ว่าที่แคนดิเดทนายกฯ “บิ๊กตู่” จาก “นายทหาร” จำ(ต้อง)เป็น.. “นายก” ในสถานการณ์ปากเหว

ชื่อของพล.อ.ประยุทธ์ ที่เป็นจับจ้องจากกระแสสังคม จากการก้าวเท้าเข้าสู่เส้นทางการเมือง โดยพล.อ.ประยุทธ์ ผู้ฝ่ายวิกฤต การเมือง ยุติความขัดแย้งระหว่างกลุ่มมวลมห่าประชาชนกปปส. ที่ต้องการขับไล่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์พ้นจากอำนาจ

นับจากนี้ต้องเรียกว่าเข้าสู่การนับถอยหลังวันเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปีหน้านี้อย่างเป็นทางการ  และยิ่งใกล้เลือกตั้งมากขึ้นเท่าไหร่  น้ำหนักของภาพความสนใจในตัวผู้นำประเทศก็จะเริ่มมากขึ้น  คู่ไปกับความคึกคักในเรื่องหน้าตาว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. รวมถึงความเคลื่อนไหวของ "โพลล์" สำนักต่างๆ หรือการสำรวจความคิดเห็นประชาชนก็จะยิ่งเร้าใจมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งผลสำรวจจากหลายๆสำนักชี้ชัดว่า ประชาชนให้ความนิยมพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาเป็นอันดับ1 ตามด้วย คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธ์ มีคะแนนมาเป็นอันดับ2 และอันดับ3  นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ

 

ชื่อของพล.อ.ประยุทธ์ ที่เป็นจับจ้องจากกระแสสังคม จากการก้าวเท้าเข้าสู่เส้นทางการเมือง โดยพล.อ.ประยุทธ์ ผู้ฝ่ายวิกฤต การเมือง ยุติความขัดแย้งระหว่างกลุ่มมวลมห่าประชาชนกปปส.  ที่ต้องการขับไล่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์พ้นจากอำนาจ หลังจากพยายามผลักดัน เสนอ ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯฉบับสุดซอย  กับฝ่ายมวลชนคนเสื้อแดง -นปช. ผู้สนับสนุนรัฐบาลยิ่งลักษณ์

ย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่พล.อ.ประยุทธ์ ครั้นดำรงตำแหน่งเป็น “ผู้บัญชาการทหารบก”  ต้องพบกับข้อครหา ที่ระบุว่าการได้มาซึ่งตำแหน่งผบ.ทบ. นั้นมาจากอำนาจทางการเมือง  ทั้งที่ข้อเท็จจริงแล้วพล.อ.ประยุทธ์ มาตามพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551

 

ในมาตรา 25 ที่ระบุไว้ในวรรค 2-3 ว่า “การพิจารณาแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลของสำนักงานปลัดกระทรวงและส่วนราชการในกองทัพไทย ให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการที่ส่วนราชการนั้นแต่ง ตั้งขึ้นแล้วเสนอคณะกรรมการตามวรรคสามพิจารณา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงกลาโหมกำหนด

 

ให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบกผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เจ้ากรมเสมียนตราเป็นผู้ช่วยเลขานุการมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาแต่ง ตั้งนายทหารชั้นนายพลของส่วนราชการตามวรรคสองและระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวง และส่วนราชการในกองทัพไทย

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการจัดทำพ.ร.บ.ดังกล่าว ได้จัดโครงสร้างของคณะกรรมการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารว่า พ.ร.บ.กลาโหมระบุว่าให้มีคณะกรรมการในการพิจารณา 7 คนโดยมี รมว.กลาโหม รมช.กลาโหม (กรณีที่มีตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม หากไม่มี ก็จะเหลือเพียง 1 เสียงจาก 6 เสียง) ปลัดกระทรวงกลาโหม ผบ.ทหารสูงสุด ผบ.ทบ. ผบ.ทร. และ ผบ.ทอ. เมื่อมีการจัดตั้งแล้ว ก็ออกข้อบังคับของกระทรวงกลาโหมถึงขอบเขตในอำนาจของคณะกรรมการดังกล่าว

 

สังเกตได้ว่าจะมีฝ่ายการเมืองเพียง 2 เสียง คือรมว.กลาโหม รมช.กลาโหม จากทั้งหมด 7 เสียง ซึ่งหากผู้บัญชาการเหล่าทัพผนึกกำลังกัน ก็จะสามารถแต่งตั้งโยกย้ายได้ทุกตำแหน่งตามความต้องการ โดยที่ฝ่ายการเมืองไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เลย

 

ว่าที่แคนดิเดทนายกฯ “บิ๊กตู่” จาก “นายทหาร” จำ(ต้อง)เป็น.. “นายก” ในสถานการณ์ปากเหว

 

ต่อมาในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พล.อ.ประยุทธ์ก็อดทนต่อคำดูถูกตราหน้า มองว่าจะเป็นทหารแตงโม  เพราะมีความพยายามที่จะแทรกแซงกองทัพ  ตั้งแต่ในครั้งที่นายทักษิณ พี่ชาย ขึ้นเป็นนายกรับมนตรี ได้เข้าไปยุ่มยาม หวังควบคุมกองทัพให้เด็ดขาด คล้ายจะต้องการสร้างรัฐตำรวจจนกองทัพต้องแก้ไขกฎหมายป้องกันนักการเมืองแทรกแซง การวางเกมให้สภากลาโหมอนุมัติกฎหมายนิรโทษกรรม การควบคุมกองทัพ โดยเฉพาะจากกรณีคลิปเสียงสนทนาหลุดออกมา เป็นบทสนทนา คล้ายน้ำเสียงของ "บิ๊กอ๊อด" พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมช.กลาโหม (ขณะนั้น) กับ บุคคลที่มีน้ำเสียงคล้าย นายทักษิณ ออกมาแพร่หลายในโลกโซเชียล เมื่อ ก.ค. 2556   ที่หลายคนรู้จักกันดี ในนาม “คลิปถังเช่า”

 

การโยกย้ายนายทหาร... คนเสียงคล้าย ทักษิณ ชื่นชอบ พล.ร.อ.อมรเทพ ณ บางช้าง คณะที่ปรึกษากองทัพเรือ  (ขณะนั้น)  และอยากให้ตั้งเป็น ผบ.ทร.

 

คนเสียงคล้าย พล.อ.ยุทธศักดิ์ พูดว่า "อมรเทพ ก็ดี ทหารอากาศเรียบร้อยไหมครับ ประจิน (พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ.  ในขณะนั้น) ไอ้ประจินนี่ เมื่อก่อนเป็นมือของไอ้ชลิต เขา แต่ดีแล้วที่เราได้ประจิน แล้วเราใช้ประจินไปบีบไอ้ชลิตข้างบนอีกที ซึ่งมันเป็นไอ้องคมนตรีนะครับ ไอ้ชลิต ถึงแม้ว่ามันจะพลอยฟ้าพลอยฝนไปทำปฏิวัติคราวนั้นนะครับ แต่มันก็ยังพึ่งไอ้ประจินอยู่ เพราะฉะนั้น เราคุมประจินไว้ เพื่อให้ชลิตเนี่ยมันอ่อน ยอมลงมา"

 

คนเสียงคล้าย ทักษิณ กล่าวว่า "ก็ปีหน้าก็เกษียณหมด 57...เกลี้ยงทุกเหล่า" อีกคนเสริมว่า "ตั้งเอาเองเลย ไม่ต้องนั่นเลย"  และชายเสียงคล้าย ทักษิณ ตบท้ายว่า "เลือกเอาเองสบายๆ" พร้อมกับบอกว่า "ไว้ใจ ไว้ใจไอ้ตู่ (พล.อ.ประยุทธ์) มาก

 

อย่างไรก็ตามแต่เมื่อถึงการชุมนุม กปปส.เคลื่อนไหว สิ่งที่พล.อ.ประยุทธ์ กล้าแสดงออกอย่างชัดเจน นั้นคือการกล้าที่ขัดแย้งกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ อย่างเปิดเผย  เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2557 จากกรณีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ขอปรับบังเกอร์ในบางพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจ

 

ว่าที่แคนดิเดทนายกฯ “บิ๊กตู่” จาก “นายทหาร” จำ(ต้อง)เป็น.. “นายก” ในสถานการณ์ปากเหว

เพราะเห็นว่าหากนักท่องเที่ยวมาเห็นว่ามีบังเกอร์หรือมีพื้นที่คล้าย ๆ การตั้งค่ายทหารอยู่ ก็อาจเกิดความหวาดกลัวหรือกังวลกระทบต่อการท่องเที่ยว  ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ได้แก้เกมด้วยการ  พูดทีเล่นทีจริงว่า จะเอาดอกไม้มาติด กระถางต้นไม้ มาประดับ หรือ เอาผ้าม่านสีชมพูมาติดมั้ง

 

..โดยแต่ละหน่วยขานรับได้นำกระถางดอกไม้ไปวางหน้าบังเกอร์ก็เป็นแนวคิดของแต่ละหน่วยที่ต้องการปรับภาพลักษณ์ให้จุดตรวจมีความนุ่มนวลลง ขณะเดียวกันต้องให้เข้มแข็งสมกับทหาร แต่ไม่ยอมย้ายบังเกอร์ทหาร หรือถอนกำลังออก เพราะสำคัญที่ทหารเน้นมีความอ่อนโยนกับประชาชน ช่วยเหลือ บริการ ช่วยเคลียร์อุบัติเหตุแกประชาชน

เมื่อการชุมนุมรุนแรงขึ้น กองทัพโดยพล.อ.ประยุทธ์ พยายามอย่างยิ่ง ที่จะทำให้สถานการณ์ไปได้ด้วยดี อยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย โดยพยายามประสานให้ทุกฝ่ายหาทางออกร่วมกัน แล้วไม่สำเร็จ

 

มีรายข่าวว่า กองทัพ ได้ส่งคนไปรับ แกนนำกปปส.จากเวทีศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ประกอบไปด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายถาวร เสนเนียม และเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ นั่งรถทหารเดินทางมายังกรมทหารราบที่ 1.

เมื่อไปถึงเจ้าหน้าที่ได้แยกออกเป็น2 ห้อง ห้องแรกพานายสุเทพไป ซึ่งในดังกล่าวประกอบไปด้วย นายสุเทพ , พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคาดว่าน่าจะมีผู้บัญชาการเหล่าทัพอื่นๆ รวมไปถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุด  ส่วนอีกห้องหนึ่ง ประกอบไปด้วย ทหารระดับแม่ทัพ ทหารฝ่ายเสนาธิการ และระดับปฏิบัติการ  ได้เชิญ นายถาวร และนายเอกนัฏ  พูดคุยแลกเปลี่ยนสถานการณ์

 

เมื่อคุยเสร็จทหารก็ได้พาทั้ง4คนกลับมาส่งที่ม๊อบ  รายงานข่าวระบุว่า นายสุเทพได้เล่าให้ฟังว่า “ไม่สำเร็จ”  โดยกองทัพอยากให้บ้านเมืองไปต่อ ไม่อยากยึดอำนาจ เป็นการเชิญมาคุยเพื่อหาทางออก โดยที่กองทัพไม่ต้องเข้ามายุ่งเกี่ยว  ขณะที่ ทางด้านน.ส.ยิ่งลักษณ์ รัฐบาลขณะนั้น ไม่เอาอย่างเดียว ต้องเป็นประชาธิปไตย และต้องการเดินหน้ากฎหมายนิรโทษกรรม

สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าพล.อ.ประยุทธ์พยายามยับยั้ง และทำให้เรื่องจบในทางการเมือง แต่ปรากฏว่าไม่จบ ขณะที่ประเทศใกล้จะถึงวิกฤตทางตัน ไม่สามารถไปต่อได้ สถานการณ์ความรุนแรงจากเหตุการณ์ชุมนุมยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการปิดล้อมเขตเลือกตั้ง  จนทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็น "โมฆะ"

และในเวลาต่อมา พล.อ.ประยุทธ์ ได้เชิญ 7ฝ่ายการเมือง มาประชุม เมื่อวันที่21 พ.ค. 57 ในประชุม 7 ฝ่าย ประกอบด้วย ตัวแทนพรรคเพื่อไทย , ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ ตัวแทน กปปส. , ตัวแทน นปช. ,ฝ่าย กกต., ฝ่ายรัฐบาล  โดยคณะ กอ.รส. ประกอบด้วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผบ.ทร. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงห์แก้ว ผบ.ตร. และ พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รอง ผบ.สส. พร้อมนายทหารระดับ 5 เสือ ทบ.เขาประจำที่ ที่กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) สโมสรกองทัพบก ต่อเนื่องจนกระทั้ง 2พ.ค. 57เมื่อการประชุมเริ่มขึ้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้เสนอแนวทางตามที่ได้ให้การบ้านไปก่อนหน้านี้ โดยแต่ละฝ่ายก็ยังคงนำเสนอแนวทางในมุมของตัวเองซึ่งเห็นว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดของประเทศแล้ว เมื่อแต่ละฝ่ายไม่มีจุดร่วมที่ตรงกันพล.อ.ประยุทธ์ ได้ขอพักการประชุมและเชิญแกนนำฝ่าย นปช.  โดยนายจตุพร และ กปปส. ไปหารือร่วมกันอีกห้องหนึ่ง ประมาณ 45 นาที เมื่อกลับมาที่วงหารือแล้วก็ยังได้เชิญเฉพาะ นายจตุพร พรหมพันธ์ ประธานนปช. และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส. ไปพูดคุยกันส่วนตัวประมาณ 1 นาที ก่อนที่จะกลับมาที่วงหารือ

จากนั้นพล.อ.ประยุทธได้สอบถามนายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรมในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายรัฐบาล ว่าตกลงรัฐบาลยืนยันไม่ลาออกทั้งรายบุคคลและทั้งคณะใช่หรือไม่ ซึ่งนายชัยเกษม ระบุว่า "นาทีนี้ไม่ลาออก" พล.อ.ประยุทธ์ จึงบอกว่า "ถ้างั้นตั้งแต่นาทีนี้ ผมตัดสินใจยึดอำนาจการปกครอง"

 

ว่าที่แคนดิเดทนายกฯ “บิ๊กตู่” จาก “นายทหาร” จำ(ต้อง)เป็น.. “นายก” ในสถานการณ์ปากเหว

 

ทั้งหมดนี้ยิ่งตอกย้ำให้เห็นเจตนาว่าสิ่งที่พล.อ.ประยุทธ์  และกองทัพ ในความพยายามจะจะหาทางออกให้กับทุกฝ่าย ตามแนวทางวิถีประชาธิปไตย และอยากให้ผู้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในบ้านเมืองร่วมกันไปสู่จุดตรงกลาง แต่ก็ไม่สามารถก่อเกิดได้  และเหตุผลสำคัญหนึ่งก็เนื่องมาจากพรรคเพื่อไทยในขณะนั้นคิดเพียงอย่างเดียวว่าจะนำตัวนายทักษิณ ชินวัตร กลับประเทศอย่างผู้บริสุทธิ์ก่อน

 

อย่างไรก็ตามแต่ ในวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ประกาศท่าทีความชัดเจนถึงอนาคตทางการเมืองในวันหน้า...“ผมสนใจการเมือง เพราะผมสนใจในสิ่งที่ผมทำลงไปว่าไปถึงไหน อย่างไร วันข้างหน้าจะได้รับการสืบสานต่อไปหรือไม่ จะติดตามรับฟังจากบรรดากลุ่มการเมือง พรรคการเมือง นักการเมืองต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้”

 

ว่าที่แคนดิเดทนายกฯ “บิ๊กตู่” จาก “นายทหาร” จำ(ต้อง)เป็น.. “นายก” ในสถานการณ์ปากเหว