ผู้ช่วย ผบ.ตร. เจาะลึกราชกิจจาฯ ห้ามรถบรรทุก วิ่งในเขตกรุงเทพ

ผู้ช่วย ผบ.ตร. เจาะลึกราชกิจจาฯ ห้ามรถบรรทุก วิ่งในเขตกรุงเทพ

วันที่ 17 เมษายน 2563 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจยืนยันรถทุกประเภทสามารถวิ่งได้ตั้งแต่ 4 นาฬิกา ถึง 22 นาฬิกา โดยไม่มีข้อกำหนดเรื่องติดเวลา ซึ่งจะมีผลไปถึงวันที่ 30 เมษายนนี้ ส่วนการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน มีการเอาผิดกับคนที่มั่วสุมในบ้านคืนเดียว 109 คน

จากกรณีที่ราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศ " ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร  ว่าด้วยการห้ามรถบรรทุก 4 ล้อ  , 6 ล้อ  และ 10 ล้อขึ้นไป  เดินในเขตกรุงเทพมหานคร ในช่วงเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เนื่องจากมีการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563   " ซึ่งลงนามโดยพลตำรวจเอกจักรทิพย์  ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  

 

ผู้ช่วย ผบ.ตร. เจาะลึกราชกิจจาฯ ห้ามรถบรรทุก วิ่งในเขตกรุงเทพ

 

พลตำรวจโทดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ระบุว่า ใจความสำคัญของประกาศฉบับนี้ คือการอนุโลมให้รถทุกประเภทสามารถวิ่งได้ตั้งแต่เวลา 4 นาฬิกา ถึง 22 นาฬิกา ส่วนรถบรรทุกสินค้าอุปโภคบริโภค สามารถวิ่งได้ 24 ชั่วโมง ตามที่ได้รับอนุญาตไปก่อนหน้านี้ โดยประกาศดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ไปถึง 30 เมษายน จึงจะมีการพิจารณาใหม่อีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตามในการประกาศยังมีข้อห้ามรถบรรทุกจอด 2 ฝั่งถนนตามข้อบังคับเดิม

ส่วนการบริหารการจราจรในแต่ละจังหวัด ยังให้แต่ละพื้นที่พิจารณา เช่น หากพบจุดใดมีการจราจรติดขัดสะสม ก็สามารถขอความร่วมมือไปยังผู้ประกอบการ ในการปรับเวลาในการเดินรถ เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อการดำเนินการทางธุรกิจ และขอให้หลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางที่มีการก่อสร้างถนน , เส้นทางรถไฟฟ้า ส่วนรถที่ได้รับการยกเว้นให้วิ่งในช่วงเวลาเคอฟิว ก็ต้องมีเอกสารรับรองจากเจ้าของกิจการ เอกสารประจำตัวคนขับ เมื่อต้องขับผ่านด่านตรวจด้วย

ขณะที่พันตำรวจเอกกฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกตำรวจ ระบุว่า เรื่องการตั้งด่านเคอฟิวทั่วประเทศ ปัจจุบันมีการตั้งด่านตรวจ 998 จุดทั่วประเทศ ซึ่งผลการจับกุมผู้ฝ่าฝืนในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ก็มีการจับกุมไปมากกว่า 7,000 ราย แต่ยืนยันว่ามีแนวโน้มการจับกุมลดลงทุกวัน ส่วนการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน

 

ผู้ช่วย ผบ.ตร. เจาะลึกราชกิจจาฯ ห้ามรถบรรทุก วิ่งในเขตกรุงเทพ

 

เมื่อคืนนี้ มีการดำเนินคดี 929 คน แบ่งเป็นผู้ออกนอกเคหสถาน 820 คน มีการตักเตือนไป 172 คน ส่วนที่เหลือ 642 คน ถูกดำเนินคดี อีกกลุ่มหนึ่งเป็นประชาชนมั่วสุมในเคหสถาน ซึ่งมีการดำเนินคดีไป 109 คน ซึ่งตัวเลขนนี้สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไม่เข้าใจเจตนารมย์ในการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน เพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรค ที่ต้องการให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการเดินทาง ไปทำกิจกรรม พบปะสังสรรค์ ให้เน้นการอยู่ในที่พักเป็น

นอกจากนี้นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ยังพบมีสถานประกอบการฝ่าฝืนคำสั่งถูกดำเนินคดี รวม 62 ราย ร่วม 300 คน  ในจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพและปริมณฑล , เชียงใหม่ , ภูเก็ต , เกาะสมุย อย่างล่าสุดเช่นมีการดำเนินคดีกับนักท่องเที่ยวและเจ้าของกิจการที่ทำกิจกรรมมั่วสุมในโรงแรมที่จังหวัดเชียงราย และที่เกาะสมุย

 

ผู้ช่วย ผบ.ตร. เจาะลึกราชกิจจาฯ ห้ามรถบรรทุก วิ่งในเขตกรุงเทพ

 

อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีที่ต้องมีการเดินทางออกนอกเคหะสถานในช่วงที่มีการประกาศเคอฟิว ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดทำแบบฟอร์มกลาง เพื่อเป็นแนวทางในการออกหนังสือรับรองให้กับผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทาง ตามที่ได้รับการยกเว้นในประกาศ พรก.ฉุกเฉิน อาทิ แพทย์ , พยาบาล , สื่อมวลชน , พนักงานที่เข้ากะกลางคืน ซึ่งหากต้องผ่านด่านตรวจก็ต้องมีเอกสารรับรอง รวมถึงบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อยืนยันตัวบุคคล และหากเป็นกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ก็จะพิจารณาอนุญาตเป็นรายกรณีไป