- 14 พ.ย. 2561
หลังจากมีกระแสข่าวออกมาถึงการลงมติให้กัญชาใช้ในวงการแพทย์ได้ ล่าสุดความคืบหน้าเกี่ยวกับกรณีนี้หลังจากนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกแถลงผลการการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
หลังจากมีกระแสข่าวออกมาถึงการลงมติให้กัญชาใช้ในวงการแพทย์ได้ ล่าสุดความคืบหน้าเกี่ยวกับกรณีนี้หลังจากนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกแถลงผลการการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยาเสพติดให้โทษ หรือที่เรียกว่า พ.ร.บ.กัญชา
พร้อมให้มีการพิจารณาเพิ่มเติมในสัปดาห์หน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้
โดยสาระสำคัญที่พิจารณาเพิ่มเติม ได้แก่ การห้ามมิให้ผลิต หรือนำเข้า ส่งออกยาเสพติดประเภท 5 เว้นแต่ผู้ที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องในกรณีพิเศษเพื่อใช้ในราชการ และห้ามมิให้
จำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภท 5 กับผู้ไม่มีใบอนุญาต สำหรับผู้มีใบอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายให้มีไว้ครอบครองได้แต่ห้ามเกินจำนวนที่จำเป็น สำหรับการใช้รักษาโรค
หรือปฐมพยาบาล หรือกรณีฉุกเฉินให้ใช้ยาเสพติดประเภท 5 ได้หากกระทำเพื่อเป็นการรักษาโรคโดยคำสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลป์ หรือเพื่อศึกษาวิจัย,กำหนด
ให้ผู้รับอนุญาตสามารถจำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ได้เฉพาะสถานที่ที่ระบุไว้เท่านั้น
นอกจากนี้ ครม. ยังมีความเห็นเป็นห่วงประชาชน จึงกำหนดให้กระทรวงสาธารณสุขควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 5 ปี หลังจากนั้นค่อยมาพิจารณาทบทวนปรับปรุงอีกครั้งซึ่ง
การเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยา ถือเป็นการปัดฝุ่นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 ที่ถือว่ามีความล้าหลังให้ทันสมัยเข้าสู่ปัจจุบันมากขึ้น
ทั้งนี้ยังมีการแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการผลิตยาแผนปัจจุบัน จากเดิม 10,000 บาท ซึ่งพ.ร.บ. ฉบับนี้ได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 – 50,000 บาท ซึ่งทางกระทรวง
ต้องไปออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้รอบคอบ เพื่อกำหนดให้ได้ว่าจาก 10,000 บาท ควรจะกำหนดเป็นเท่าไร แต่ต้องไม่เกิน 50,000 บาท หรือค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน คือร้านขายยาต่างๆ จากเดิมใบอนุญาตประมาณ 3,000 บาท ในพ.ร.บ.ฉบับนี้บัญญัติไว้ว่า ไม่เกิน 5,000 บาท เพียงแต่จะเป็นเท่าไหร่ คณะกรรมการจะพิจารณาอีกครั้ง
ก่อนหน้าที่จะมีการปลดล็อคกัญชาใช้ในการแพทย์นั้น ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ถือเป็นอีกหนึ่งเสียงในการสนับสนุน ให้กัญชานั้นสามารถนำมารักษาโรคได้อย่างถูกกฎหมายทั้งยังเคยเผยว่า กัญชาสามารถใช้รักษาได้ 3 โรค คือ
1. แก้คลื่นไส้อาเจียนในคนไข้มะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
2. โรคลมชักในเด็ก
3. โรคปลอกประสาทอักเสบ
ซึ่งจุดมุ่งหมายสำคัญของการอยากให้ปลดล็อกกัญชาของศ.นพ.ธีระวัฒน์ คือ การให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะที่ป่วยจากโรคที่รักษาไม่ได้และมีภาวะที่ยากต่อการควบคุมและมีผลกระทบกับคนรอบข้างคนในครอบครัว ภาวะและโรคที่ควรรวบรวมบรรจุเพิ่มเติมอยู่ในรายการที่กัญชาจะสามารถนำมาใช้ได้กับคนป่วยในประเทศไทยเช่น อาการแข็งเกร็ง ที่อาจร่วมกับการบิดของกล้ามเนื้อที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง เช่น จากเส้นเลือดตันหรือแตก ความผิดปกติที่ระดับของไขสันหลัง รวมถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเด็กหลังคลอดที่มีสมองพิการหรือเจริญเติบโตผิดปกติ อาการปวดทรมานที่นอกเหนือจากมะเร็งหรือปวดจากความผิดปกติของเส้นประสาทหรือระบบประสาท อาการปวดที่เกี่ยวเนื่องจากการอักเสบของข้อ เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ โดยปกติจะต้องใช้ยาแก้ปวดอย่างรุนแรงและร่วมกับยาแก้ปวดที่เป็นอนุพันธ์ของมอร์ฟีน ภาวะของการปฏิเสธอาหารทั้งที่เกิดขึ้นจากโรคทางจิตประสาท anorexia nervosa และโรคทางกายที่เกิดขึ้นที่มีผลกระทบกับจิตใจ โรคทางสมอง ได้แก่ โรคพาร์กินสันส์ และโรคสมองเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์ ในทางป้องกัน การชะลอโรค และการบรรเทาอาการที่มีอยู่ โรคเหล่านี้พบได้มากในผู้สูงอายุ
อนาคตหลังจาก 5 ปีแห่งการเริ่มต้นปลดล็อคกัญชา เราอาจเห็นเจ้าพืชกัญชาที่ปลูกในประเทศไทยนี้เป็นพืชเศรษฐกิจ ส่งออกอีกตัวสำคัญในประเทศไทยก็เป็นได้ หากสามารถควบคุมให้อยู่ในทิศทางที่สามารถบังคับได้ในปริมาณการใช้อันพอดี ไม่ส่งผลกระทบในภายหลัง