- 31 ม.ค. 2562
ยกฟ้อง 9 แกนนำพันธมิตร หลักฐานชัด ไม่ได้เริ่มรุนแรง
จากกรณีเมื่อวันที่ 30 มกราคม ศาลอาญาได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือพธม. ชุมนุมดาวกระจายปี 2551 คดีหมายเลขดำ อ.3973/2558 ที่อัยการสำนักงานคดีอาญา 5 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายสนธิ ลิ้มทองกุล, นายพิภพ ธงไชย, นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, นายสุริยะใส กตะศิลา, นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์, นายอมร อมรรัตนานนท์ หรือ รัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี และนายเทิดภูมิ ใจดี อดีตแกนนำ พธม.เป็นจำเลยที่ 1-9
ในความผิดฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจาหรือวิธีอื่นใดฯเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนในหมู่ประชาชนและก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร , ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง
อย่างไรก็ตามคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2560 ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1-6 เนื่องจากเป็นการฟ้องจำเลยซ้ำกับคดี พธม.บุกรุกทำเนียบรัฐบาล หมายเลขดำ อ.4925/2555 ซึ่งศาลพิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1-6 คนละ 2 ปี อัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 7-9 นั้น ศาลเห็นว่าการกระทำเป็นความผิดฐานมั่วสุม 10 คนขึ้นไปก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามมาตรา 215 วรรคหนึ่ง แต่เห็นควรให้รอการกำหนดโทษจำเลยที่ 7-9 ไว้ก่อนมีกำหนด 2 ปี และในวันนี้ศาลเบิกตัวนายสนธิจากเรือนจำเพื่อมาฟังคำพิพากษา ขณะที่อดีตแกนนำ พธม. อีก 8 คนก็ได้เดินทางมาศาลด้วย
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว พิพากษาแก้เป็นยกฟ้องจำเลยทั้ง 9 คน โดยเห็นพ้องกับศาลชั้นต้นกรณีจำเลยที่ 1-6 เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีบุกรุกทำเนียบรัฐบาล ส่วนจำเลยที่ 7-9 ก็ไม่มีความผิดฐานก่อความวุ่นวายตามมาตรา 215 ด้วย แม้โจทก์จะยกกรณีการต่อสู้ขัดขวางเจ้าหน้าที่ในการรื้อถอนเวทีและเต๊นท์ของผู้ชุมนุม ศาลเห็นว่ากรณีดังกล่าวไม่ได้เริ่มจากผู้ชุมนุม และการตรวจค้นพบเหล็กแป๊บและขวานในพื้นที่หลังผู้ชุมนุมถอยออกไปก็ไม่ได้ค้นจากตัวผู้ชุมนุม มีข้อสงสัยว่าไม่ใช่ของผู้ชุมนุม จึงเป็นการใช้สิทธิชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว พิพากษาแก้เป็นยกฟ้องจำเลยทั้ง 9 คน โดยเห็นพ้องกับศาลชั้นต้นกรณีจำเลยที่ 1-6 เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีบุกรุกทำเนียบรัฐบาล ส่วนจำเลยที่ 7-9 ก็ไม่มีความผิดฐานก่อความวุ่นวายตามมาตรา 215 ด้วย แม้โจทก์จะยกกรณีการต่อสู้ขัดขวางเจ้าหน้าที่ในการรื้อถอนเวทีและเต๊นท์ของผู้ชุมนุม ศาลเห็นว่ากรณีดังกล่าวไม่ได้เริ่มจากผู้ชุมนุม และการตรวจค้นพบเหล็กแป๊บและขวานในพื้นที่หลังผู้ชุมนุมถอยออกไปก็ไม่ได้ค้นจากตัวผู้ชุมนุม มีข้อสงสัยว่าไม่ใช่ของผู้ชุมนุม จึงเป็นการใช้สิทธิชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร และกระบวนการต่อสู้ทางศาลดำเนินมาแล้วกี่ปี นับว่าน่าสนใจยิ่งเพราะทางฟากฝั่งแกนนำพันธมิตรฯ หลายคนต่อหลายคนก็ยืนยันตรงกันว่า พวกเขาไม่ได้เป็นคนปิดสนามบินฯ เพราะการเคลื่อนม็อบจากทำเนียบรัฐบาลไปยังสนามบินดอนเมือง และสุวรรณภูมิ ของกลุ่มพันธมิตรฯ เพื่อกดดันให้นายกฯ สมชายลาออกจากตำแหน่งเมื่อปี 2551 นั้น การชุมนุมกินพื้นที่เฉพาะบริเวณที่เป็นทางรถวิ่งจอดรับ-ส่งผู้โดยสารด้านนอกเท่านั้น มิได้เข้าไปยึดหรือเกี่ยวข้องภายในตัวอาคารสนามบินแต่อย่างใดเลย อีกทั้งรันเวย์ และแท็กซี่เวย์ ที่ใช้ในการขึ้น-ลงของเครื่องบินก็ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด และการไปใช้สนามบินของพันธมิตรฯ นั้น เพราะไม่อาจอยู่ที่โล่ง และปล่อยให้พวกพ้องถูกฝ่ายตรงข้ามถล่มด้วย M 79 ให้ตายไปต่อหน้าต่อตาได้อีก
ไม่ว่าจะอย่างไร แม้ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์จะสามารถพิสูจน์ได้ว่า แกนนำ และมวลชนพันธมิตรฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปิดสนามบินแต่อย่างใด เพราะขณะม็อบเคลื่อนเข้าไปเครื่องบินยังขึ้น-ลงได้ปกติ และคนที่สั่งปิดสนามบินจริง ๆ กลับเป็น "เสรีรัตน์ ประสุตานนท์" เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง กรรมการและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. ออกมายืนยันเองว่า "ยอมรับสารภาพเป็นผู้สั่งการให้ปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ" โดยเขาอ้างว่า เนื่องจากพนักงานของสนามบินตื่นตระหนก ไม่กล้าทำงาน และคำสั่งปิดสนามบินเป็นการดำเนินการตามอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
เพราะหากเปิดให้บริการต่ออาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้โดยสาร โดยเป็นการสั่งปิดให้บริการชั่วคราวในเวลา 21.00 น. และแจ้งปิดอย่างเป็นทางการในเวลา 23.00 น. หรือในอีก 2 ชั่วโมงต่อมา" ยิ่งไปกว่านั้น ตามข้อมูลพบว่า เขาเป็นพี่ชายแท้ๆ ของ "นางศรีวิไล ประสุตานนท์" ภรรยา นายวีระ มุสิกพงศ์" (ชื่อเดิม) ซึ่งเป็น 1 ใน 3 แกนนำแดงตัวพ่อแห่งระบอบทักษิณ แต่เขากลับอ้างหน้าตาเฉยว่า ไม่ทราบเรื่องที่ "นายวีระ" น้องเขยเป็นหัวหอกเคลื่อนไหวทางการเมืองให้ระบอบทักษิณ
ทว่าจนแล้วจนรอด ศาลแพ่งได้สั่งให้แกนนำชดใช้ค่าเสียหายกรณีต่อกรณีนี้จำนวนเงิน 522 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5 ประมาณ 800 ล้านบาท เรื่องนี้ทำให้แม้แต่ "นายสุเทพ เทือกสุบรรณ" ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ต้องออกมาเฟซบุ๊กไลฟ์อีกครั้ง หลังเคยพูดมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยในครั้งนี้เขาถึงกับบอกว่า นับเป็นเรื่องที่สะเทือนใจพวกเรามาก แกนนำพันธมิตรฯแต่ละท่านจะต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) ตกคนละ 61 ล้านบาทเศษ แล้วมีการการอายัดบัญชีของทั้ง 13 ท่าน ตนขอใช้โอกาสนี้ เรียนไปยังผู้บริหารท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ได้โปรดพิจาณาว่าลูกหนี้ทั้ง 13 ท่าน
ไม่ได้กระทำการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ที่ออกมาต่อสู้เคลื่อนไหวในคราวนั้น ก็ด้วยหัวใจที่รักชาติรักแผ่นดิน ลุกขึ้นมาต่อสู้กับรัฐบาลที่เป็นทรราช รัฐบาลที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ กระทำการทุจริตคอร์รัปชัน เป็นเหตุให้บ้านเมืองเสียหาย ประชาชนจึงกมาต่อต้าน โดย"นายสุเทพ"ถึงกับต้องชี้แจงข้อเท็จจริงว่า "เดิมทีพันธมิตรฯ ชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล แต่เมื่อถูกทำร้าย ถูกยิงด้วยอาวุธสงครามด้วยเครื่องยิงเอ็ม 79 บาดเจ็บล้มตายกันมาก ก็ย้ายที่ไปชุมนุมที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่มาของการถูกดำเนินคดีทั้งทางแพ่ง อาญา และตนขอให้กำลัง แกนนำพันธมิตรทั้ง 13 ท่าน และเชื่อว่าพี่น้องก็เช่นกัน ดังนั้น เพื่อรำลึกถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อน ว่า13 แกนนำพันธมิตรฯ มีบทบาทอย่างไรในการต่อสู้เพื่อบ้านเมือง ผมจะนำเสนอเรื่องราวของพวกเขาผ่านทางเฟซบุ๊กในโอกาสต่อไป"
ทั้งนี้ จะพบว่าคำกล่าวของ"นายสุเทพ" สอดคล้องกับ "นายสุเทพ อัตถากร" เรื่อง “ยึดสนามบินไทย-ฝรั่งวัฒนธรรมการเมืองที่ต่างกัน” ตั้งข้อสังเกต ถึงการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมจากทำเนียบรัฐบาล มุ่งหน้าไปยังสนามบินดอนเมือง และสุวรรณภูมิ ของกลุ่มพันธมิตรฯ เช่นเดียวกับที่กำนันสุเทพระบุ เพราะยืรนยันว่า การชุมนุมกินพื้นที่เฉพาะบริเวณที่เป็นทางรถวิ่งจอดรับ-ส่งผู้โดยสารด้านนอกเท่านั้น มิได้เข้าไปยึดหรือเกี่ยวข้องภายในตัวอาคารสนามบินแต่อย่างใดเลย และตลอดคืนวันนั้นจนกระทั่งถึงเวลา 10 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นเครื่องบินเที่ยวบินต่างๆ ยังคงสามารถขึ้นลงได้ตามปกติ ไม่มีอุปสรรคอะไรเลย เรียกได้ว่า เจ้าหน้าที่การท่าฯ นอกจากจะยังมีเวลาอีกหลายชั่วโมงที่ควรแจ้งข่าวไปยังผู้โดยสารอื่นๆ และหน่วยงานต่างๆ แต่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ของการท่าฯ ก็มิได้กระทำ กลับอ้างว่าผู้โดยสารต้องเสียเวลา หน่วยงานต่างๆ ก็ต้องเสียเวลาเพราะไม่ทราบมาก่อนว่าจะปิดสนามบิน
"ความจริงแล้วเมื่อผู้ชุมนุมมานั่งชุมนุมอยู่ข้างนอก ปราศรัยและร้องเพลงกันมาหลายชั่วโมงตลอดคืน เครื่องบินขึ้นลงได้เป็นปกติตลอดคืนจนถึงช่วงสายของวันรุ่งขึ้น จึงมีคำถามแรกที่ควรถูกถามด้วยความสงสัยก็คือ ผู้ว่าการท่าอากาศยานฯ สั่งปิดท่าอากาศยานฯ นั้นในเวลาต่อมา ชอบด้วยเหตุด้วยผลโดยสุจริตใจหรือไม่ หรือด้วยมีเหตุจูงใจประการอื่น" นั่นคือ ข้อสังเกตที่ "คุณสุเทพ อัตถากร" บันทึกไว้เมื่อกว่า 9 ปีก่อน
หากจะว่าไปก็ตรงกับที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หนึ่งในอดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ออกมาเปิดเผยเรื่องนี้ในทันที หลังรับทราบคำสั่งศาลแพ่งที่สั่งให้ยึดทรัพย์พวกตนเมื่อต้นปี 2561 ว่า พวกตนไม่ได้ทำผิด แต่กลับโดนฟ้องเรียกค่าเสียหายยังกับไปเผาตึก
โดย พล.ต.จำลอง ระบุในวันนั้นว่า ตนไม่มีความเห็นอะไรในเรื่องนี้ รวมทั้งยังไม่รู้ว่าจะเอาทรัพย์สินที่ไหนมาให้ยึด และยังยืนยันว่าไม่ได้ทำผิด แต่ทำไมโดนฟ้องร้องเรียกเงินมากมายเป็นร้อยๆ ล้าน ยังกับไปเผาตึก ซึ่งยังไม่เคยเผาตึกสักหลัง
"ไม่รู้เอาเงินจากไหนจ่ายศาล เพราะทุกอย่างที่ทำมาตลอดชีวิตเป็นองคกรส่วนกลาง มูลนิธิทั้งนั้น เช่น ศูนย์ฟอกไต ศูนย์บริการไตเทียม สถาบันฝึกอบรมผู้นำ สถานที่เลี้ยงสุนัขจรจัด ไม่มีอะไรเพื่อส่วนตัว ขณะนี้ไม่รู้สึกอะไร เพราะเมื่อเราทำไปแล้วได้ผลจริง ที่ผ่านมาโดนมาหลายคดี และยังเหลืออีกหลายคดี ผมไปชี้แจงศาลตามความเป็นจริง ว่าการชุมนุมของพันธมิตรและประชาขนได้ผลเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และคนไทยทุกคนได้ประโยชน์เป็นอย่างนั้นจริงๆ" พล.ต.จำลอง ระบุ
อดีตแกนนำพันธมิตรฯ ยังเปิดเผยด้วยว่า แม้พวกตนจะโดนหลายคดี แต่ทุกคนที่เป็นคนไทยได้หมด ผมไม่เคยเสียใจตั้งใจแล้วทำเพื่อประเทศชาติ และได้ทำจริงๆ ผมไม่จำเป็นต้องตั้งโต๊ะแถลงหรือชี้แจงอะไรอีก เพราะถือว่าได้ทำเพื่อชาติบ้านเมืองอย่างดีที่สุดแล้ว ส่วนใครจะนำไปใช้เป็นโอกาสของฝ่ายใดอย่างไรแล้วแต่ประชาชนมอง ผมจะไม่เรียกร้องอะไรทั้งสิ้น ไม่ต้องระดมทุนมาช่วยเหลือ เพราะคนอื่นไม่ควรเดือดร้อนไปด้วย ...
อย่างไรก็ตาม จากกรณีที่ศาลมีคำสั่งยกฟ้อง เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่กล่าวไว้ข้างต้น อย่างกรณีการต่อสู้ขัดขวางเจ้าหน้าที่ในการรื้อถอนเวทีและเต๊นท์ของผู้ชุมนุม ศาลเห็นว่ากรณีดังกล่าวไม่ได้เริ่มจากผู้ชุมนุม และการตรวจค้นพบเหล็กแป๊บและขวานในพื้นที่ หลังผู้ชุมนุมถอยออกไปก็ไม่ได้ค้นจากตัวผู้ชุมนุม มีข้อสงสัยว่าไม่ใช่ของผู้ชุมนุม จึงเป็นการใช้สิทธิชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมามวลชนต่างหากที่ถูกทำร้ายจากเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อกล่าวหาที่ว่ากลุ่มพันธมิตรปิดสนามบิน ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ประการสำคัญสุดท้าย จะพบว่า ต่อกรณีดังกล่าว แกนนำทั้ง9คน ไม่มีใครเจตนาหนีไปเลยแม้แต่คนเดียว ต่างจากใครบางคน ที่แม้เวลาจะล่วงเลยมากว่า 10 ปี แต่จนถึงทุกวันนี้ กลับปรากฎเพียงแค่ความเคลื่อนไหวโลกออนไลน์เท่านั้น ....