บอกต่อสะพานบุญ !!! "ครอบครัว" สุดเวทนา ลูกพิการสมองไม่ได้เรียนกินข้าวบนพื้นดิน

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

 หากสังเกตให้ดี มีคนเร่ร่อนที่อยู่ในประเทศไทยมากอยู่พอสควร และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ก็มีหลายหน่วยงานที่เข้าไปช่วยเหลือ สำหรับสาเหตุของการเร่ร่อนนั้น ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากความยากจน ความป่วยทางสภาพจิต ปัญหายาเสพติด ครอบครัวแตกแยก ขาดคนเหลียวแล ปัญหาเด็กและเยาวชน ปัญหาโสเภณี ฯลฯ บุคคลกลุ่มนี้สมควรที่สังคมจะให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ


ขณะเดียวกันผู้ที่ใช้เฟสบุค Aoy Srisuk ได้โพสต์ข้อความระบุว่า  มาเป็นสะพานบุญให้ พิกัดศาลาก่อนถึงสนามกอล์ฟปาริชาติ ติดถนน331ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรีเรื่องมีอยู่ว่า ครอบครัวนี้โดน ผู้รับเหมาก่อสร้างโกงเงิน และไม่มีเงินไม่มีที่อยู่ อาศัยที่หลวงสร้างกระต๊อบอยู่ มีลูกสาว3คน คนโตเป็นพิการสมองข้างขวามีปัญหา น้องๆน่าสงสารมาก ถ้าผู้ใดสนใจช่วยเหลือเชิญได้นะคะ

บอกต่อสะพานบุญ !!! "ครอบครัว" สุดเวทนา ลูกพิการสมองไม่ได้เรียนกินข้าวบนพื้นดิน

.

บอกต่อสะพานบุญ !!! "ครอบครัว" สุดเวทนา ลูกพิการสมองไม่ได้เรียนกินข้าวบนพื้นดิน

.

บอกต่อสะพานบุญ !!! "ครอบครัว" สุดเวทนา ลูกพิการสมองไม่ได้เรียนกินข้าวบนพื้นดิน

.

บอกต่อสะพานบุญ !!! "ครอบครัว" สุดเวทนา ลูกพิการสมองไม่ได้เรียนกินข้าวบนพื้นดิน

.

บอกต่อสะพานบุญ !!! "ครอบครัว" สุดเวทนา ลูกพิการสมองไม่ได้เรียนกินข้าวบนพื้นดิน

.

บอกต่อสะพานบุญ !!! "ครอบครัว" สุดเวทนา ลูกพิการสมองไม่ได้เรียนกินข้าวบนพื้นดิน

.

ขณะเดียวกันหลังจากที่มีการนำเสนอออกไปล่าสุดได้รับแจ้งว่า มูลนิธิไปกำลังประสานงานติดต่อแม่และเด็กอยู่ค่ะ 

บอกต่อสะพานบุญ !!! "ครอบครัว" สุดเวทนา ลูกพิการสมองไม่ได้เรียนกินข้าวบนพื้นดิน

.

บอกต่อสะพานบุญ !!! "ครอบครัว" สุดเวทนา ลูกพิการสมองไม่ได้เรียนกินข้าวบนพื้นดิน

.

บอกต่อสะพานบุญ !!! "ครอบครัว" สุดเวทนา ลูกพิการสมองไม่ได้เรียนกินข้าวบนพื้นดิน

.

บอกต่อสะพานบุญ !!! "ครอบครัว" สุดเวทนา ลูกพิการสมองไม่ได้เรียนกินข้าวบนพื้นดิน

.

 

ทั้งนี้ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ให้การอุปการะผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พุทธศักราช 2484 และบุคคลไร้ที่พึ่ง อายุระหว่าง 18 – 60 ปี ที่ประสบปัญหาเดือดร้อน ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีผู้อุปการะเลี้ยงดู โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้

 

1. การสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง จำนวน 11 แห่ง ทั่วประเทศ โดยรับอุปการะคนไร้ที่พึ่ง 3 ประเภท คือ คนเร่ร่อน ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง คนไร้ที่พึ่ง ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม และคนขอทาน ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำส่งเนื่องจากกระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พุทธศักราช 2484 โดยจัดบริการด้านปัจจัย 4 สังคมสงเคราะห์ นันทนาการ กิจกรรมบำบัด การอบรมด้านศีลธรรม ฌาปนกิจสงเคราะห์ และฝึกอาชีพ เป็นต้น สำหรับการฝึกอาชีพในสถานสงเคราะห์ เป็นการฝึกระเบียบวินัยสร้างทักษะการทำงานให้ผู้รับฯ สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ ดังนี้

 

-การจัดหางานให้ผู้รับการสงเคราะห์ทำภายนอก เพื่อให้ผู้รับการสงเคราะห์ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมภายนอกเหมือนเช่นบุคคลทั่วไป และฝึกทักษะในการประกอบอาชีพเลี้ยงตนเอง เช่น คัดแยกขยะในส่วนประกอบการ , ลูกจ้างขายของ , ขายอาหาร


- การรับงานภายนอกให้ผู้รับการสงเคราะห์ทำภายในสงเคราะห์เป็นการฝึกงานอาชีพบำบัด ช่วยให้ผู้รับการสงเคราะห์เพลิดเพลิน มีเพื่อน ใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์ และมีรายได้ของตนเอง เช่น แก้ไขเสื้อผ้า เป็นต้น

 

2. การดำเนินการกับคนเร่ร่อน โดยจัดส่งนักสังคมสงเคราะห์ออกเยี่ยมเยียน สอบข้อเท็จจริงบุคคลเร่ร่อนจรจัด ตามแหล่งสาธารณะต่าง ๆ เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสม โดยจัดให้มีบริการ ได้แก่ ให้คำแนะนำปรึกษาแหล่งบริการของรัฐ ช่วยเหลือในรูปเงิน ช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ HlV ส่งเสริมการฝึกอาชีพเพื่อให้มีความรู้ ทักษะ สามารถออกมาประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ และรับเข้าสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง กรณีที่คนเร่ร่อนนั้นไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพ นอกจากนี้ยังมีบริการอื่น ๆ ตามความเหมาะสม เช่น ส่งกลับภูมิลำเนา จัดที่พักคนเดินทางในเขตกรุงเทพ ฯประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับความช่วยเหลือ เช่น โรงพยาบาล จัดหางาน เป็นต้น 

 

3. การสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและครอบครัว เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขตามความจำเป็นขั้นพื้นฐาน โดยให้การสงเคราะห์ครอบครัวไม่เกิน 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 2,000 บาท 

 

4. การสงเคราะห์คนไทยตกทุกข์ได้ยากในประเทศส่งกลับภูมิสำเนาเดิม เพื่อประชาชนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนที่ไม่ได้อยู่ภูมิลำเนาของตนสามารถเดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาของตน เพื่อใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวตามปกติสุข โดยการช่วยเหลือเป็นค่าพาหนะและค่าอาหารว่าง 

 

5. การจัดบริการด้านที่พักอาศัยชั่วคราว โดยดำเนินงานโครงการบ้านพักฉุกเฉินเพื่อที่อยู่อาศัยคนจนเมือง ในลักษณะการช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ไร้ที่อยู่อาศัยอันเนื่องด้วยสาเหตุจากอัคคีภัย สาธารณภัย ศาลมีคำพิพากษาให้ขับไล่ ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง โดยการสร้างบ้านพักฉุกเฉินไว้รองรับประชาชนกลุ่มดังกล่าวรวม 4 แห่ง นอกจากนี้ ได้จัดบริการในรูปที่พักสำหรับผู้เดินทาง เพื่อให้บริการที่พักอาศัยชั่วคราวแก่ผู้มีรายได้น้อยผู้ป่วยที่รอเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ผู้ตกทุกข์ได้ยากที่เดินทางมาจากภูมิภาค หรือผู้ที่หน่วยงานราชการอื่นส่งมาขอพักอาศัยชั่วคราว โดยไม่เสียค่าบริการ รวมถึงให้บริการที่พักแก่คณะนักเรียน นักศึกษา คณะบุคคลที่เดินทางมาจากภูมิภาค เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมหรือทัศนศึกษาในกรุงเทพมหานคร โดยคิดค่าบริการในราคาถูก 

 

6. การให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรณีหลังภัยสงบ และผู้ตกทุกข์ได้ยาก ทั้งในและนอกประเทศ โดยให้การช่วยเหลือและฟื้นฟู ดังนี้ สงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจนที่ประสบภัยเป็นเงิน หรือสิ่งของ สงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยที่ประสบภัย โดยสนับสนุนการรวมกลุ่มประกอบอาชีพสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและเพิ่มรายได้ โดยให้การฝึกอาชีพแก่สตรีที่ประสบภัย หรือสนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพ ส่งกลับภูมิลำเนาสำหรับผู้ตกทุกข์ได้ยากทั้งในและต่างประเทศ

 

อ้างอิงจาก Aoy Srisuk , กระทรวงพัฒนาสังคมและสวัสดิการ