- 23 มิ.ย. 2561
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th
บ่อยครั้งที่สาเหตุเพลิงไหม้ที่สร้างความสูญเสียใหญ่หลวงเกิดจากสิ่งเล็กๆน้อยๆ อัคคีภัยเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน และที่ผ่านมาก็พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทและมองข้ามสิ่งเล็กๆน้อยๆเช่น ความเสียหายที่เกิดจากอัคคีภัย เป็นการยากที่จะควบคุมและป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัยขึ้นได้อย่างเด็ดขาดและเสมอไปเพราะอัคคีภัยนั้นเปรียบเสมือน "ศัตรูที่ไม่รู้จักหลับ" และความประมาทเลินเล่อ ย่อมจะเกิดและมีขึ้นได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง โบราณว่าโจรปล้น 10 ครั้ง ไม่เท่าไฟไหม้บ้าน ครั้งเดียว คงไม่มีใครอยากให้บ้านไฟไหม้แน่นอน เพราะไฟไหม้นำมาซึ่งการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน หรือโดยเหตุจากธรรมชาติ แต่ส่วนใหญ่ล้วนแต่สามารถป้องกันได้ทั้งสิ้น
สาเหตุไฟไหม้ส่วนใหญ่เกิดจาก
1. ไฟฟ้าลัดวงจร
บ้านบางหลังอยู่มานานกว่า 10 ปี สายไฟภายในบ้านก็ต้องเสื่อมตามการเวลา อีกทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านก็ใช้กำลังไฟที่มากขึ้น เช่น เตาอบ เตารีด แอร์ กระทะไฟฟ้า ทำให้มีโอากาสเสี่ยงที่จะเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้มากขึ้น พอไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้สายไฟเกิดความร้อนสูงจนไฟลุกไหม้ เป็นให้เกิดเพลิงลุกไหม้ในบ้านอย่างรวดเร็ว
2. จุดเทียนบูชาพระ
บางบ้านจะมีห้องพระ ก็มักจุดธูปเทียนทิ้งไว้หลังจากไหว้พระเสร็จ ทำให้มีโอากาสเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น ลมพัด ธูปเทียน ล้มหรือเกิดประกายไฟไปติดวัตถุไวไฟได้
3. ปล่อยให้เด็กเล่นไฟ
เด็กบางคนชอบซุกซน เล่นสิ่งของที่อาจจะเกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะ ไฟที่ดึงดูดความสนใจเด็กได้มาก เช่น ไม้ขีด เทียน ไฟแช็ค แต่เด็ก ๆ มักจะไม่รู้ว่า ไฟ อันตรายแค่ไหน เพราะฉะนั้นผู้ใหญ่เลยมักสอนเด็กๆว่า “อย่าเล่นกับไฟ”
4. เปิดแก๊สหรือทำอาหารทิ้งไว้
เวลาทำอาหารเสร็จแล้ว คนมักจะลืมปิดหัวแก๊ส หากสายแก๊สชำรุดอาจเกิดอันตรายได้ หรือต้ม อุ่นอาหารทิ้งไว้แล้วไปทำอย่างอื่น ทำให้ลืมก็เป็นสาเหตุให้เกิดไฟไหม้ได้ เช่นกัน
5. การเผาขยะเศษใบ้ไม้อาจทำให้เกิดไฟลามได้
การจุดหรือเผาขยะมูลฝอย หญ้าแห้ง โดยไม่มีคนดูแล เพราะไฟที่ยังไม่ดับเกิดลมพัด คุขึ้นมาอีก มีลูกไฟปลิวไปจุดติดบริเวณใกล้เคียงได้
ขอแนะนำการดูแลบ้านอยู่อาศัยให้ปลอดภัยทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยมีข้อปฏิบัติก่อนนอนหรือก่อนออกจากบ้าน คือ
1. ก่อนนอนหรือก่อนออกจากบ้าน ต้องปิดตัดวงจรไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นหรือปิดสวิตช์ และดึงปลั๊กไฟฟ้าออกจากเต้ารับไฟฟ้าออกให้หมด หรืออาจเหลือให้น้อยที่สุด เช่น ตู้เย็น อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย และปั๊มลมตู้ปลา (ถ้ามี)
2. ก่อนนอนหรือก่อนออกจากบ้าน ต้องปิดก๊าซหุงต้มที่หัวถังให้สนิท (ระวังก๊าซที่ค้างในท่ออ่อน แนะนำให้จุดเตาไฟก่อนแล้วค่อยปิดที่หัวถัง)
3. ก่อนนอนหรือก่อนออกจากบ้าน ต้องตรวจสอบธูปเทียนที่จุดไว้ ดับให้หมด
4. หญ้าแห้งรอบๆด้านควรตัดให้สั้นและนำไปกำจัดหรือทิ้งให้เรียบร้อย
5. ติดตั้งอุปกรณ์เตือนควันไฟ (Smoke Alarm) ที่โถงหน้าห้องนอน และในห้องนอนทุกห้อง
6. ทุกห้องนอนต้องมีทางหนีไฟสำรองเสมอ เช่น หน้าต่าง ประตู ระเบียง ถ้ามีเหล็กดัดต้องเปิดได้จากด้านในเสมอ
7. ปลั๊กไฟพ่วง ต้องไม่เสียบซ้อนกันหลายชั้น และต้องมีคุณภาพดี
8. สมาชิกในบ้านต้องทราบหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน สถานีดับเพลิงที่ใกล้เคียง หรือหมายเลขแจ้งเหตุเพลิงไหม้ 199
9. ควรวางแผนและซ้อมหนีไฟ และให้เก็บกุญแจบ้านและไฟฉายในที่ที่เหมาะสมและบอกให้สมาชิกในบ้านทราบ
10. ให้มีเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ
11. อุปกรณ์ไฟฟ้าและการเดินสายไฟ ต้องที่มีมาตรฐานรับรอง
เมื่อรู้แล้วต้องรีบไปตรวจตราภายในบ้าน แล้วรีบจัดการดูแลบ้านให้ปลอดภัยจากไฟกันเถอะ ก่อนที่อะไรจะสายเกินไป อย่าลืมแชร์บอกต่อให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นๆด้วยนะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : สถานีดับเพลิงสามเสน , springnews , robdann