- 28 ธ.ค. 2561
จากกรณีนายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษก ป.ป.ช. แถลงผลการประชุม ป.ป.ช. กรณีถือครองนาฬิกาหรู ของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ 5 เสียง 3 ยกคำร้องกรณีดังกล่าว
จากกรณีนายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษก ป.ป.ช. แถลงผลการประชุม ป.ป.ช. กรณีถือครองนาฬิกาหรู ของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ 5 เสียง 3 ยกคำร้องกรณีดังกล่าว
โดยเห็นว่านาฬิกาเป็นของนายปัฐวาท สุขศรีวงศ์ ที่ให้ พล.อ.ประวิตร ยืมใช้ จำนวน 21 เรือน ซึ่งเสียงข้างน้อยยังเห็นว่า ยังไม่มีมูลเพียงพอนั้นให้ดำเนินการสอบเพิ่มเติม ส่วนอีกเรือนแม้ยังหาไม่ได้ว่าเป็นของนายปัฐวาทชอบให้เพื่อนยืมเป็นเรื่องปกติ แต่เข้าใจได้ว่าให้ยืม ส่วนแหวนจำนวน 12 วง นั้นผลสอบพยานหลักฐานรับฟังได้ว่าเป็นมรดกที่ได้รับจากมารดา ไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ จึงเห็นว่าไม่มีมูลเพียงพอว่าพลเอกประวิตร แสดงบัญชีทรัพย์สินอันเป็นเท็จ
ซึ่งก็ควรจะเป็นการลบล้างทุกคำครหา แต่กระแสสังคมกลับไปเป็นเช่นนั้น เพราะบางส่วนยังไม่ยอมรับต่อมติดังกล่าว รุมประนามกล่าวบริภาษทั้งตัว พล.อ.ประวิตร และ ป.ป.ช. อย่างไม่ลดละ อย่างไรก็ตามการแสดงความคิดเห็นอันเป็นปัจเจกก็เป็นเรื่องปกติ จะวิพากษ์วิจารณ์ไปในทิศทางใดก็สามารถเป็นไปโดยอิสระ แต่จากข้อเท็จจริงจะเห็นได้ว่าทาง ป.ป.ช. นั้นทำงานตรวจสอบตามกระบวนการมิได้ขาดตกบกพร่อง ก็ควรว่ากันไปตามข้อกฏหมาย
ต่อกรณีดังกล่าว บนเฟสบุ๊ก "Kittitouch Chaiprasith" ซึ่งเป็นของนักวิชาการอิสระ ที่เกาะติดประเด็นนี้แต่แรกเริ่ม ได้รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบต่อสองกรณีที่กำลังเป็นที่ถกเถียง ไว้อย่างน่าสนใจโดยระบุว่า
เปรียบเทียบมาตรฐานการทำงานของ ป.ป.ช. กรณีสุพจน์ ทรัพย์ล้อม - พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ
--------------------
- เห็นมีหลายคนสงสัยว่า แล้วถ้านำกรณีที่ พล.อ.ประวิตร ยืมนาฬิกาจากนายปัฐวาทเพื่อนสนิทมาตลอด 20-30 ปี เปรียบเทียบกับสุพจน์ ทรัพย์ล้อม มันต่างกันอย่างไร? และ ป.ป.ช.ใช้มาตรฐานอะไรมาตัดสิน โพสท์นี้เราจะมาทำความเข้าใจกันนะครับ เพื่อความกระจ่างชัด ว่ามันเป็นอย่างไรกันแน่
--------------------
กรณีสุพจน์ ทรัพย์ล้อม
--------------------
- สุพจน์อดีตปลัดกระทรวงคมนาคมที่คดีร่ำรวยผิดปกติ เนื่องจากโดนโจรขึ้นบ้าน และปล้นเงินสดไปหลายล้าน และโจรที่ถูกจับได้ระบุว่าพบเงินสดจำนวนร่วม 500 ล้าน ให้ห้องเก็บเงินเหม็นฟุ้งไปด้วยกลิ่นธนบัตร
- บริบทแวดล้อมเห็นชัดว่า นายสุพจน์มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ และเมื่อตรวจสอบทรัพย์สิน พบว่ามีรถตู้โฟร์ลสวาเก้น ที่นายสุพจน์ไม่ได้แจ้งในบัญชีทรัพย์สิน 1 คัน
- เมื่อ ป.ป.ช.ตรวจสอบ พบว่าเป็นของนายเอนก จงเสถียร เจ้าของบริษัท เอ็มเอ็มพี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ทำธุรกิจเกี่ยวกับฟิล์มถนอมอาหารในนาม เอ็ม แรป ซึ่งนางนฤมล ทรัพย์ล้อม ภรรยาของนายสุพจน์ (ซึ่งทำงานเป็นเลขานุการของ นายศรีสุข อดีตอธิบดีกรมทางหลวง) เคยไปทำงานวางระบบบุคลากรให้ราว 1 ปีกว่าๆ โดยไม่รับค่าตอบแทน
- จนนายเอนก ตอบแทนด้วยการเบิกเงินให้นางนฤมล นำไปซื้อรถเพื่อมาใช้ในกิจการทางศาสนา โดยยังใช้ชื่อในทะเบียนรถเป็นชื่อนายเอนกอยู่ แต่การครอบครองอยู่ภายใต้การดูแล บำรุงรักษาโดยครอบครัวของนายสุพจน์ มาเป็นร่วม 2 ปี ก่อนเกิดเหตุปล้นบ้านนายสุพจน์
- นอกจากนี้ภรรยานายสุพจน์ยังนำรถไปให้ทางเจ้าอาวาสวัดดังแห่งหนึ่งในงานทางกิจการศาสนาจริง (ซึ่งก็ถือว่ามีเรื่องดีบ้าง) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสิทธิอำนาจในการมอบให้ผู้อื่นใช้ชั่วคราวนั้น อยู่กับนางนฤมลหมด มิใช่นายเอนก
- อีกทั้งเมื่อลูกสาวของนางนฤมลและนายสพจน์ซื้อรถ ก็พยายามออกเลขทะเบียนให้ตรงกับรถที่นางนฤมลคือ หมายเลข 8822
.................................
1. จากได้เงินมาเพื่อนำไปซื้อเอง
2. การครอบครองและใช้งานตลอด 2 ปี
3. การมอบให้เจ้าอาวาสยืมไปใช้ชั่วคราว
4. การที่ลูกสาวพยายามออกทะเบียนตรงกัน
- ซึ่งจากบริบทแวดล้อมทั้งหมดประกอบด้วย จากหลักฐานทั้งหมดทำให้เห็นว่า รถคันดังกล่าวเป็นของนายสุพจน์-ภรรยาจริง เพียงแต่ผู้ขึ้นทะเบียนคือนาย เอนก เท่านั้น
- อีกทั้ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 ยังระบุว่า การครอบครองไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีชื่อในทะเบียนรถก็ได้ แต่ให้ดูจากพฤติการณ์ในการซื้อการครอบครอง รวมถึงการใช้รถยนต์ด้วย
*** ซึ่งนางนฤมลซื้อเอง ครอบครองเอง และใช้เอง รวมถึงให้สิทธิคนอื่นใช้ต่อด้วย ดังนั้นทรัพย์สินนี้จึงเป็นของนางนฤมลและนายสุพจน์โดยแท้
*** ป.ป.ช. จึงพิจารณ่เห็นว่านายสุพจน์มีความผิดที่ไม่ได้รายงานทรัพย์สินซึ่งตนครอบครอง (ซื้อเอง ครอบครองเอง ใช้งานเอง ให้สิทธิเจ้าอาวายืมไปใช้) และประกอบกับคดีความผิดเรื่องร่ำรวยผิดปกติ งานนี้ ป.ป.ช.เลยจัดไม่ยั้ง
อ้างอิง:
https://www.isranews.org/isranews…/61493-report00-61493.html
https://www.isranews.org/isranews-s…/61722-report-61722.html
--------------------
กรณี พล.อ.ประวิตร
--------------------
1. บริบทแวดล้อมที่ต่างกัน
- ทั้งนี้การที่ ป.ป.ช.สืบหลักฐานด้วยการข้อเอกสารจากกรมศุลกากร และ ติดต่อไปยังบริษัทเจ้าของนาฬิกา รวมถึงพยานและพฤติการณ์แวดล้อมแล้วจะเห็นได้ว่า #บริบทแวดล้อม กรณี พล.อ.ประวิตร นั้นก็ต่างจากกรณีนายสุพจน์อย่างสิ้นเชิง
1) นายปัฐวาทมีพฤติกรรมสะสมนาฬิกาจริง และมีนาฬิกาหรูร่วม 200-300 เรือน
2) จากพยานแวดล้อมที่ ป.ป.ช.สอบสวนมา นายปัฐวาท ให้เพื่อนยืมนาฬิกาจริง และไม่มีแค่ พล.อ.ประวิตร เท่านั้น แถมยังให้ยืมแบบนี้มาหลายสิบปีแล้วด้วย
https://www.thairath.co.th/content/1456343
https://www.khaosod.co.th/politics/news_2013796
3) มีหลักฐานว่านายปัฐวาทเป็นเจ้าของนาฬิกา 3 เรือนจาก 21 เรือนจริง ส่วนที่เหลือทางบริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศไม่ให้ความร่วมมือในการส่งข้อมูล
(เพราะเป็นความลับลูกค้า และเขาไม่จำเป็นต้องสนใจกฎหมายไทย ยกเว้นว่านายปัฐวาท จะโดนดำเนินคดี แล้วมีหมายศาล กรณีนี้อาจขอความร่วมมือได้ แต่ถ้าอยู่ดีๆ คุณไปบอกว่าจะตามดูว่าเจ้าของใช้คนนี้ที่ให้เพื่อนยืมไปหรือเปล่า บริษัทนาฬิการะดับโลกที่ไหนก็ไม่เปิดเผยข้อมูลให้คุณหรอกครับ เกิดทำแล้วมีปัญหาโดนฟ้องร้องตายเลย)
*** อย่างน้อยสิ่งที่ปรากฎชัดเจนก็คือ นายปัฐวาทเป็นนักสะสมนาฬิกาจริง มีนาฬิกาหรูหลายร้อยเรือนในบ้าน นายปัฐวาทมีนิสัยชอบให้เพื่อนยืมนาฬิกาจริง และทำมาหลายสิบปี นอกจากนี้นาฬิกาที่ตรวจได้ 3 เรือนก็เป็นของนายปัฐวาทจริง
----------------------
2. ยืมเปลี่ยนไปมาให้รายงานทรัพย์สินอย่างไร?
- อีกทั้งการยืมของ พล.อ.ประวิตร ก็เป็นการยืมแบบ #หมุนเวียนเปลี่ยนไปมา อาจจะยืมมาใส่สองวันไม่ชอบก็คืน เปลี่ยนอันใหม่มาใส่ ชอบหน่อยก็ใส่สักเดือนสองเดือน แล้วเปลี่ยนเรือนใหม่
- กรณีแบบนี้จะบอกได้อย่างไรว่าเป็น "การครอบครองทรัพย์สิน" ถ้าใช้มาตรฐานการพิจารณาเดียวกับคดีของนายสุพจน์ ต้องสามารถบอกได้ว่า พล.อ.ประวิตรเป็นผู้ซื้อนาฬิกา ครอบครองนาฬิกา และใช้งานอยู่ในระยะเวลาหนึ่งจนแน่ใจได้ว่าเป็นเจ้าของตัวจริง (แต่อาจใช้ชื่อคนอื่น)
- แต่การยืมไปมาแปบๆ ก็เปลี่ยน มันจะไประบุได้อย่างไรว่าเป็นเจ้าของ? และคำถามต่อมาคือ ให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินอย่างไรครับ ?
- สมมุติก่อนยื่นเอกสารยืมมา 2 เรือน ตอนยื่นเอกสารอยู่ ไม่ชอบคืนไปทั้งสองเรือน แล้วยืมเรือนอื่นมาอีก 1 เรือน อีกทั้งยี่ห้อนาฬิกา และ ราคาก็ไม่ใช่ของเดิม มันจะให้รายงานอย่างไรครับ ?
- เดี๋ยวสองสามวัน เดี๋ยวสองสัปดาห์ก็มีนาฬิกาผลุบๆ โผล่ หรือครับ? มันจะไม่ประหลาดหรือครับ เดี๋ยวก็มาตั้งคำถามอีกว่ายืมแล้วคืนหรือยัง ยืมแล้วอยุ่ไหน ตอนนี้ยืมมากี่เรือน ส่งคืนไปวันที่เท่าไร?
*** ใครที่ไม่เห็นด้วยและยังยืนยันว่ายืมมาวันสองวันก็ต้องยื่น ช่วยบอกหน่อยว่าในเชิงปฏิบัติคุณจะเขียนอย่างไร? ขอแบบที่เป็นข้อเท็จจริงที่เอาไปปฏิบัติได้จริงและราชการยอมรับได้ ไม่เอาแบบพล่ามหลักการน้ำท้วมทุ่งที่ไม่สัมพันธ์กับบริบทแวดล้อมนะครับ
----------------------
3. เรื่องการยืมถือเป็นหนี้สิน?
- หลายคนยังสับสนคำว่า "ยืม" แล้วอ้างว่าการยืมมีผลต่อหนี้สิน ต้องมีการรายงานต่อ ป.ป.ช. แต่นั่นมันหมายถึงยิมตามกำหมาย ยืมที่ออกเป็นเอกสารทางนิติกรรม ไม่ใช่ยืมแบบเพื่อนยืมของกันซึ่งไม่มีผลทางกฎหมาย ไม่ได้ระบุว่าต้องมีการใช้คืน มีดอกเบี้ย
- ส่วนที่กลัวว่าจะเอามาให้ใช้แล้วอ้างว่ายืมแบบนายสุพจน์นั้น ก็ต้องไปพิสูจน์การใช้งานและระยะเวลาการครอบครอง แบบที่ทาง ป.ป.ช.และศาลทำในคดีนายสุพจน์
--------------------
เรื่องนี้นักการเมืองจะไม่ยุ่ง
--------------------
- สังเกตุให้ดีนะครับว่ากรณีนี้ นักการเมืองส่วนใหญ่จะเงียบหมดเลย เพราะรู้ว่ากรณีการยื่นเอกสาร มันมีช่องโหว่ให้เอาผิดได้เสมอ ซึ่งหลายคนก็ไม่แน่ใจว่าที่ยื่นนั้นถูกต้อง 100% ไหม เกิดพลาดมาจะซวยกันใหญ่
- เรื่องนี้พวกนักการเมืองรู้ดีครับเลย "สงบปากสงบคำ" ปล่อยให้เพจการเมืองออกมาตีปี๊บกันไปเอง เพราะพูดมากจะเข้าตัว บ้างก็เอามาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองโจมตีกันไปมา
- เหมือนกรณีที่พรรค ปชป.เล่นงานยิ่งลักษณ์เรื่อง นาฬิกา 2.5 ล้านบาท ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 เป็นต้น
https://www.isranews.org/…/58-…/isranews-scoop/25442-nk.html
--------------------
เล่นเรื่องการยื่นบัญชีทรัพย์สินที่ไม่ละเอียด ยังจะเข้าท่าและตรงประเด็นกว่า
--------------------
- กรณีนาฬิกาหรูของนายปัฐวาท มหาเศรษฐีที่ให้ พล.อ.ประวิตร เพื่อนรักเพื่อนสนิทยืมใส่สลับไปมาตลอด 20-30 ปีนั้น จริงๆ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยากและไม่ซับซ้อนอะไร
- ถ้าจะเล่น พล.อ.ประวิตรจริง ผมยังมองว่าไปเล่นกรณีการยื่นทรัพย์สินแบบชุ่ยๆ ประเภทที่ยื่นมาว่าทรัพย์สินเกิน 2 แสนบาทมีแค่เช็คมุลค่า 1 ล้านบาทใบเดียว ยังจะดีซะกว่า
- เพราะกรณีนี้ถ้าเทียบกับนักการเมืองที่มีชื่อเรื่องความโปร่งใสอย่างอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ระบุพวกเครื่องประดับมาแบบครบถ้วนทุกอย่างถึง 27 รายการ มันจะเปรียบเทียบได้ชัดเจนมากๆ ว่า พล.อ.ประวิตรทำบัญชีทรัพย์สินได้ค่อนข้างหยาบมากๆ
(ส่วนผมก็ไม่เชื่อหรอกว่าท่านจะไม่มีของที่มูลค่าเกินสองแสนเพียงแค่เช็คใบเดียว)
- เอาแค่เรื่องการระบุทรัพย์สินแค่นี้ ก็โจมตี พล.อ.ประวิตร ได้ตรงประเด็นกว่า และหาข้อโต้แย้งได้ยากด้วยครับ
- แต่ก็นั่นแหละครับ สังคมชอบเรื่องที่มันดูดราม่าแบบ เรื่องยืมนาฬืกาเพื่อน (ซึ่งมันไม่มีประเด็นหรือผิดข้อกฎหมายอะไรเลย) มากกว่าจะไปดูเรื่องที่อาจเข้าข่ายมีความบกพร่องจริงๆ
เอกสารยื่นบัญชีทรัพย์สินของ พล.อ.ประวิตร
https://www.nacc.go.th/download_acc/asset_report/minD7.pdf
เอกสารยื่นบัญชีทรัพย์สินของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
https://www.nacc.go.th/download_acc/asset_report/minD1.pdf
อ้างอิงจาก:
https://www.facebook.com/Ariya.Aruninta/posts/873038646210906
---------------------
*** สุดท้ายนี้ฝากไว้เหมือนเดิมครับ คุณจะคิดเห็นต่างกันอย่างไรต่อเรื่องทางสังคม แต่ขั้นแรกที่สังคมต้องมีร่วมกันก็คือ การยืนบนพื้นฐานของ #ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ และ #บริบทแวดล้อมของแต่ละกรณี
*** ไม่ใช่เห็นพาดหัวว่า "อ้างว่ายืมมาเหมือนกัน" แล้วคิดว่าสองกรณีนี้มันเหมือนกัน เพราะบริบทแวดล้อมและพฤติการณ์แห่งรูปคดีมันต่างกันเยอะครับ
*** สุดท้ายข้อเท็จจริงก็ยังเป็นข้อเท็จจริงอยู่วันอย่างค่ำ และข้อเท็จจริงไม่สนอารมณ์ความรู้สึกหรือกระแส เพราะถ้าสนแต่กระแส ศรีวราห์ที่ทำคดีเสือดำอย่างรัดกุม ก่อนส่งฟ้องจนศาลจะตัดสินคดีเดือนมีนาคม 2562 นี้แล้ว (ซึ่งเร็วกว่าคดีอื่นพอสมควรเลย) ก็คงจะเป็นคนชั่วในสายตาใครหลายคน ที่ไม่เคยอ่านข่าว แต่โดนปั่นหัวจากเพจการเมืองหรือเพจเรียกยอดไลค์ขายเสื้อนั้นแหละครับ...