ซาลาเปาคุณยาย ของฝากเมืองอุบล ผลิตวันละ 5 พันลูก

ซาลาเปาขึ้นชื่อของเมืองอุบลราชธานี หลายคนต้องเเวะซื้อเป็นของฝาก ผลิตเเค่วันละ 5 พันลูก เพื่อให้เพียงพอต่อนักท่องเที่ยวในเเต่ละวัน

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนซาลาเปาแม่บ้านภูเขาแก้ว เตรียมทำซาลาเปาเพิ่ม เพื่อส่งลูกค้า และนักท่องเที่ยว ร่วมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน สาธารณะประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อให้เพียงพอ สำหรับขายในช่วงเทศกาลปีใหม่  ทั้งนี้แล้วสำหรับคนรักการถ่ายภาพ ยังมีมีมุม ไว้ให้สำหรับลูกค้าได้ถ่ายภาพ กับความสูงของ ซึ้ง ที่นึ่ง ซาลาเปา ที่สูงที่สุดในประเทศไทยไว้ให้ลูกค้าได้เช็คอิน เมื่อมาถึงร้าน

 

ร้านขายซาลาเปา

คนทำซาลาเปา

ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนซาลาเปาแม่บ้านภูเขาแก้ว 12/4 หมู่ที่ 1 ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ดร.ศิริมาเมธ์วดี ศิรธนิตรา ที่ปรึกษากรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ นำสื่อมวลชนเยี่ยมชม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนซาลาเปาแม่บ้านภูเขาแก้ว ซึ่งกำลังเร่งทำซาลาเปาเพิ่ม เพื่อขายในช่วงเทศกาลปีใหม่  นางสาวนิยม พาหา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนซาลาเปาแม่บ้านภูเขาแก้ว กล่าวว่า ช่วงนี้ทางกลุ่มได้เตรียมทำซาลาเปาเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ทั้งเพิ่มจำนวนพนักงานและเวลาในการผลิต เพื่อให้เพียงพอ สำหรับขายในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้ โดยปกติทางกลุ่มจะทำวันละไม่ต่ำกว่า 5,000 ลูก ขายที่หน้าร้านส่วนหนึ่ง และส่งลูกค้า ในอำเภอต่าง ๆของจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง อีก 5 จังหวัด ร่วมทั้งที่แขวงจำปาสัก และเมืองปากซอง สาธารณะประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งกำลังจะขยายตลาดไปเปิดขายที่กัมพูชาในเร็ว ๆ โดยในช่วงเทศกาลปีใหม่ ทางกลุ่มคาดว่าต้องทำไม่ต่ำกว่า 10,000 ลูกต่อวัน ถึงจะเพียงพอสำหรับลูกค้า

วิธีทำซาลาเปา

ประธานกลุ่มแม่บ้านภูเขาแก้ว ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้ทางกลุ่ม ได้เตรียมสถานที่ ไว้ให้ลูกค้าได้ถ่ายภาพ และเชลฟี่ กับความสูงของ ซึ้ง นึ่งซาลาเปา ที่สูงที่สุดในประเทศไทยไว้ให้ลูกค้าได้เช็คอิน  เมื่อมาถึงร้าน ทางร้านพร้อมเปิดให้ชมขั้นตอนการผลิตซาลาเปาทั้งการนวดแป้ง การนึ่ง หรือหากนักท่องเที่ยวสนใจ ทำซาลาเปาด้วยตนเอง ก็สามารถทำซาลาเปากลับไปรับประทานที่บ้านได้

ขั้นตอนการทำซาลาเปา

ทำซาลาเปา

ซาลาเปา

ส่วนที่ร้านซาลาเปาคุณยาย ซึ่งถือเป็นร้านจำหน่วยซาลาเปา ที่ขึ้นชื่ออีกร้าน ของอำเภอพิบูลมังสาหาร  ก็เร่งมือเตรียมทำซาลาเปาเพิ่มเช่นกัน ปกติจะทำวันที่ 2,000 - 3,000 ลูก แต่ในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ ต้องทำวันละ 4,000 - 5,000 ลูก  สำหรับจุดเด่นของซาลาเปาทั้ง 2 ร้าน คือทำด้วยมือทุกขึ้นตอน จึงทำให้ได้รสชาติที่อร่อย  ไส้เยอะ แป้งนุ่ม ลูกโต จึงทำให้ทั้ง 2 ร้านเป็นที่นิยมของลูกค้า ทั้งขาประจำ และที่สัญจรผ่าน ไปมา และที่สำคัญยังทำให้เกิดการจ้างงานในชุมชน เกิดรายได้แก่คนในชุมชน  เพราะคนที่มาทำซาลาเปาเป็นคนในชุมชน

 

ร้านคุณยาย

วิธีการนิ่งซาลาเปา

นึ่งซาลาเปา

(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง ไอเดียร์เก๋ สุดยอด ซาลาเปา ไส้ทุเรียน (ชมคลิป))

 

(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง สองสามีภรรยาต่อยอดไอเดีย รังสรรค์เมนูใหม่ซาลาเปาไส้มะพร้าวนมสดลาวาเจ้าแรกในจังหวัดตรัง)

 

ข่าว/ภาพ จิรวัฒน์ บุญจอง ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จังหวัดอุบลราชธานี