- 31 ธ.ค. 2561
ถอดรหัสคำพูด "อภิสิทธิ์" เต๊ะท่า-วางมาด ถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญ ตั้งรัฐบาล!
เป็นเรื่องที่ต้องลุ้นกันใจระทึกกันเลยทีเดียวกับการเลือกตั้งครั้งสำคัญที่จะเกิดขึ้นในปีหน้านี้ (24 กุมภาพันธ์ 62) ซึ่งการเลือกตั้งในครั้งนี้ตามแนวทางรัฐธรรรมนูญพ.ศ.2560 ว่าด้วยหลักคิดเรื่องสัดส่วนผสมซึ่งคณะกรรมร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. ออกแบบมาเพื่อให้เสียงของประชาชนทุกเสียงมีความหมาย คะแนนทุกคะแนนมีความหมาย แต่ท้ายสุดเชื่อว่าผลที่ติดตามมา คงไม่ทำให้มีพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใดชนะขาดในการเลือกตั้งแบบใหม่นี้
ผลตามมาก็คือการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งจึงไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ในครั้งนี้หลายคนมองว่า "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเป็นหนึ่งในรายชื่อแคนดิเดทนายกรัฐมนตรี ในโควต้าพรรคพลังประชารัฐ จะมีเสียงส.ว.หรือสมาชิกวุฒิสภาอยู่ถึง 250 เสียง เพื่้อสนับสนุนการโหวตชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ตาม จนกลายเป็นเรื่องคาดหมายว่าจะมีความวุ่นวายตามมาถึงขั้นทำให้เกิดวิกฤติทางการเมืองรอบใหม่ได้
ทั้งนี้เมื่อย้อนกลับไปพิจารณาระบบการเลือกตั้งแบบเก่า มีกระบวนแยกการออกเสียงออกเป็นสองรูปแบบ คือเลือก ส.ส. เขตหนึ่งรูปแบบ ส่วนอีกรูปแบบก็คือการเลือกระบบปาร์ตี้ลิสต์ หรือ บัญชีรายชื่อ หมายความว่าประชาชนหนึ่งคน มีสิทธิ์ออกเสียงหย่อนบัตรเลือกตั้งสองใบ ใบหนึ่งคือเลือก ส.ส.เขตที่ตนเองพอใจ อีกใบหนึ่งเป็นการเลือกพรรคที่ตัวเองชอบนโยบาย ถือเป็นการเปิดทางเลือกให้กับประชาชน บางคนอาจจะเลือก ส.ส.เขตและพรรคสังกัดเดียวกัน แต่บางคนอาจจะชอบแค่นโยบายของพรรคการเมืองหนึ่ง แต่ในพื้นที่ ส.ส.เขตที่อยู่อีกพรรคเอาใจใส่ดูแลดี ก็จะไปเลือก ส.ส.เขตคนอื่นแทน ด้วยเหตุผลว่าดูแลดีกว่า
อย่างไรก็ตาม ที่ได้กล่าวไปว่าการเลืกตั้งในครั้งนี้สำคัญ และพรรคประชาธิปัตย์คือตัวแปรที่สำคัญเช่นเดียวกัน เพราะหากจับมือกับพรรคฯใดก็ตามแต่ พรรคนั้นก็จะได้จัดตั้งรัฐบาลทันที แต่สถานการณ์ไทยในปัจจุบัน เรียกได้ว่าแบ่งเป็น 2 ขั้วหลัก คือ 1. กลุ่มที่จะสนับสนุน "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งแน่นอนว่ามี3พรรคหลัก คือ "พรรคพลังประชารัฐ" นำโดย 4 รัฐมนตรี ในรัฐบาลประยุทธ์ เป็นแกนนำหลัก "พรรครวมพลังประชาชาติไทย" มีแกนนำคนสำคัญ ได้แก่ "นายสุเทพ เทือกสุบรรณ" และ "พรรคประชาชนปฏิรูป" ที่มี "นายไพบูลย์ นิติตะวัน" นั่งเป็นหัวหน้าพรรคฯ และขั้วที่ 2. กลุ่มที่ไม่สนับสนุน "พล.อ.ประยุทธ์" ซึ่งแน่นอนว่า เป็นพรรคตะกูลเพื่อ (ทักษิณ) ทั้งสิ้น ได้แก่ เพื่อไทย เพื่อธรรม เพื่อชาติ ไทยรักษาชาติ ประชาชาติ อนาคตใหม่ เสรีรวมไทย ซึ่งชี้ชัดว่านาทีถือว่าเป็นศัตรูถาวรกันแล้ว
หากแต่ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคเดียวที่ไม่มีกลุ่ม ซึ่งวันนี้ได้เปลี่ยนฐานะจากเดิมเป็น"พรรคคู่ชิง"มาเป็น"พรรคตัวแปรสำคัญ" ไปเสียแล้ว แล้ว จะฝั่งทักษิณหรือฝั่งเชียร์พลเอกประยุทธ์จะได้เป็นรัฐบาลก็อยู่ที่"พรรคประชาธิปัตย์" ที่ชี้ขาดไม่ใช่อยู่ที่วุฒิสมาชิก 250 เสียงแต่อย่างใด เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือคะแนนโหวตของส.ส.หลังจากตั้งนายกรัฐมนตรีแล้วซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดว่ารัฐบาลอยู่ได้หรือไม่?
ทั้งนี้ "พรรคประชาธิปัตย์" ในอดีตที่ผ่านมา เป็นพรรคใหญ่ ซึ่งในทุกครั้งที่ผ่านมาพรรคประชาธปัตย์ จะเป็นคู่ชิงกับอีกพรรคฯใหญ่เช่นกัน คือ "พรรคเพื่อไทย" และดูเหมือนว่าพรรคประชาธิปัตย์นั้นจะมีฝั่งทหารหนุนหลังอยู่กลายๆอีกเสียด้วย จะเห็นได้จากกรณีการเกิดอุบัติเหตุทางการเมือง คือการยุบพรรคพลังประชาชน ที่"นาย เนวิน ชิดชอบ" ย้ายข้างเปลื่ยนขั้ว มาสนับสนุน "นาย อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ" ขึ้นนั่งตำแหน่างนายกรัฐมนตรี ซึ่งกรณีนี้โดนโจมตีจากฝั่งคนเสื้อแดง ซึ่งเป็นคู่อริทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ว่า"ตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร" ขณะเดียวกันพรรคประชาธิปัตย์ก็เกื้อหนุนกับกองทัพมาโดยตลอด หลังเริ่มชุมนุมขับไล่ "รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" จากกรณีออกพรบ.ลักหลับตอนตี4 ที่สามเสนกระทั่งเกิดเป็นม็อบ กปปส. ในเวลาต่อมาช่วงปลายปี56
แต่ทว่าก่อนหน้านี้ "นายอภิสิทธิ์" กลับออกมาบอกว่า" ฝ่ายทหารคือเผด็จการ และเขาประกาศว่าไม่เอาเผด็จการ" ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้น ได้รับการช่วยเหลือจากฝ่ายทหารมาโดยตลอดดังกล่าว เรียกได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ก็เติบโตจนกลายมาเป็นพรรคฯใหญ่พรรคฯโต ส่วนหนึ่งก็ด้วยแรงสนับสนุนของทหารทั้งนั้น ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของ "นายอภิสิทธิ์" ซึ่งนำทัพการเลือกตั้งถึง2ครั้งก็แพ้พรรคฯในระบอบทักษิณมาโดยตลอด (ดูสถิติในการเลือกตั้งในครั้งที่ผ่านมาได้ที่นี่)
ล่าสุด วันนี้ (31 ธันวาคม) "นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า ตอนนี้ทุกพรรคการเมืองถือว่าเป็นคู่แข่งทั้งหมด พรรคเพื่อไทยถือว่าเป็นแชมป์เก่า ยังได้เปรียบอยู่ แม้จะไม่มีระดับหัวในการจ่ายท่อน้ำเลี้ยงได้มากมายเหมือนที่ผ่านมาเพราะบางคนหนีออกนอกประเทศ แต่หากพร้อมส่งผู้สมัครและการประชาสัมพันธ์ที่ดี เขาก็เดินไปได้ ส่วนพลังประชารัฐเป็นคู่แข่งเช่นกัน เพราะมีอำนาจรัฐอยู่ในมือ อย่างไรก็ตามหากเราได้เสียงมามาก เราก็จัดตั้งรัฐบาล ได้เสียงมาไม่มาก ก็เป็นไปตามระบบรัฐสภา แต่ถ้าไปเป็นรัฐบาลแล้วไม่ได้ทำให้เราทำงานตามอุดมการณ์ได้ เราก็ไม่เป็น ไม่ใช่กั๊ก แต่ถ้าให้ไปรวมรัฐบาลที่โกงกินจนระบบพัง ตนไม่เอา ไปร่วมรัฐบาลบริหารเศรษฐกิจแบบนี้ ก็ไม่เอา แต่เราจะไปตัดเลยก็ไม่ได้ ต้องดูว่าเขาจะเปลี่ยนนโยบายบายหรือไม่
"เราไม่ได้คิดเรื่องผลประโยชน์ต่อรองตำแหน่ง ใครที่ยอมรับแนวทางอุดมการณ์เรา จะพรรคพลังประชารัฐหรือพรรคเพื่อไทย หากเขายอมรับแนวทางของเรา ก็ต้องแสดงท่าทีออกมาก่อน แต่ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าแต่ละพรรคมีจุดยืนท่าทีอย่างไร ที่สำคัญตอนเลือกตั้งจะถูกถามหมดว่าแต่ละพรรคอะไรเอา อะไรไม่เอาวันนี้มันยังตอบไม่ได้เพราะไม่รู้ว่าอะไร เราไม่เคยประกาศว่าฉันจะไม่ร่วมกับใคร แต่เป็นรัฐบาลพรรคเดียวได้ก็เป็น ถ้าประชาชนให้ เราอยากจะเป็นมาก" นายอภิสิทธิ์ ระบุ
เมื่อถามอีกว่าหากพรรคพลังประชารัฐได้เป็นรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์จะจับมือพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายค้านหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "การเป็นฝ่ายค้านไม่จำเป็นต้องจับมือร่วมกับใคร แต่เพราะต่างคนต่างมาเป็น หากเราจับมือกันแล้วรัฐบาลเป็นเสียงข้างน้อยจะอยู่ได้หรือ แม้จะมีส.ว.อยู่ในมือ แต่ก็ทำได้แค่ช่วงเลือกตั้งนายกฯเท่านั้น ที่บอกกันว่าระวังจะมีการเกิดกลุ่มงูเห่า 2 อีกครั้ง ก็ลองดูว่าจะอยู่ได้นานแค่ไหน และจะจบอย่างไร..."
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากคำพูดของนายอภิสิทธิ์ทุกครั้งที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าเขามักจะพูดจากำกวม และสงวงท่าทีให้เป็นไปในทิศทางไหน เป็นไปได้หรือไม่ว่า "พรรคประชาธิปัตย์" ในตอนนี้ด้วยการถูกลดสถานะลงมาจาก "ตัวหลัก" มาเป็น "ตัวแปรสำคัญ" ดั่งที่บอกไปข้างต้นแล้วว่าหากจับมือกับขั้วไหน ก็จะได้จัดตั้งรัฐบาลทันที ทั้งนี้ ทำให้ "นายอภิสิทธิ์" มีพลังในการต่อรองสูง และนี่อาจเป็นเหตุผลทำให้เขาคิดว่าตัวเองนั้นสำคัญ จึงเต๊ะวางมาด และ ทะนงตัว ... หรือไม่?