- 30 พ.ย. 2561
มจ.จุลเจิมขอนักการเมืองถอดหัวโขน หรือจะใส่เต้นกินรำกินงบแผ่นดิน เกรงใจยูเนสโกบ้าง
จากกรณีการประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก ครั้งที่ 13 มีผู้แทนจากประเทศภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Heritage) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เข้าร่วม 181 ประเทศ โดยในส่วนของประเทศไทยคณะกรรมการได้ประกาศชื่อ และรับรอง ได้มีการเสนอ "การแสดงโขนในประเทศไทย" (Khon masked dance drama in Thailand) เป็นตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติอย่างเป็นทางการ
ล่าสุด พลตรี หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล หรือ “ท่านใหม่” ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Chulcherm Yugala ถึงเรื่องราวดังกล่าวด้วย ซึ่งได้มีการมองเชื่อมโยงไปถึงนักการเมืองด้วย ทำให้เกิดประเด็นเป็นมุมมองที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยข้อความทั้งหมดระบุว่า
เมื่อ ICH องค์การยูเนสโก ได้พิจารณาและเห็นชอบให้รับรอง โขนในประเทศไทย เป็นตัวแทนของมรดก ICH ของมนุษยชาติ
ดังนั้น นักการเมือง นักเลือกตั้ง ข้าราชการ ควรจะถอดหัวโขนออกได้แล้วครับ เกรงใจ องค์การยูเนสโก บ้าง เพราะพวกท่านได้แต่สวมหัวโขน เต้นกินรำกินเท่านั้น แต่มิได้เป็นตัวแทนมนุษย์ชาติ โดยเฉพาะประเทศชาติ ตามที่ ยูเนสโกประกาศไว้
ขอให้พวกตู ใส่หัวโขน ได้เต้นกิน รำกินงบประมาณแผ่นดิน และภาษี ก็พอใช่ไหมครับ
นอกจากนี้ยังพบว่า ก่อนหน้านี้ หม่อมเจ้าจุลเจิม ยังได้โพสต์ข้อถึงเรื่องโขน ลงในเฟซบุ๊ก Chulcherm Yugala
การที่ UNESCO ประกาศให้ ทั้งไทยและกัมพูชา ต่างได้รับโขนเป็นมรดกวัฒนธรรมเช่นกัน
ผมจึงอยากให้ รัฐบาล โดย ก.วัฒนธรรม หรือนักวิชาการผู้รู้ ช่วยอธิบาย ความหมายที่แตกต่างกัน จากการที่ UNESCO ประกาศให้ โขนทั้งไทย และกัมพูชา ต่างได้รับโขนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมเช่นกัน
ดังนั้น โขน ไทย กับโขนเขมร ต่างจากทะเบียน ของ UNESCO กันอย่างไร? ...รบ โดย ก. วัฒนธรรม ช่วยอธิบาย ให้คนไทยได้เข้าใจถึงสิ่งที่เราได้มา และสิ่งทีแตกต่างกัน ของๆคำว่า โขนของเราจะเป็นประเภทที่ปฏิบัติสืบทอดอยู่ทั่วประเทศ ??.......ส่วนโขนของเขมร คือ ประเภทที่ต้องฟื้นฟูและอนุรักษ์??....มันต่างกัน อย่างไร....!!
ช่วยอธิบายความแตกต่าง ของความหมายให้เรา (คนไทย) ได้รู้ จะได้มีความรู้ ประดับสมอง และจะได้คุยแบบ (ผู้รู้จริง ไม่มั่ว) ได้อย่างถูกต้องกับคนชาติอื่นๆได้
ขอบคุณ : เฟซบุ๊ก Chulcherm Yugala