- 13 ส.ค. 2563
วันเวลาผ่านไปล่วงเลยเกิน 2 สัปดาห์แล้ว นับตั้งแต่สื่อนอกสะพัดอย่างหนักว่า อัยการไม่สั่งฟ้อง นายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 4 ซึ่งหลายๆ ฝ่ายต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างดุเดือด ในขณะที่หลักฐานต่างๆ ก็ชี้ชัดถึงความผิดของ บอส อยู่วิทยา
วันเวลาผ่านไปล่วงเลยเกิน 2 สัปดาห์แล้ว นับตั้งแต่สื่อนอกสะพัดอย่างหนักว่า อัยการไม่สั่งฟ้อง นายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 4 ซึ่งหลายๆ ฝ่ายต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างดุเดือด ในขณะที่หลักฐานต่างๆ ก็ชี้ชัดถึงความผิดของ บอส อยู่วิทยา
ล่าสุดพล.ต.อ.ศตวรรษ หิรัญบูรณะ ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการสั่งไม่ฟ้องและตำรวจไม่แย้งคดี นายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือบอส ขับรถชนตำรวจเสียชีวิตเมื่อปี 2555 นำแถลงผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำสั่งของ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) หลังดำเนินการการตรวจสอบข้อเท็จจริงเสร็จสิ้นตามกำหนดกรอบเวลา 15 วัน และ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในฐานะกำกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ได้สั่งการให้สอบเพิ่มเติม 3 ประเด็น คือ พล.ต.ท.เพิ่มพูน ชิดชอบ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) ไม่แย้งความเห็นของอัยการ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่, ให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนคดีนี้ใหม่ และกรณีตำรวจ 11 นายที่สอบสวนและทำคดีนี้มีกี่คน ทั้งที่โดนทำโทษและบางคนที่ยังเลื่อนตำแหน่งอยู่
โดย พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) กล่าวถึงกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงตั้งแต่วันเกิดเหตุ วันที่ 3 กันยายน 2555 โดยมีการทำแผ่นชาร์ตรายงานแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงในทางคดีต่างๆ ตั้งแต่วันเกิดเหตุปี 55 กระทั่งอัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้องอัยการ
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ระบุว่า ประเด็นการตรวจสอบความเห็นไม่แย้งของ พล.ต.ท.เพิ่มพูน ชิดชอบ ผู้ช่วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) นั้น ไม่พบความบกพร่อง เนื่องจาก พล.ต.ท.เพิ่มพูน พิจารณาได้เฉพาะสำนวนของอัยการที่ส่งมาเท่านั้น ไม่มีอำนาจสอบสวนใหม่ หรือหยิบยกพยานหลักฐานใหม่มาพิจารณาได้ อีก ทั้งผู้ตรวจสำนวนพิจารณาทั้ง 4 ระดับ ก็ไม่มีความเห็นแย้งอัยการทาง พล.ต.ท.เพิ่มพูน จึงพิจารณาไปตามระเบียบ แต่ยังคงต้องมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ พล.ต.ท.เพิ่มพูน อย่างละเอียดอีกครั้งตามคำสั่งของ นายกรัฐมนตรี
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าวว่า คณะกรรมการฯ เตรียมเสนอ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้พิจารณาโทษทางวินัยและอาญากับ 14 นายตำรวจที่ทำคดีทั้งชุดเก่า และชุดใหม่ โดยในจำนวนนี้ มีข้าราชการตำรวจ 11 นาย เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ ปปช. ได้ชี้มูลความผิดและลงโทษแล้ว ส่วนอีก 3 นาย มีตำแหน่งระดับ รองผู้บัญชาการ (รอง ผบช.) และผู้กำกับการ (ผกก.) ทั้งรวม พ.ต.อ.ธนสิทธิ์ แตงจั่น ที่กลับคำเรื่องความเร็วรถของนายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ด้วย
สำหรับความบกพร่องที่พบมี 10 ข้อ อาทิ ไม่ได้ทำการสอบสวน เจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ทำการตรวจค้นรถผู้ต้องหาในวันเกิดเหตุประกอบสำนวนการสอบสวน, ไม่ได้ทำการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ และไม่ได้รวบรวมพยานหลักฐานในทันทีเป็นเหตุให้ขาดพยานหลักฐานในการฟ้อง, ไม่ได้สอบสวนปากคำผู้นำตัวผู้ต้องหามามอบต้วประกอบสำนวนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่า ผู้ต้องหาไปที่ไหนอย่างไร เพื่อสอบสวนขยายผลและอาจจะใช้เป็นพยานหลักฐานยืนยันในเรื่องความเมา และข้อเท็จจริงแห่งคดี
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เตรียมเสนอให้ดำเนินคดีข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ที่อายุความยังเหลืออีก 7 ปี โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิอาญา ม.147 เพราะจากการสอบสวนผู้เชี่ยวชาญประกอบความเห็นเดิมของกองพิสูจน์หลักฐาน (พฐ.) เดิมเชื่อได้ว่า ความเร็วรถน่าจะอยู่ที่ 177 กิโลเมตร/ชั่วโมง และแจ้งข้อหาเสพสารเสพติดให้โทษประเภท 2 (โคเคน) ที่มีอายุความเหลือ 2 ปี หลังแพทย์ยืนยันว่า ยาแอมม็อกซิลีน ที่นายวรยุทธ หรือบอส ไปรักษาฟัน ไม่สามารถทำปฎิกริยาได้สารที่มีส่วนผสมของโคเคนได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการแจ้งข้อหาและทำคดีใหม่ ทางพนักงานสอบสวนก็จะดำเนินการขอศาลออกหมายจับได้ตามขั้นตอนของกฎหมาย รวมถึงการทำเรื่องขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อนำคนผิดมาลงโทษ
“ขอย้ำว่า ตำรวจจะไม่ปกป้องผู้กระทำความผิดอย่างแน่นอน จากกรณีที่เกิดขึ้นต่อไปนี้ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) จะเข้ามาดูแลเรื่องการเห็นแย้งหรือไม่แย้งของอัยการด้วยตนเอง และจะวางกฎระเบียบให้ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) และ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) ดำเนินการต่อไป” พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าว
ก่อนหน้านั้น มีรายงานข่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ได้เผยแพร่เรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด โดยมีคดีที่น่าสนใจคือ คดีที่มีการกล่าวหา พล.ต.ต.กฤษฏิ์ เปียแก้ว เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 5, พ.ต.อ.สุคุณ พรหมายน รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 5 , พ.ต.อ.ไตรเมต อู่ไทย รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 5, พ.ต.อ.ชุมพล พุ่มพวง ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ, พ.ต.อ.สัมฤทธิ์ เกตุแย้ม, พ.ต.ท.วิบูลย์ ถิ่นวัฒนากูล และ พ.ต.ท.วิรดล ทับทิมดี ฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม กรณีสอบสวนช่วยเหลือ นายวรยุทธ อยู่วิทยา ทายาทเครือธุรกิจ “กระทิงแดง” ไม่ให้ถูกดำเนินคดีขับรถขณะเมาสุรา ขับรถเร็วเกินกว่าอัตรากฎหมายกำหนด และไม่ดำเนินการออกหมายจับนายวรยุทธ เพื่อให้ได้ตัวมาส่งพนักงานอัยการฟ้องดำเนินคดีตามกฎหมาย เป็นเหตุให้ผู้ต้องหาหลบหนี
คลิกอ่านข่าวประกอบ : ป.ป.ช.ชี้มูลผิด บิ๊กตร.กับพวก เอื้อคดี บอส กระทิงแดง ซิ่งรถหรูพุ่งชน ดาบตร.เสียชีวิต