย

 

 

     สำหรับโรงไฟฟ้าที่จะรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบในสต๊อกไปใช้ เบื้องต้นเป็นโรงไฟฟ้าราชบุรี และโรงไฟฟ้าบางปะกง โดยราคารับซื้อจะสูงกว่าราคาตลาด เพื่อดึงราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดให้ปรับตัวสูงขึ้นตาม ส่วนราคารับซื้อจะเป็นเท่าไหร่นั้นที่ประชุม กนป.ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา ซึ่งมีตัวแทนจากกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า โดยมีนายวิชัยเป็นประธานคณะทำงานจะพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง

 

นอกจากนั้นยังได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาที่มีตัวแทนจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง พร้อมกันนี้ได้เร่งให้กระทรวงพลังงานส่งเสริมการใช้ดีเซลบี 20 และเพิ่มสัดส่วนการผสมในบี 7 ที่จะช่วยดูดซับน้ำมันปาล์มมากขึ้นอีกเกือบกว่า 6 หมื่นตันมาใช้ และยังเร่งประเดิมเพิ่มสัดส่วนการผสมดีเซลจาก 6.6% เป็น 6.8% เริ่ม 8 พ.ย.นี้ เพื่อผู้ผลิตไบโอดีเซลและผู้ค้าน้ำมันจะร่วมดูดซับน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ได้เพิ่มขึ้นอีก 15,000 ตันต่อปี เป็น 80,000 ตันต่อปี จากที่ตั้งเป้าหมายดูดซับปริมาณให้ได้ 1.3 ล้านตันต่อปี

 

ดัน 2 ทาง พลังงาน-กฟผ. รับซื้อปาล์มล้นตลาด - ราคาต่ำ ให้โรงไฟฟ้า กระทบต้นทุนค่าไฟสูงขึ้น 20-30 สตางค์ต่อหน่วย


อีกมาตรการที่จะช่วยแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มทั้งระบบได้ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศกำหนดให้โรงงานสกัดรับซื้อผลปาล์มที่มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันขั้นต่ำ โดยโรงสกัดเอ (ซื้อทั้งปาล์มทะลาย) ต้องซื้อเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มขั้นต่ำสูงกว่า 18% ขึ้นไป ส่วนโรงสกัดบี (ซื้อผลร่วง) ต้องซื้อขั้นต่ำสูงกว่า 30% ขึ้นไป หากต่ำกว่านั้นไม่ให้รับซื้อ และหากใครรับซื้อจะมีความผิดทางกฎหมาย ควบคู่ไปกับการประสาน กรมศุลกากรให้เข้มงวดตรวจสอบชายแดน ควบคุมการขนย้ายน้ำมันปาล์ม

 

    ด้าน นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ออกมากล่าวเสริมว่าตอนนี้ กระทรวงพลังงานได้ดำเนินงานตามมาตรการเร่งด่วนเพื่อดูดซับปริมาณปาล์มโดยมาตรการล่าสุด คือ การนำน้ำมันปาล์มดิบ 1.6 แสนตันมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าสำหรับโรงไฟฟ้าราชบุรี และบางปะกง เป็นระยะเวลา 3 เดือน ที่ขณะนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กำลังปรับปรุงโรงไฟฟ้าให้พร้อมดำเนินการได้ นายศิริ เผยว่าปกติแล้วทางโรงไฟฟ้าราชบุรี และบางปะกงจะใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง แต่บางกรณีฉุกเฉินที่ก๊าซฯ ขาดหรือหยุดจ่ายมาก็จะเดินเครื่องเป็นดีเซล ดังนั้น การดึงน้ำมันปาล์มมาใช้แทนถือเป็นเรื่องเหมาะสมกว่าที่จะไปใช้ในโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเตาที่มีต้นทุนสูงถึง 6-7 บาทต่อหน่วย แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าขณะเดียวกันการใช้น้ำมันปาล์มก็จะกระทบต่อต้นทุนค่าไฟสูงขึ้น 20-30 สตางค์ต่อหน่วย หรือคิดเป็นค่าไฟเฉลี่ย 3 - 3.20 บาทต่อหน่วย รวมต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการผลิตตกอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท 

 

ในส่วนของประชาชนที่กังวลว่าค่าไฟฟ้าจะสูงขึ้นนั้น ทาง กฟผ. จะออกมารับผิดชอบภาระ 500 ล้านบาท และงบกลางสนับสนุนจากรัฐบาลอีก  500 ล้านบาท จึงยืนยันไม่กระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้าของประชาชนที่ปัจจุบันคิดในอัตรา 3.60 บาทต่อหน่วย โดย กฟผ. ได้เริ่มวางมาตรการปรับปรุงเครื่องจักร ตั้งเป้าหมายดูดซับน้ำมันปาล์มดิบ 1.6 แสนตันภายใน 3 เดือนหลังจากเริ่มดำเนินการให้เร็วที่สุด