สรรพากร จ่อ แก้กฎหมาย เก็บภาษี "คนขายของออนไลน์"

ปัจจุบันการขายสินค้าออนไลน์นับเป็นช่องทางหนึ่งของการประกอบอาชีพ ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีมีความทันสมัยมากขึ้น ทำให้มีพ่อค้าแม่ค้าจำนวนไม่น้อยหันหน้ามาทำธุรกิจประเภทนี้อย่างเต็มตัว ส่วนหนึ่งเพราะไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน และใช้เงินลงทุนน้อยกว่ามาก อย่างไรก็ตามเป็นความจริงที่ว่ามีผู้ประกอบการบางรายพยายามหลบเลี่ยงการจ่ายภาษี

สรรพากร จ่อ แก้กฎหมาย เก็บภาษี \"คนขายของออนไลน์\"

 

ปัจจุบันการขายสินค้าออนไลน์นับเป็นช่องทางหนึ่งของการประกอบอาชีพ ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีมีความทันสมัยมากขึ้น ทำให้มีพ่อค้าแม่ค้าจำนวนไม่น้อยหันหน้ามาทำธุรกิจประเภทนี้อย่างเต็มตัว ส่วนหนึ่งเพราะไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน และใช้เงินลงทุนน้อยกว่ามาก อย่างไรก็ตามเป็นความจริงที่ว่ามีผู้ประกอบการบางรายพยายามหลบเลี่ยงการจ่ายภาษี ทำให้รัฐบาลจำต้องเข้ามาสอดส่องเพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างถูกต้องไม่ขัดต่อหลักกฏหมาย 
 
เกี่ยวกับเรื่องนี้ 7 ธ.ค. 2561 มีรายงานว่า นายปิ่นสาย สุรัสวดี โฆษกกรมสรรพากร ได้ออกมาเปิดเผยถึงกรณี ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ …) พ.ศ. … เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan)

 

สรรพากร จ่อ แก้กฎหมาย เก็บภาษี \"คนขายของออนไลน์\"
 
โดยทรงกรมฯ ขอยืนยันว่าการยกร่างแก้ไขกฎหมาย ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และส่วนที่เกี่ยวข้อง อย่างรอบคอบ จึงไม่ได้เป็นการแก้ไขกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของประชาชนที่เกินกว่าเหตุอย่างที่วิพากษ์วิจารณ์กัน เพราะเป็นการใช้สิทธิที่ชอบเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ

อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์โดยหลักของการแก้ไขกฏหมายในครั้งนี้ คือ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนดำเนินการ เพื่อเดินหน้าเรื่องอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบ สอดคล้องกับนโยบายขับเคลื่อนประเทศแบบไทยแลนด์ 4.0 ของทางรัฐบาล โดยมีสาระสำคัญคือ จะช่วยให้การเสียภาษี หัก ณ ที่จ่าย ในอัตรา 3% จากเดิมที่ผู้เสียภาษีจะต้องเตรียมเอกสารมายื่นต่อกรมฯ ซึ่งมีความยุ่งยาก และอาจมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด

 

สรรพากร จ่อ แก้กฎหมาย เก็บภาษี \"คนขายของออนไลน์\"
 
แต่สำหรับกฏหมายใหม่ สถาบันการเงินจะหักภาษีและเป็นผู้ยื่นให้กรมสรรพากรแทนทั้งหมดโดยจะเป็นการรองรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิมที่ต้องยื่นเอกสารเป็นกระดาษ ก็จะเปลี่ยนเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์แทน ส่วนกรณีที่กฎหมายกำหนดให้สถาบันการเงินรวมถึงนอนแบงก์ ต้องแจ้งข้อมูลบัญชีที่รับเงินเข้าในข่ายที่เป็นธุรกรรมพิเศษ 

ประกอบด้วย 
1. การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีต่อธนาคาร 
2. การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีต่อธนาคาร และยอดรวมของการรับฝากตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป

โดยโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า "กรมฯ ไม่ได้มีเจตนาแก้ไขกฎหมายโดยมุ่งไปตรวจสอบใคร ธนาคารมีหน้าที่ส่งข้อมูลมาให้กรม และข้อมูลทุกอย่างจะอยู่ในระบบ ไม่มีเจ้าหน้าที่กรมคนไหนได้เห็น ข้อมูลที่ส่งมา จะส่งมาเฉพาะ ชื่อ นามสกุล จำนวนครั้งที่ฝากโอน และวงเงินที่ได้รับเท่านั้น ขอยืนยันว่าเป็นการส่งข้อมูลเท่านั้น เพื่อที่จะได้นำไปทำแผนปรับปรุงประสิทธิภาพจัดเก็บต่อไป"

สรรพากร จ่อ แก้กฎหมาย เก็บภาษี \"คนขายของออนไลน์\"

พร้อมให้ความกระจ่างถึงกรณีกระแสวิพากษวิจารณ์ ว่าเป็นการจงใจออกกฏหมายเพื่อเก็บภาษีจากกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ และกลุ่มเอสเอ็มอี ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ซึ่งตามประมวลรัษฎากร หากกลุ่มผู้ค้าดังกล่าว มีรายได้ถึงเกณฑ์ ก็ต้องยืนแบบเสียภาษีอยู่แล้ว ไม่ได้หมายความว่ามีการออกกฎหมายแล้วจะต้องเสียภาษี เพราะทุกคนมีหน้าที่เสียภาษีให้ถูกต้อง โดยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2-8) กำหนดให้อาชีพอิสระต้องเสียภาษีเหมา 0.5% ต่อรายได้ ซึ่งหากกลุ่มผู้ค้าออนไลน์มีรายได้ถึงเกณฑ์เข้าบัญชี 2 ล้านบาท ก็จะเสียภาษีแค่ 10,000 บาท
 
และภายหลังกฎหมายฉบับนี้จะช่วยให้ทางกรมฯ สามารถแยกข้อมูลผู้เสียภาษีรวมทั้งกลุ่มผู้ค้าออนไลน์ได้แม่นยำมากขึ้น โดยจะแยกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่เสียภาษีถูกต้อง และกลุ่มเสี่ยงก็ต้องจำแนกต่อไปว่าเสี่ยงมากหรือเสี่ยงน้อย โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีรายได้ถึงเกณฑ์แต่ "ไม่เคย" เสียภาษีเลย ทางกรมฯ ก็จำเป็นต้องส่งหนังสือยื่นแบบให้ถูกต้อง ส่วนกลุ่มที่พบความเสี่ยงมากก็จะต้องทำหนังสือเชิญเข้ามาพบเพื่อพูดคุย
 
อย่างไรก็ตามกฏหมายฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในปี 2563 และจะมีผลต่อการยื่นแบบเสียภาษีในปี 2564 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขรายละเอียดในการดำเนินงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพและเกิดความยุติธรรมต่อทุกฝ่าย ทั้งนี้ทางกรมฯ เชื่อว่าการแก้ไขกฎหมายจะไม่กระทบกับคนส่วนใหญ่ ซึ่งจากข้อมูลพบว่า คนไทยมีรายได้เฉลี่ย 26,000 บาทต่อเดือน หรือประมาณ 4-5 แสนบาทต่อปี ไม่เข้าเกณฑ์เสียภาษีที่ต้องมีรายได้ 2 ล้านบาท

 

สรรพากร จ่อ แก้กฎหมาย เก็บภาษี \"คนขายของออนไลน์\"