- 19 ธ.ค. 2561
เรียกได้ว่าเป็นข่าวดีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ จากกรณีรัฐบาลเข็นมาตรการหลากหลายเพื่อมอบเป็นของขวัญแก่ประชาชนโดยเฉพาะมาตรการ "ช้อปช่วยชาติ" ที่มีขึ้นในทุกปี ถึงแม้ว่าปีนี้จะแตกต่างจากปีก่อนอยู่บ้าง เพราะทางรัฐบาลคำนึงถึงการแก้ปัญหาแบบบูรณาการเป็นหลัก อีกทั้งขณะเศรษฐกิจในภาพรวมกำลังดีขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องกระจายสินค้าเข้าร่วมโครงการเช่นปีก่อน
เรียกได้ว่าเป็นข่าวดีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ จากกรณีรัฐบาลเข็นมาตรการหลากหลายเพื่อมอบเป็นของขวัญแก่ประชาชนโดยเฉพาะมาตรการ "ช้อปช่วยชาติ" ที่มีขึ้นในทุกปี ถึงแม้ว่าปีนี้จะแตกต่างจากปีก่อนอยู่บ้าง เพราะทางรัฐบาลคำนึงถึงการแก้ปัญหาแบบบูรณาการเป็นหลัก อีกทั้งขณะเศรษฐกิจในภาพรวมกำลังดีขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องกระจายสินค้าเข้าร่วมโครงการเช่นปีก่อน
อย่างไรก็ตามมีรายงานเพิ่มเติมก่อนหน้านี้ ว่า นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.การคลังเผยว่า ทางกระทรวงฯ อยู่ระหว่างศึกษามาตรการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ให้กับผู้ใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต ในช่วง "เทศกาลตรุษจีน" หรือในช่วงระหว่างวันที่ 1-15 ก.พ. 2562 จุดประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2562 และสนับสนุนมาตรการเนชั่นแนล อีเพย์เมนท์โดยจะคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 5% ให้ประชาชนทั่วไป ที่ใช้จ่ายในช่วงวันดังกล่าว
โดยจะกำหนดวงเงินไม่เกิน 20,000 บาทต่อคน หรือ คิดเป็นวงเงินการคืนภาษีสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท คาดว่าจะใช้งบประมาณเพื่อดำเนินมาตรการ 10,000 ล้านบาท ขั้นตอนและรูปแบบจะมีความคล้ายกับการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) โดยประชาชนที่จะได้คืนแวต 5% นั้นจะต้องใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต กับร้านค้าที่ติดตั้งเครื่อง "อีดีซี" หรือ "พีโอเอส"
ซึ่งเครื่องดังกล่าวจะสามารถแยกรายจ่ายราคาสินค้า และ แวต ให้กับกรมสรรพากรได้ในทันที และจะช่วยให้ทางกรมสรรพากรได้รับข้อมูลว่าต้องคืนแวตให้เป็นจำนวนเงินเท่าใด ซึ่งจะคืนภาษีผ่านบัญชีพร้อมเพย์ ที่ประชาชนผูกไว้เฉพาะหมายเลขประจำตัวประชาชน เท่านั้น ส่วนที่ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขโทรศัพท์มือถือจะ "ไม่ได้รับสิทธิคืนแวต"
ความคืบหน้าล่าสุด 19 ธ.ค. 2561 ภายหลังมาตรการได้รับไฟเขียวเรียบร้อยแล้ว มีรายละเอียดเพิ่มที่ทางกระทรวงฯ ต้องแจ้งให้ทราบคือ สามารถซื้อสินค้าได้ทุกชนิด "ยกเว้น" เหล้า เบียร์ บุหรี่ โดยมาตรการนี้เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนใช้อีเพย์เมนต์ หนุนร้านค้าเข้าระบบบริการเก็บข้อมูลการขายเเละการจ่ายเงินเมื่อมีการขายสินค้าหรือบริการ หรือระบบพีโอเอส ซึ่งช่วยทำให้ร้านค้าเข้าสู่ระบบภาษีของกรมสรรพากรด้วย จากการคำนวณการใช้จ่ายของประชาชน
"คาดว่าจะใช้เงินคืนภาษีกว่า 9,240 ล้านบาท ยืนยันว่าไม่ใช่การหาเสียง และไม่เกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้ง เพราะกระทรวงการคลังต้องการสร้างระบบอีเพย์เมนต์ให้แข็งแกร่ง ขณะเดียวกันยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ เราไม่ได้เน้นไปที่การเติบโตของเศรษฐกิจ แต่เน้นไปที่การสร้างระบบอีเพย์เมนต์ โดยวงเงินคืนแวต 1,000 บาทน่าจะเพียงพอ" รมว.การคลัง ระบุ
ขณะเดียวกันนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษก ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม. คืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ประชาชน 5% เพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายให้ประชาชนในช่วงตรุษจีนสอดคล้องกับความต้องการจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคบริโภคที่มากขึ้น และยืนยันว่าไม่ได้เป็นการหาเสียงแต่อย่างใด